Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การประเมินภาวะสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพมารดาหลังค…
บทที่ 7 การประเมินภาวะสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด
ระยะหลังคลอด : ช่วงตั้งแต่ทารก และรกคลอด จนอวัยวะสืบพันธุ์ของมารดากลับเข้าสู่สภาวะเดิม เหมือนก่อนยังไม่ตั้งครรภ์ ใช้เวลา 6 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะแรก ( Immediate pueperium) หลังคลอด 24 ชั่วโมงแรก
มดลูกหดรักตัวเพื่อป้องกันการตกเลือด ปวดมดลูกเหมือนปวดประจำเดือน ปวดแผลฝีเย็บ อ่อนเพลีย ตื่นเต้นกับบทบาทมารดา
ระยะต้น ( Early pueperium ) วันที่ 2 - 7 หลังคลอด
ระยะหลัง ( Late pueperium ) สัปดาห์ที่ 2 - 6
การเปลี่ยนแปลงระยะหลังคลอด
จิตใจ ( Mental change )
กายภาพและสรีรวิทยา ( Anatomy & Physiological change )
มดลูก กลับสู่สภาพเดิมอาศัยกระบวนการ ischemia , autolysis
ischemia : ใยกล้ามเนื้อมดลูกหดและคลายตัว กดเบียดโพรงมดลูก เลือดไปเลี้ยงลดลง ทำให้มดลูกขนาดเล็กลง
Autolysis : มดลูกเล็กลงจากการที่มีระดับเอสโตรเจนและโรเจสเตอโรนลดลง ทำให้มีการหลั่ง proteolytic enzyme ย่อยโปรตีนเปลี่ยนเป็น Protein components ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ
การลดขนาดของมดลูก (involution) ลดวันละ 1/2 - 1 นิ้ว หรือ 1-2 cm คลำไม่ได้ทางหน้าท้องภายใน 10 วัน
นำ้คาวปลา : 2วันหลังคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกแบ่ง 2 ชั้น ได้แก่ decidue basalis เกิดเยื่อบุใหม่ decidua spongiosa เปื่อย ย่อยอกมากับนำ้คาวปลา นำ้คาวปลามี 3 ชนิด
Lochia rubra : สีแดงเข้มช่วง 1-3 วันหลังคลอด
Lochia serosa : สีชมพู่ตุ่น ๆ 4-10 วันหลังคลอด
Lochia alba : สีขาวอมเหลือง 10-28 วันหลังคลอด
ปากมดลูก : external os เป็นรูปรีไม่กลม (moutf fish) กว้าง 1 cm กลับสู่ปกติ 3-4 เดือน หรือ 6 สัปดาห์
ช่องคลอด : นุ่ม ย้นน้อยลง ช่องคลอดกว้าง จะแก้ไขได้โดย kegel' exercise
เยื่อพรหมจารีย์ (hymen) ฉีดขาด เรียก carunculae mytriforms
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้เอสโตรเจนน้อย เกิด dyspareunia (มีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บ)
ฝีเย็บ : ปวด บวม แดง และอาจมี hematoma มักหายไปภายใน 5-7วันหลังคลอด
กล้ามเนื้อฝีเย็บยืดขยาย แต่ช่องคลอดตีบแคบ ทำให้เกิดภาวะ rectocele (การยื่นของกล้ามเนื้อ)
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
estrogen : หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับฮอร์โมนจะลดลงช้ากว่ามารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนม
progesterone : จะตรวจไม่พบภายใน 1 สัปดาห์ จะผลิตใหม่ช่วงไขตก
prolactin : จะสูงขึ้น โดยจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการดูดนม
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ปริมาณเลือดจะลดลงจากการเสียเลือดและการถ่ายปัสสาวะมาก
ถ้ามีภาวะ tachycardia (>100 bpm) หาสาเหตุ -> PPH dehydration
HCT ลดลงได้ กรณีที่เสียเลือดมากกว่า 250 cc
หากขาดนำ้ WBC สูงขึ้นได้
BP ตำ่ อาจแสดงภาวะช็อค
สารการแข็งตัวของเลือด I เพิ่มขึ้นในช่วง 7-10 วันหลังคลอด เสี่ยงต่อภาวะ thromboembolism และมีการอักเสบของหลอดเลือดดำชั้นลึก
Homans sing : กดเจ็บ ร้อน เส้นเลือดบวมแดง แข็งเมื่อสัมผัส การประเมินภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน ทำได้โดดยให้มารดานอนหงาย กระดกปลายเท้าค้างไว้ ถ้ามีอาการปวดน่อง แสดงว่าผลเป็นบวก
ระบบทางเดินปัสสาวะ ; ขณะตั้งครรภ์มีการสะสมนำ้นอกเซลล์มาก จึงต้องขับนำ้ส่วนเกินออก
ระบบทางเดินอาหาร : มีอาการท้องผูก จากการที่ลำไส้เคลื่อนไหวลดลง เพราะยังคงมีฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน ร่วมกับเจ็บแผลฝีเย็บ
ระบบผิวหนัง ; striae gravidarum สีจางลง ผมอาจจะร่วง มีฝ้า จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง
ระบบะกล้ามเนื้อ : เท้ามีขนาดใหญ่ขึ้น จากการที่ขณะตั้งครรภ์มี โปรเจสเทอโรนและเอสโตเจนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของกล้ามเนื้อ
อุณหภูมิ : หลังคลอดมีอุณหภูมิสูงได้ไม่เกิน 38 องศา เรียก reactionary fever อุณหภูมสูงช่วงคัดเต้านม เรียก milk fever อุณหภูมิที่เกิดจากการติดเชื้อ เรียก febile fever
เต้านม : จะขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมหลั่งนำ้นม จะมีการหลั่งนำ้นมสีเหลือง เรียก colostrum
การประเมินสภาพร่างกายและจิตใจหลังคลอด
หลัก 13 B : black ground / body condition / bodytemp&blood pressure / breast&lactation / belly&fundus / bladder /bowel movement / bottom / bleeding&lochia / blue / believe / baby / bonding&attachment
การประเมินแบบ BUBBLE HE
black ground ข้อมูลส่วนบุคคล / body condition สภาพร่างกายทั่วไป / bodytemp&blood pressure อุณหภูมิ ความดัน ชีพจร อัตราการหานใจ / breast&lactation เต้านมและการหลั่งนำ้นม / belly&fundus มดลูกและยอดมดลูก / bladder กระเพาะปัสสาวะ / bleeding&lochia ลักษณะและปริมาณนำ้คาวปลา / bottom ฝีเย็บ / bowel movement การทำงานของลำไส้ / blue จิตสังคม / baby ทารก / bonding&attachment
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประโยชน์ของนมแม่
ดีต่อลูก : ได้สารอาหารครบถ้วน ได้รับภูมิคุ้มกันโรค ลดอัตราการเกิดภูมิแพ้ ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในเด็ก ได้ความรักความอบอุ่นจากแม่
ผลดีต่อแม่ : มดลูกหดรัดตัวดี แม่กลับมามีรูปร่างเดิมได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลา เนื่องจากนมแม่พร้อมให้อยู่เสมอ ประหยัดค่าใช้จ่าย
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ขณะตั้งครรภ์ : บอกประโยชน์ของนมแม่ ให้ความรู้การสร้างและหลั่งนำ้นม แนะนำมาตรวจตามนัด แนะนำการรับประทานอาหาร ตรวจเต้านมเพื่อหาความผิดปกติ แก้ไขโดย hoffman's maneuver
Pinch test : วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ที่ฐานใกล้ขอบลานนม กดนิ้วเข้าหากัน ปกตินมจะพุ่งออกมา หัวนมแบนจะเคลื่อนออกมาเล็กน้อย ส่วนหัวนมบุ๋ม จะหดกลับและจมลงไป
waller's test : ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้วางตรงรอยต่อของหัวนมและลานนม กดนิ้วเข้าหากัน นิ้วผลับลงขณะที่บีบ แสดงว่า หัวนมบุ๋ม
ระยะหลังคลอด : สอบถามความต้องการ จัดให้แม่และลูกอยู่ด้วยกัน ให้คำแนะนำในการให้นมลูก การรับประทานอาหาร วิธีการบีบนม เก็บนำ้นม
ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเต้านม
mammogenesis : พัฒนาการสร้างเต้านม โดดยมีฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ estrogen มีผลต่อการเจริญเติบโตของระบบท่อนำ้นม progesterone มีผลต่อการเจริญเติบโตของระบบต่อมนำ้นม prolactin
lactogenesis : การสร้างนำ้นม เกิดเมื่อ estrogen และ progesterone ลดระดับลง ทำให้ prolactin ไม่ถูกยับยั้ง สามารถกระตุ้นการสร้างนำ้นมได้ (ถูกกระตุ้นโดยการดูดนมของลูก)
galactogenesis : การสร้างนำ้นมอย่างต่อเนื่อง ขณะดูดนม prolactin จะสูงขึ้น ประมาณ 30นาทีหลังจากหยุดดูดนม ทำให้มีการสร้างนำ้นมเก็บไว้ ต้องกระตุ้นให้ลูกดูดบ่อย ๆ เพื่อให้มีฮอร์โมนในกระแสเลือดสูงอยู่ตลอดเวลา
let down reflex or milk ejection reflex : นมไหลออกมาโดยที่เด็กยังไม่ได้ดูดนม
milk ejection reflex : ขบวนการหลั่งนำ้นม ลูกดูด ปลายประสาทที่หัวนมและลานนม กระตุ้น -> hypothalamus -> posterior pituitary สร้าง oxytocin เข้ากระแสเลือดไปเต้านม กระตุ้น-> myoepithelial cell หดรัดบีบไล่นำ้นมออกมาจาก alveoius ไหลผ่านท่อนำ้นม (oxytocin reflex ) เข้าสู่ปาก
หน้าที่ของ oxytocin : กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก กระตุ้นการหลั่งนำ้นม กระตุ้นให้มารดามีความต้องการในการเลี้ยงดูบุตร
ปัจจัยที่ทำให้มีการสร้างและหลั่งนำ้นมเร็ว : ดูดเร็ว (ภายในครึ่งชั่วโมง) ดูดบ่อย (ดูดทุก 2 ชั่วโมง) ดูดถูกวิธี (ครอบลานม คางชนเต้า ใบหู ขากรรไกรขยัยตอนดูด) ดูดเกลี้ยงเต้า
ระยะนำ้นม
ระยะนำ้นมเหลือง (colostrum) : มีสีเหลือง พลังงาน 18 kcal/ounce สารที่สำคัญ immunoglobulin IgA IgG IgM lactoferrin lysozome transferin
ระยะนำ้นมเปลี่ยน (transitional milk) ; เปลี่ยนจากนำ้นมเหลืองเป็นนำ้นมจริง
ระยะนำ้นมจริง (true milk) : สีขาว พลังงาน 21 kcal/ounce ไขมันมี DHA ช่วยพัฒนาระบบประสาท การมองเห็น โปรตีนมี แอลฟา laetabumin ดูดซึมแคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง คาร์โบไฮเดรตมีกาแลคโตส ช่วยพัฒนาสมอง ดูดซึมแคลเซียม
การประเมิน latch score เครื่องมือบันทึกการให้นม ถ้าคะแนนน้อยกว่า 8 ต้องทำการช่วยเหลือ
ข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : แม่ติดเชื้อ HIV CMV Herpes ที่เต้านม TB ยังไม่รักษา ใช้สารเสพติด ทารกเป็นโรค galactosemia