Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนากระบวนการคิดรูปแบบต่าง ๆ - Coggle Diagram
การพัฒนากระบวนการคิดรูปแบบต่าง ๆ
การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
ความหมาย คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็ นกระบวนการคิดที่ให้ผลการคิดที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ มีคุณค่า มีประโยชน์ผลการคิดอาจออกมาในรูปของประดิษฐ์กรรมใหม่ แนวทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ทางเลือกใหม่ เป็นต้น
ขั้นตอนการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของโรเจอร์ วอน โอช (Roger von Oech)
นักสำรวจ มีบทบาทในการ แสวงหาวัตถุดิบซึ่งจะนำมาสร้างความคิดใหม่ ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริง มโนทัศน์ ประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึกที่สามารถหามาได้
ศิลปิน มีบทบาทในการสร้างความคิดใหม่หรือจินตนาการ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่นักสำรวจเก็บมาแล้วแปลงไปเป็นความคิดใหม่ ๆ ซึ่งใช้ความคิดหลากหลายแบบ
ผ้พิพากษา มีบทบาทของผ้ประเมิน สิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้น แล้วตัดสินใจว่ามีคุณค่ามีประโยชน์หรือไม่ และจะนำไปปฏิบัติ นำไปปรับปรุง หรือทิ้งไป
นักรบ มีบทบาทนำเอาความคิดที่ผ้พิพากษาได้ประเมินว่าควรค่าหรือเหมาะสมไปสู่การปฏิบัติ
ขั้นตอนการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของ เดวิด เพอร์กินส์( David Perkins )
วิเคราะห์ในแง่การออกแบบ คือ 1. จุดประสงค์ 2. โครงสร้าง 3. รูปแบบจำลอง 4. เหตุผลและข้อโต้แย้ง
ความเข้าใจอยางลึกซึ้ง
มองเห็นจุดที่นำไปพัฒนา ปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์
ขั้นตอนการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของ อเล็กซานเดอร์ ออสบอร์น (Alexander Osborn )
นำไปใช้ทางอื่นได้อีกไหม (Put to other uses?) : ลองพิจารณาว่ามีสส่วนไหนใช้ทำประโยชน์ได้อีกหรือถ้าปรับเปลี่ยนสักเล็กน้อยแล้วจะสามารถนำไปใช้อยางอื่นได้
นำไปปรับหรือดัดแปลงใช้อย่างอื่นได้หรือไม่ (Adapt?) :ลองพิจารณาวามีส่วนไหนที่ดัดแปลงใช้ทำอยางอื่นได้ หรือสามารถนำไปเลียนแบบอะไรหรือเลียนแบบใครได้บ้าง
ปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ (Modify?) : ลองพิจารณาวามีส่วนใดที่ยังไม่เหมาะสม และถ้าเปลี่ยนอยางอื่นจะเกิดผลอยางไรดีขึ้นไหม
เพิ่ม/ ขยายชิ้นส่วนสิ่งที่มีอยู่ได้หรือไม่ ( ู Magnify?) : ลองพิจารณาว่าถ้าเพิ่มวัสดุอะไรเข้าไปจึงจะเหมาะสมและจะเกิดผลอย่างไร
ลด/ ตัดทอนสิ่งที่มีอย่ได้หรือไม่ ( ู Minify?) : ลองพิจารณาว่าถ้าตัดอะไรออกไปจึงจะเหมาะสมและจะเกิดผลอย่างไร
จะใช้อะไรทดแทนได้หรือไม่ (Substitute?) : ลองทดแทนสิ่งเดิมด้วยสิ่งอื่นๆแล้ว พิจารณาว่าได้อะไรใหม่ๆขึ้นมาบ้าง โดยอาจใช้วัสดุอื่นแทน ใช้ใครแทน ใช้กระบวนการอื่น
นำไปจัดใหม่ได้หรือไม่ (Rearrange?) : ลองพิจารณาวามีชิ้นส่วนใดที่เปลี่ยนถ่ายกันได้ลองจัดรูปแบบใหม่หรือจัดลำดับความสำคัญใหม่
นำไปสลับใหม่ได้หรือไม่ (Reverse?) : ลองคิดมุมกลับในทางตรงข้าม ลองเปลี่ยนหน้าที่หรือสลับบทบาท
นำไปผสม/ รวมสิ่งที่มีอยู่ได้หรือไม่ ( ู Combine?) : ลองผสมผสานความคิดต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นกระบวนการคิดที่มีการพิจารณากลั่นกรองไตร่ตรองอย่างดีแล้ว เพื่อให้เกิดผลของการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผล และมีคุณค่า
สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ต้องมีการระบุเป้าหมายที่ชัดเจน
มีการประมวลข้อมูล ความรู้ ข้อคิดเห็น หรือประสบการณ์มาร่วมการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง และประเมินอยางรอบด้าน
ก่อนได้คำตอบ ต้องมีการคิดแบบการพิจารณา การกลั่นกรอง การไตร่ตรอง การประเมิน เพื่อให้ได้ผลการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผล และมีคุณค่า
ปัจจัยเสริม
การมีความสามารถในทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้อง
ผู้คิดหรือผู้ร่วมคิดต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกว้างขวาง หลากหลายสาขาวิชาการและประสบการณ์
ข้อมูลที่ใช้ในการคิดที่สมบูรณ์ ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งข้อมูลทางวิชาการข้อมูลทางสังคม ข้อมูลทางสิ่งแวดล้อม และข้อมูลเกี่ยวกบตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญของผลของการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผล และมีคุณค่า
การระดมสมองและการร่วมคิดจากบุคคลที่เหมาะสมในจำนวนที่เหมาะสมจะได้ผลของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ต้องสนใจข่าวสาร ขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ทันโลก ทันเหตุการณ์
กระบวนการคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นระบุปัญหา ถือวาเป็นขั้นตอนที่สำคัญและยากที่สุดก็ว่าได้ เพราะกว่าจะระบุปัญหาได้นั้นต้องใช้เวลาในการคิดพิจารณา
อยางรอบคอบ ซึ่งอาจเกิดมาจากข้อสงสัยของตัวเรา : :
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นตอนที่นักศึกษาต้องสามารถคาดคะเนความตอบล่วงหน้าได้โดยใช้หลักของการคาดการณ์ที่เหมาะสม มีเหตุและผล เป็นคำตอบที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นทดลอง ขั้นตอนนี้เป็นการทดลองตามขั้นตอนที่วางเอาไว้ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการบันทึกผลการทดลองตลอดการทำการทดลอง ซึ่งไม่ใช่การบันทึกผลการทดลองแค่ครั้งเดียว แต่มีการทดลองซ้ำหลายๆ ครั้งแล้วนำผลการทดลอง
ที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสรุปผล การสรุปผลที่ได้จากการผลการทดลองว่ามีความสัมพันธ์กับสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
กระบวนการคิดแบบอริยสัจ 4
การพัฒนาการคิดเลียนแบบวิธีคิดแบบอริยสัจ 4
สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่สามารถวิเคราะห์หาปัญหาและสภาพที่ไม่มีปัญหาได้ชัดเจน
การค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหา อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกนได้
การแสวงหาวิธีกาจัดต้นเหตุของปัญหา อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันได้
สามารถตรวจสอบความสำเร็จ ว่าบรรลุจุดประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด
ปัจจัยเสริม
การมีความสามารถในทักษะการคิด และลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้อง
การมีความสามารถในกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้อง
การมีความสามารถในการจับประเด็นปัญหา และกำหนดนิยามปัญหา
การมีความรู้กว้างขวาง หลากหลายสาขาวิชา เพื่อการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้อยางครอบคลุม ถูกต้อง การวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา
ในการวิเคราะห์สาเหตุบางกรณี อาจลึกซึ้งเกินกว่าการใช้การวิเคราะห์หรือการใช้เหตุผลจึงอาจต้องใช้การคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือการคิดอยางมีวิจารณญาณเข้าช่วย
การหาวิธีเพื่อลดหรือขจัดสาเหตุของปัญหา ในบางสาเหตุของปัญหาอาจต้องใช้การคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดอยางมีวิจารณญาณหรือการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เข้าช่วย
อุปสรรค
ประเด็นปัญหาที่คิดได้ที่นิยามไว้นั้น เป็ นปัญหาจริงที่ถูกต้องหรือไม่
สาเหตุที่คิดวาเป็นสาเหตุของปัญหานั้นเป็นสาเหตุจริง ๆ หรือไม่
วิธีการที่คิดไว้ส าหรับลดสาเหตุปัญหา หรือขจัดสาเหตุของปัญหานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่หรือมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนตรวจสอบ ตรึกตรอง การคิดในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี