Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) - Coggle Diagram
ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
แนวทางเวชปฏิบัติ
การประเมิน และคําแนะนําในการปรับพฤติกรรม
ปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก ได้แก่ การควบคุมน้ําหนัก ให้ดัชนีมวลกาย (BMI) 18-23 kg/m2 การงดบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ งดสารเสพติด การรักษาสุขภาวะกายและใจ
สตรีควรเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ การตรวจสุขภาพทั่วไป คัดกรองโรคทางพันธุกรรม รับวัคซีนที่จําเป็น
ปรึกษาแพทย์ประจําตัว และ สูติแพทย์ สําหรับกรณีมีโรคทางอายุรกรรมเรื้อรังที่ต9องทานยาเป็นประจํา เพื่อประเมินว่าตั้งครรภ์ ได้หรือไม่
หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเสริม วิตามินอื่น โดยเฉพาะสมุนไพร
ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาที
การประเมินคู่สมรสเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี หรือ สงสัยภาวะรังไข่เสื่อม ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอาการปวดระดู รุนแรง เลือดระดูผิดปกติ โรคทางนรีเวช หรือผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรม
แนวปฏิบัติที่เพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ (ด้วยวิธีธรรมชาติ)
การทราบเวลาไข่ตก จดระดูทุกเดือน (อย่างน้อย 3 รอบระดู) เพื่อการนับวันไข่ตกสตรีที่ระดูมาค่อนข้างสม่ำเสมอ วันไข่ตกคือ 14 วันก่อนมีระดูวันแรก การตรวจลักษณะมูกที่ปากมดลูก การตรวจวัดอุณหภูมิ การใช้ชุดตรวจ Luteinizing hormone (LH) ในปัสสาวะ – Urine LH test
การกําหนดเวลามีเพศสัมพันธ์ (ถี่ขึ้น)ในช่วงไข่ตก ช่วงท่ีมีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุด คือมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1 (สูงสุด) – 2 วันก่อนไข่ตก
การส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือ สูตินรีแพทย์
สตรีอายุน้อยกว่า 35ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ (> 2-3ครั้งต่อสัปดาห์) เป็นระยะเวลา12เดือนแล้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะในรายที่เคยกําหนดวันไข่ตกและเพศสัมพันธ์มาก่อนแล้ว
สตรีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ ( >2-3 ครั้งต่อสัปดาห์) เป็นระยะเวลา 6 เดือนแล้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะในรายที่เคยกําหนดวันไข่ตกและเพศสัมพันธ์มาก่อนแล้ว
คู่สมรสสตรีอายุมากกว่า 40 ปี
คู่สมรสที่มีอาการผิดปกติทางนรีเวช (ฝ่ายหญิง) และศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ (ชาย)
การรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก
การผสมเทียม หรือ การฉีดอสุจิที่ผ่านการเตรียมเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination; IUI)
การฉีดน้ําอสุจิที่ผ่านการเตรียมในห้องปฏิบัติการมีบุตรยากเข้าโพรงมดลูก ซึ่งมักใช้พร้อมกับการเหนี่ยวนําให้ไข่ตก และ/หรือ การกระตุ้นไข่
การกระตุ้นไข่ และการชักนําให้ไข่ตก
การให้ยาฮอร์โมน gonadotropin หรือ ยาที่ฤทธิ์ต่อการควบคุมของต่อมใต้สมองให้มีการสร้าง gonadotropin เพื่อกระตุ้นให้มีไข่โตมากกว่า 1 ใบ เมื่อมีการติดตามการเจริญของไข่ ถึงระดับที่เหมาะสม ก็สามารถใช้ยาชักนําให้มีไข่ตกในช่วงที่ต้องการ
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
การปฏิสนธินอกร่างกาย (in vitro fertilization, IVF) หรือ การทําเด็กหลอดแก้ว ซึ่งหมายรวม conventional IVF และ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) การเพาะเลี้ยงและใส่ กลับ
กระตุ้นการเจริญของฟองไข่หลายใบ (Multiplefolliclegrowth)
ยับยั้งการหลั่ง LH ป้องกันไม่ให้เกิดการตกไข่ พัฒนาการขั้นสุดท้ายของการเจริญของไข่ (Prevention of a premature LH surge)
เหนี่ยวนําให้ไข่ตกและมีพัฒนาการของไข่พร้อมสําหรับการปฏิสนธิ (Oocytematuration/ ovulation triggering)
การผ่าตัดเก็บไข่ (Oocyteretrieval)
เตรียมน้ําอสุจิเตรียมในห้องปฏิบัติการ (ปั่นแยกล้าง) เพื่อคัดแยกตัวมีชีวิตที่เคลื่อนไหวปกติ สําหรับ ICSI จะมีขั้นตอนในการคัดเลือกตัวอสุจิที่รูปร่างปกติ หยุดการเคลื่อนไหว และดูดใส่เข็ม เพื่อเตรียมฉีดเข้าไข่
ไข่ที่เก็บจะนําใส่จานเพาะเลี้ยงใส่ตู้ควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้การพัฒนาเต็มที่แล้วผสมกับน้ําอสุจิที่ผ่านการเตรียม (IVF) หรือ ย่อยเซลล์พี่เลี้ยงออกให้เหลือแต่ไข่ เพื่อประเมินพัฒนาการแล้วจึงฉีดตัวอสุจิ (ICSI)
ประเมินการปฏิสนธิที่16-18ชม.(ระยะ2pronuclei และมี secondpolarbody) ภายหลังการผสมหรือฉีด ICSI ตัวอ่อนจะเลี้ยงต่อในตู้ควบคุมอุณหภูมิ
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ถูกประเมินคุณภาพ ตัวอ่อนที่เหมาะสมจะถูก biopsy เพื่อทดสอบพันธุกรรม เพื่อวินิจฉัยก่อนการฝังตัว (Preimplantation genetic test – aneuploidy; PGT-A)
การใส่ตัวอ่อนกลับในรอบเก็บไข่หรือรอบสด (Freshcycletransfer) หรือรอบแช่แข็ง (Frozen thaw embryo transfer) ด้วยการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก
ให้ฮอร์โมนพยุงการตั้งครรภ์ (Luteal support)
การทํา GIFT (gamete intrafallopian transfer) หรือการนําไข่ (หลายใบจากการกระตุ้น)และอสุจิ ใส่กลับเข้าไปในท่อนําไข่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง2ข้าง โดยให้ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อน และฝังตัวในโพรงมดลูก
ZIFT (zygote intrafallopian transfer) คือการย้ายตัวอ่อนระยะเซลล์เดียว เข้าไปในท่อนําไข่ เพื่อให้มีการฝังตัวในโพรงมดลูก
ข้อบ่งชี้
ความผิดปกติของอสุจิอย่างรุนแรง(AzoospermiaหรือSevere Oligoasthenoteratozoospermia)
ความผิดปกติจากฝ่ายชายที่ไม่สามารถแก้ไขตามสาเหตุได้และมีความผิดปกติของอสุจิอย่างรุนแรง
ความผิดปกติของการแข็งตัวอวัยวะเพศและการหลั่งน้ําอสุจิ erectiledys function, anejaculation, retrograde ejaculation
ท่อนําไข่อุดตัน และ/หรือบวมน้ําที่ไม่สามารถผ่าตัดแก้ไข
ภาวะรังไข่เสื่อม diminishedovarian reserve หรือรังไข่หยุดทํางานก่อนวัย primaryovarian insufficiency
ภาวะมีบตุรยากที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุและผ่านการรักษาด้วยวิธี IUI แล้วไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง
ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ
ฝ่ายชายสามารถสร้างตัวอสุจิที่มีจํานวน รูปร่าง และการเคลื่อนไหว ในเกณฑ์ปกติ ท่อนําอสุจิของฝ่ายชายไม่มีการอุดตัน ฝ่ายชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และสามารถหลั่งน้ํา อสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้ตัวอสุจิต้องเคลื่อนที่เข้าไปถึงปากมดลูก ผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าไปตามท่อนําไข่ เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ฝ่ายหญิงสามารถผลิตไข่ที่ปกติได้ และมีการตกไข่เข้าไปในท่อนําไข่ได้ ไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนที่ปกติแล้วเคลื่อนเข้าไปในโพรงมดลูกและมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมรองรับการฝังตัว ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว สามารถเจริญเป็นทารกต่อไปได้
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
สาเหตุจากฝ่ายหญิง
ปัจจัยจากรังไข่ (Ovarianfactors)
ความผิดปกติของการตกไข่ (Ovulatory disorder) การขาดระดู (amenorrhoea) ระดูมาน้อย (oligomenorrhoea) ระดูที่มาไม่สม่ำเสมอ
ปริมาณฟองไข่สํารองลดลง (diminished ovarian reserve) ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของรังไข่ (ovarian ageing) เมื่ออายุมากขึ้น
ปัจจัยจากท่อนําไข่ (Tubalfactors)
สาเหตุ ได้แก่ การทําหมันหญิง การผ่าตัดท่อนําไข่ออก (Salpingectomy) ซึ่งอาจเกิดจาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ พยาธิสภาพของปากมดลูก (รวมรังไข่) พังผืดบริเวณปากมดลูก
ปัจจัยจากมดลูด (Uterinefactors)
ความผิดปกติแต่กําเนิด เช่น bicornuate uterus หรือ septate uterus เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Fibroid หรือ Leiomyoma) โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ติ่งเนื้อโพรงมดลูก (endometrial polyp) และ โรคพังผืดในโพรงมดลูก (Asherman’s syndrome)
ปัจจัยจากปากมดลูก (Cervicalfactors)
มีประวัติการผ่าตัดปากมดลูก หรือ มีการติดเชื้อมาก่อน ก่อให้เกิดภาวะปากมดลูกตีบ หรือ มูกผิดปกติ
ปัจจัยจากเยื่อบุช่องท้อง (Peritonealfactors)
โรคสําคัญ ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ Endometriosis มีผลต่อท่อนําไข่โดยตรง (tubal factors) หรือ เป็นพยาธิสภาพในช่องท้อง มีกลไกในการอักเสบ และก่อให้เกิดพังผืดบริเวณปากมดลูก
สาเหตุจากฝ่ายชาย
ไฮโปทาลามัส และต่อมใต้สมอง (Pre-testicular causes)
อัณฑะ (Testicularcauses)
ความผิดปกติในการสร้างตัวอสุจิของอัณฑะจากพยาธิ สภาพของอัณฑะโดยตรง ได้แก่ เส้นเลือดขอดบริเวณอัณฑะ (varicocele) อัณฑะเสื่อมสภาพ(testicular failure) เกิดจากโรคทางพันธุกรรมแต่กําเนิด Klinefelter’ssyndrome หรือได้รับ gonadotoxic agents หรือ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น คางทูม
ท่อนําอสุจิ (Post-testicular causes)
ความผิดปกติของท่อลําเลียงน้ําอสุจิ ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตัน เช่น การทําหมันชาย ความพิการแต่กําเนิด
ไม่พบสาเหตุ (Unexplained infertility)
คู่สมรสหากต้องการจะเข้าสู่กระบวนการรักษาผู้มีบุตรยาก ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการดําเนินชีวิต การกระตุ้นไข่ผสมเทียม ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตรของคู่สมรส
อายุของฝ่ายหญิง
อายุระหว่าง 21-25 ปี จะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการมีบุตรได้สูงสุด หลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อยๆลดลง ตามอายุที่มากขึ้น
อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน ควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยาก
อายุของฝHายชาย
อายุ 55 ปี ขึ้นไป จะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้น
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมคือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื่องจากอสุจิที่สร้างขึ้นมาใหม่มี่คุณภาพดีและแข็งแรงกว่าอสุจิที่สร้างมานานแล้ว และตัวอสุจิจะสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อนําไข่ของฝ่ายหญิงได้ประมาณ 2 วัน
ระยะเวลาของการแต่งงาน
18 เดือนแรกของการแต่งงาน อัตราการตั้งครรภ์สะสมจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น หลังจากนั้นหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุของการมีบุตรยาก
ปัจจัยด้านสุขภาพกายใจการดําเนินชีวิต
ผู้ที่มีโรคประจําตัวเรื้อรังอยู่ มีผลทําให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง ทําให้โอกาสของการตั้งครรภ์น้อยลง
ความเครียด ความวิตกกังวล โรคจิต โรคประสาท ในฝ่ายหญิง ทําให้การทํางานของรังไข่ผิดปกติ มีการตกไข่นานๆครั้ง หรือไม่มีการตกไข่เลย ฝ่ายชาย ภาวะจิตใจ ความเครียด กังวล ตื่นเต้น ทําให้อวัยวะไม่แข็งตัว (impotent) หรือภาวะมีการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป (premature ejaculation)
การที่ฝ่ายชายมีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน หรือ คู่สมรสที่ติดสุรา บุหรี่ ยาเสพติด บางครั้ง ทําให้การมีเพศสัมพันธ์ห่างและการสร้างตัวอสุจิน้อยลง
คําจํากัดความ
การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่าง สม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ได้คุมกําเนิดมาเป็นระยะเวลา 12 เดือน (3,4) หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (Primary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นมาก่อนเลย
ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (Secondary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแท้งหรือการคลอด ไม่นับรวมช่วงเวลาที่ให้นมบุตร
Fecundability หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะตั้งครรภ์ในหนึ่งรอบระดู
Fecundity หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะมีการตั้งครรภ์และดําเนินไปจนถึงการคลอด บุตรมีชีพ ภายใน 1 รอบประจําเดือน