Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 - Coggle Diagram
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
ม.4 ความหมายของคำต่าง ๆ
3.เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ อยู่ในครอบครัวยากจน หรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กรับภาระเกินวัย หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
4.เด็กพิการ คือ มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ (จะมีแต่กำเนิดหรือไม่ก็ได้)
2.เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต หรือไม่สามารถสืบหาบิดามารได้ได้
5.บิดามารดาของเด็ก จะสมรสหรือไม่ก็ได้
1.เด็กเร่ร่อน คือ เด็กไม่มีบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
หมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็ก
ม.26 ห้ามผู้ใดกระทำการต่อไปนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
หากฝ่าฝืน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.จงใจหรือละเลยปล่อยให้เด็กเกิดอันตราย
3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือเสี่ยงต่อการกระทำผิด
1.การทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจ
4.โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก
5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเรร่อน
6.ใช้ จ้าง หรือ วานเด็กให้ทำงานหรือกระการอันอาจเป็นอันตราย
7.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ท่าการค้า ซึ่งส่งผลหรือขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการ
8.ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน หรือเข้าไปในสถานที่เล่นพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่เด็กห้ามเข้า
9.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการลามกอนาจาร ไม่ว่าจะได้ค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
10.จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุุหรี่แก่เด็ก
ม.25 ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการ ดังนี้
3.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตหรือสุขภาพ จนน่าจะเกิดอันตราย
4.ปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการ
2.ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ อย่างไม่เหมาะสม
5.ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
1.ทอดทิ้งไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาล หรือที่อื่น โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
ม.29 วรรค 2 ครูซี่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์ จะต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตาม ม.24 หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยมิชักช้า หากเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
ม.30 เพื่อประโยชน์ต่อเด็กให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวด 3 และหมวด 4 มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
1.เข้าไปในเคหสถาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในตอนกลางวันเพื่อตรวจค้น หากสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก กักขัง หรือเลี้ยงดูโดยมิชอบ
2.วักถามเด็กเมื่อมีสงสัยว่าเด็กจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ
3.มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นใดมาให้ถ้อยคำหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ความประพฤติ สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัวของเด็ก
4.ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็ก นายจ้างหรือผู้ประกอบการ ส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่ การศึกษา หรือความประพฤติของเด็ก
5.เข้าไปในสถานที่อยูอาศัยของผู้ปกครอง เพื่อสอบถามและรวบรวมข้อมูล
6.มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองพร้อมกับแนะนำหรือตักเตือนผู้ปกครองให้ดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเด็กในทางที่ถูกต้อง
7.ทำรายงานเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อมอบให้แก่สถานแรกรับ
หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
ม.65 นักเรียนที่ฝ่าฝืน ม.64 พนักงานเจ้าหน้าที่มีออำนาจนำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่ออบรมสั่งสอนและลงโทษ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนเด็กอีกด้วย
ม.66 พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ดังนี้
2.เรียกให้ผู้ปกครอง ครู หรือหัวหน้าสถานศึกษา มารับตัวนักเรียน เพื่อว่ากล่าวตักเตือน
3.ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอน
1.สอบถามครู หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นัสัยและสติปัญญาของนักเรียน
4.เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บน
5.สอดส่องดูแลและรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลแหล่งชักจูงนักเรียนให้ประพฤติมิชอบ
6.ประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหมวดนี้
ม.64 นักเรียนต้องประพฤติตนตามระเบียบของสถานศึกษา และ ม.85 ผู้ใดยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน ให้นักเรียนฝ่าฝืน ม.64 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ม.63 สถานศัึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน และผุ้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยของนักเรียน