Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่3การพัฒนาโครงสร้าง, image - Coggle Diagram
หน่วยที่3การพัฒนาโครงสร้าง
การพัฒนาโครงงาน หมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดจากความสนใจของผู้ที่จะทำโครงงาน มีการออกแบบ วางแผน ลงมือปฏิบัติจนได้ผลที่เกิดจากการทำผลแล้ว จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่ตามช่องทางต่าง ๆ
เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคือ เพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การเป็นผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ การเขียนรายงาน และการนำเสนอ
ตัวอย่างโครงงานต่าง ๆ
โครงงานพัฒนาแอปพลิเคชั่นการเรียนรู้ภาษาอีสาน
โครงงานพัฒนาอุปกรณ์ Iot
โครงงานควรเริ่มจากการกำหนดปัญหา อาจจะเป็นปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันหรือปัญหาอื่น ๆ หลังจากนั้นศึกษากำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไข จากนั้นวางแผนและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ระหว่างดำเนินการอาจต้องปรับเปลี่ยนแผนและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด จากนั้นจึงสรุปผลและเผยแพร่ผลงานที่ได้ การพัฒนาโครงงานมีขั้นตอน ดังนี้
3.1 การกำหนดปัญหา
การระบุปัญหาควรเน้นที่ตัวปัญหา ว่าปัญหาคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร สาเหตุของปัญหามีประเด็นใดบ้างหรือส่งผลกระทบ สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงในประเด็นใดได้บ้าง
3.1.1 ที่มาของปัญหา
1) ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น การหลงลืมเป็นประจำ การควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัวหรือครัวเรือน การควบคุมน้ำหนัก
2) ปัญหาในการเรียนหรือการทำงาน เช่น การลืมทำการบ้าน หรือการทำการบ้านไม่ได้ การไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาเรียน การจดจำราคาสินค้าผิดพลาด
3) ปัญหาในระดับชุมชนหรือระดับประเทศ เช่น ชุมชนใกล้แหล่งน้ำ อาจมีปัญหาน้ำหลากหรือน้ำแล้ง ชุมชนที่มีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปัญหาระดับประเทศ เช่น การว่างงาน การผลิตบัณทิตไม่ตรงกับสาขาหรือความต้องการ การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมและยาเสพติด
3.1.2 แหล่งจุดประกายความคิดในการพัฒนาโครงงาน
1) กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเรียน งานอดิเรก และงานที่รับผิดชอบ เช่น ปัญหาการไม่เข้าเนื้อหาในการเรียน ปัญหาในการรวบรวมโน้ตจากการเล่นดนตรี
2) วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งแหล่งข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบปัญหาในชุมชนและสังคม เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
3) หนังสือ วารสาร ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม และสื่อให้ความรู้และความบันเทิง
4) การเข้าค่ายอบรม การร่วมอภิปราย หรือสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
5) การทัศนศึกษาแหล่งวัฒนธรรม ชุมชน หรือสถานที่ท่องเที่ยว
6) การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการและการประกวดต่าง ๆ
3.1.3 องค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจเลือกโครงงาน
1) ความรู้และทักษะพื้นฐาน ผู้พัฒนาโครงงานควรมีความรู้พื้นฐานในปัญหานั้นเพียงพอที่จะศึกษารายละเอียดของปัญหา และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) แหล่งความรู้เพื่อการค้นคว้าและให้คำปรึกษา เช่น หนังสือ วารสาร เว็บบอร์ด หรือผู้เชี่ยวชาญ
3) งบประมาณและทรัพยากร ควรคำนึงถึงทรัพยากรที่มีและทรัพยากรที่สามารถจัดหาได้ ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
4) เวลาในการพัฒนา ควรประเมินเวลาที่มีสำหรับใช้พัฒนาโครงงาน
5) ไม่ผิดหลักศีลธรรม และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนเองและผู้อื่น
3.2 การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา
การพัฒนาโครงงานควรศึกษาที่มาและความสำคัญของโครงงาน ระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงงานให้ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนาอะไร แก้ปัญหาในมุมมองใด และต้องกำหนดแนวทางและขอบเขตของโครงงาน ว่าจะต้องแก้ปัญหาส่วนใดบ้าง ใช้ความรู้และใช้ทรัพยากรใดบ้าง
3.2.1 การศึกษาที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ควรเริ่มต้นจากการอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น โดยต้องระบุให้เห็นภาพว่า มีปัญหาเกิดขึ้นจริง ผลกระทบของปัญหามีความสำคัญ และปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอ ทั้งนี้การระบุถึงความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการระบุแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ควรมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
จากนั้น ให้กล่าวถึงภาพรวมของโครงงาน โดยระบุให้ชัดเจนว่า โครงงานนี้ต้องการพัฒนาขั้น เพื่อแก้ปัญหาใด ด้วยวิธีใด และบรรยายวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้ ซึ่งจะต้องมีหลักการอ้างอิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุดท้ายที่ต้องระบุ คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่พัฒนาโครงงานสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อตนเอง สังคม หรือจะเป็นคุณค่าในเชิงวิชาการอย่างไร
3.2.2 การระบุวัตถุประสงค์ของโครงงาน
เป็นการระบุว่า โครงงานนี้จะทำอะไร ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร เช่น โปรแกรม ขั้นตอนวิธี การระบุวัตถุประสงค์ควรเริ่มต้นประโยคที่ระบุสิ่งที่จะทำให้ชัดเจน เช่น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้..... เพื่อสร้างต้นแบบในการ.....
วัตถุประสงค์ต้องสามารถวัดผลได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านประสิทธิภาพ การทดลอง หรือแบบสำรวจ
ตัวอย่างการระบุวัตถุประสงค์
3.2.3 การระบุแนวทางและขอบเขตของโครงงาน
การพัฒนาโครงงานที่ดีต้องกำหนดขอบเขตสิ่งที่จะทำหรือไม่ทำให้ชัดเจน เพราะแม้ว่าจะเป็นปัญหาเดียวกัน โครงงานที่พัฒนาแต่ละโครงงานอาจจะแก้ปัญหาคนละด้าน
ขอบเขตของโครงงาน ควรเริ่มจากการอธิบายภาพรวมของโครงงาน อาจใช้สตอรี่บอร์ด (storyboard) อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบ รวมทั้งอาจใช้ภาพ แผนผัง แบบจำลองหรือโปรแกรม
หลังจากอธิบายการทำงานของระบบ รวมถึงเทคนิค เทคโนโลยี และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแล้ว ก็ระบุรายละเอียดการทำงานของโครงงาน
การระบุแนวทางและขอบเขตของโครงงานจะช่วยให้ทราบการพัฒนาโครงงานนี้ต้องศึกษาความรู้หรือเทคนิคใด รวมทั้งต้องจัดหาทรัพยากรใดเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้การพัฒนาโครงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.4 ประเมินทรัพยากรที่ใช้ในโครงงาน
จะประเมินทั้งงบประมาณและระยะเวลาของโครงงาน ซึ่งการประเมินงบประมาณทำได้จากการประเมินการจัดหาทรัพยากรทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร ส่วนการประเมินระยะเวลาของโครงงานนั้น ทำได้โดยแบ่งโครงงานเป็นกิจกรรมย่อย ประเมินเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในหัวข้อ 3.2.2 และ 3.2.3 จะถูกนำมาใช้ 2 รอบ โดยรอบแรกจะเป็นการเขียนเอกสารข้อเสนอโครงงานเพื่อขออนุมัติหรือขอทุนสนับสนุน ในรอบ 2 ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ในบทที่ 1-3
3.3 การวางแผนและออกแบบโครงงาน
3.3.1 ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมและศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
เป็นขั้นตอนเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร เริ่มจากค้นหาเอกสาร อาจสร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบแนวทางและขอบเขตที่กำหนดว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่
3.3.2 กำหนดผลสำเร็จของโครงงาน
ตัวอย่าง เช่น การพัฒนาโครงงานเรียนรู้การพูดออกเสียงและเขียนภาษาอังกฤษ อาจกำหนดว่าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว จะมีการส่งมอบโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ รายงานฉบับสมบูรณ์ และเอกสารคู่มือการใช้งาน
3.3.3 แบ่งการดำเนินการออกเป็นกิจกรรม
ตัวอย่าง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สูงอายุภายในอาคาร อาจแบ่งกิจกรรมย่อยได้ ดังนี้
3.4 การดำเนินงาน
เป็นขั้นตอนที่ต้องพัฒนาชิ้นงาน หรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
3.4.1 การเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมทรัพยากรหรือข้อมูลให้พร้อม ตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการวางแผน
3.4.2 การลงมือพัฒนา คือการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ควรมีการบันทึกความเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ อาจระบุเป็นเวอร์ชัน (version control system)
3.4.3 การทดสอบและแก้ไข เป็นการทดสอบผลลัพธ์ว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือขอบเขตของโครงงานหรือไม่
3.5 การสรุปผลและการเผยแพร่ผลงาน
3.5.1 การเขียนรายงาน เป็นการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงาน แบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบไปด้วย ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา และผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นต้น
บทที่ 2 หลักการ ทฤษฎี และงานที่เกี่ยวข้อง ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ทบทวนโครงงานหรือชิ้นงานอื่นที่พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในลักษณะเดียวกันกับโครงงานที่จะทำ ส่วนที่ 2 เป็นการรวบรวมทฤษฎีและเทคนิคที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน เช่น วิธีดำเนินการ รายการทรัพยากรที่ต้องใช้ ขั้นตอนการดำเนินงาน
บทที่ 4 การทดลองและผลการทดลอง แสดงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยนำเสนอการทดลองและผลการทดลอง หรือสาธิตการใช้โปรแกรม
บทที่ 5 สรุปผล วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ สรุปผลตั้งแต่ต้นจนจบว่า ปัญหาคืออะไร ใช้วิธีการใด หลังจากที่แก้ปัญหาแล้วมีประโยชน์อย่างไร ผลที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างไร รวมทั้งอธิบายปัญหาและอุปสรรคของโครงงาน และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร เว็บไซต์ ที่ได้ไปศึกษา ค้นคว้า มาเพื่อพัฒนาโครงงาน การบรรณานุกรม ให้เขียนตามรูปแบบมาตรฐานทั่วไป
คู่มือการใช้งาน เป็นส่วนที่อธิบายการใช้งานผลงานที่พัฒนาขึ้น เช่น ชื่อผลงาน คุณลักษณะของอุปกรณ์ วิธีการใช้งาน ข้อแนะนำการใช้งาน ข้อควรระวัง
3.5.2 การนำเสนอ
การนำเสนอไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม การนำเสนอควรมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ข้อมูลของโครงงาน เช่น ชื่อโครงงาน ผู้จัดทำ ที่ปรึกษา
2) คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน และความสำคัญของโครงงาน
3) วิธีการดำเนินงานโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ
4) สรุปผลของโครงงาน
สรุป การพัฒนาโครงงานนั้น จะต้องเริ่มจากการกำหนดปัญหาที่สนใจ และทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ว่ามีด้านใดบ้างที่สามารถไปช่วยแก้ปัญหาได้ หลังจากนั้น จึงทำการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยโครงงาน แล้วกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงงาน ว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการใด ซึ่งผู้พัฒนาโครงงานอาจต้องศึกษาเทคนิคหรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อช่วยให้กำหนดแนวทางชัดเจนมากขึ้น หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการวางแผน จัดเตรียมทรัพยากร ออกแบบและดำเนินกการพัฒนาโครงงาน จากนั้นจึงเขียนรายงานผลการดำเนินงานและนำเสนอเผยแพร่ผลงาน