Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตัวเหลืองของทารก (Neonatal Jaundice), 0, 000 - Coggle Diagram
ภาวะตัวเหลืองของทารก (Neonatal Jaundice)
อาการ และอาการแสดง
ลูกตัวเหลืองมากหรือเพิ่มขึ้นเร็ว
สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
จุดเลือดตามตัวหรือมีรอยเลือดออกบนผิวหนัง
พยาธิสภาพ
บิลิรูบินเกิดจากการแตกตัวของฮีโมโกบินซึ่งได้จาเม็ดเลือดแดงที่ หมดอายุขัยหรือแตกจากการถูกทำลาย เป็น Unconjugated bilirubin (UB) ซึ่งละลายน้ำไม่ได้ต้องจับกับอัลบูมินในซีรั่มและถูก นำไปที่ตับเกิดจาก conjugated ได้เป็น conjugated bilirubin (CB) ซึ่งละลายน้ำได้แล้วถูกขับถ่ายทงน้ำดีและปัสสาวะ แต่เมื่อลงมาใน ลำไส้ บิลิรูบินที่ละลายในน้ำอาจถูกย่อยสะลายในลำไส้กลายเป็นบิลิ รูบินที่ไม่ละลายในน้ำใหม่และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด (entero hepatic circulation)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อสมองได้รับอันตรายจากภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
ดูแลให้ได้รับนมมารดาตามต้องการ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของการขจัดบิลิรูบินออก จากร่างกาย
สังเกตอาการตัวเหลืองโดยใช้นิ้วกด บริเวณผิวหนังบริเวณจมูก หน้าผาก หน้าอกและหน้าแข้ง
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงภาวะซึมลง ร้องเสียงแหลม หลังแอ่น ตัวเขียว ชักหรือ กระตุก
ดูแลให้ได้รับการส่องไฟรักษา
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟ
ป้องกันไม่ให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
ป้องกันภาวะขาดน้ำ เนื่องจากทารกได้รับการส่องไฟ
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของตา 2.1 ปิดตาด้วยแผนปิดตาที่ปราศจากเชื้อ 2.2 ใช้ลาสเตอร์ปิด ให้แน่นไว้ที่ขมับทั้ง 2 ข้าง2.3 ทำความสะอาดตาด้วยสำลีชุบ 0.9% NSS อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 2.4 ปิดไฟก่อนเปิดผ้าปิดตาทุกครั้ง
ป้องกันผิวหนังเกิดผดผื่นจากการได้รับการส่องไฟรักษา
เพื่อป้องกันอันตรายจากการได้รับแสงมากเกินไป และป้องกันอุบัติเหตุ จากการแตกของแสงหลอดไฟโดยให้ทารกนอนส่องไฟในตู้อบหรือ crib ที่มีแผงกระจกกนหลอดไฟไว้
สาเหตุ
ทารกได้รับน้ํานมแม่ในช่วงแรกคลอดค่อนข้างน้อย
มีการขับ bilirubin ได้น้อย หรือไม่ได้ ซึ่งสามารถเกิดได้จากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย หรือทารกดูด นมน้อย มีการอุดตันของลำไส้ ท่อน้ำดีอุดตัน หรืออักเสบ ทำให้เกิดการดูดซึม bilirubin จากลำไส้กลับเข้าสู่ระบบ ไหลเวียนโลหิตมากกว่าปกติ
มีการสร้าง bilirubin มากกว่าปกติจากภาวะต่างๆ ที่มีการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น การที่ หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility และ Rh incompatibility) เซลล์เม็ดเลือดแดงมี รูปร่างผิดปกติ ซึ่งภาวะทั้ง 2 ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ ภาวะเลือดข้น มีภาวะเลือดออกใน ร่างกายทำให้มีการสลายตัวและมี bilirubin เข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าปกติ การที่มารดาได้รับยา oxytocin ที่ใช้ ในการเร่งคลอด ซึ่งสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกแตกได้ง่ายขึ้นหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด
ตับมีความสามารถในการเปลี่ยน bilirubin เป็นชนิด Conjugated bilirubin ได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจาก ทารกคลอดก่อนกำหนด ทำให้ระดับเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยน bilirubin ต่ำกว่าปกติ ทารกขาดเอนไซม์ UDP- glucuronyl transferase หรือที่เรียก Crigler Najjor syndrome ที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่พบในทารกชาว อาหรับ หรืออาจเกิดจากได้รับยาบางชนิดที่ขัดขวางการเปลี่ยนรูปของ unconjugated bilirubin เช่น ยา novobiocin and pregnanadial so non-esterified fatty acid
การรักษา
การส่องไฟ โดยการใช้แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (แสงนีออน) ที่มีความเข้มข้นสูง (ไม่ใช้แสงแดดส่อง) แสงไฟจะช่วยเปลี่ยนสภาพของสารสีเหลืองให้ขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
ถ้าส่องไฟแล้วสารสีเหลืองยังไม่ลด กุมารแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า ควรใช้วิธีต่อไป คือการเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นการนําเอาเลือดที่มีสารเหลืองออกจากตัวทารก แล้วให้เลือดใหม่แทน ซึ่งวิธีนี้ใช้เมื่อมีสารสีเหลืองสูงถึงขั้นอาจเกิดอันตรายต่อทารก
กรณีสารสีเหลืองไม่สูงมาก ทารกสามารถขับสารสีเหลืองออกมาได้เอง โดย ไม่ต้องรักษา
การใช้ยา
ภาวะตัวเหลืองคือ… อาการที่เกิดจากการมีสารสีเหลือง (ทางการแพทย์ เรียกว่า บิลิรูบิน)
สารสีเหลืองนี้จะ ไปเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทําให้สีผิวหรือสีตาขาวลูกน้อยมีสีเหลือง
ชนิดของภาวะตัวเหลือง
pathologic jaundice เป็นภาวะตัวเหลืองจากการมีระดับ bilirubin ในเลือดสูงมากผิดปกติ อาจ สังเกตอาการเหลืองได้เมื่อทารกมีอายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ตรวจพบระดับ bilirubin ได้จากสายสะดือหลังคลอดมี ค่ามากกว่า 3 mg/dl มีระดับ bilirubin สูงเกิน 5 mg/dl หลังคลอด 24 ชั่วโมง มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่า 5mg/dl ต่อวัน หรือ 0.2 mg/dl ต่อชั่วโมง หรือมีอาการตัวเหลืองนานกว่า 14 วัน โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้รับนม มารดาซึ่งเป็นภาวะตัวเหลืองมากกว่าปกติ โดยจะเริ่มเหลืองจากบริเวณใบหน้าเข้าหาลำตัวไปสู่แขน ขา ที่ฝ่ามือ และฝ่าเท้าตามลำดับ การที่ระดับ bilirubin สูงมากทำให้ทารกเสียงต่อภาวะ acute bilirubin encephalopathy หรือ Kernicterusเนื่องจาก bilirubin เป็นพิษต่อเนื้อสมองและอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้ในทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองบริเวณใบหน้า ที่หน้าอกเหนือสะดือ ระดับบิลิรูบินจะสูงประมาณ 12 mg/dl หรือต่ำกว่าแต่ถ้ามือและเท้าเหลือง ระดับบิลิรูบินมักสูงเกิน 15 mg/dl
physiologic jaundice เป็นภาวะตัวเหลืองที่พบในทารกปกติเกิดจากการมี unconjugated bilirubin สูงในช่วงสัปดาห์แรก และจะค่อยๆ สูงสุดเมื่ออายุ 2-5 วันหลังคลอด ในทารกเกิดครบกำหนดระดับ bilirubin สูงสุดประมาณ 10-14 mg/dl เมื่ออายุ 3-4 วัน และจะค่อยๆ ลดลงจนเข้าสู่ระดับปกติประมาณ อายุ 7- 10 วัน ในทารกเกิดก่อนกำหนด physiologic jaundice จะรุนแรงกว่าในทารกเกิดครบกำหนดและระดับของบิลิรู บินสูงสุดอาจมีค่ามากกว่าที่พบในทารกเกิดครบกำหนด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของบิลิรูบิน ประมาณ 10-12 mg/dl เมื่ออายุ 5 วัน สาเหตุจากการที่ตับยังเจริญไม่เต็มที่ เป็นผลจากระดับเอนไซม์ UDP-glucuronyl transferase ต่ำ อีกทั้งยังมีแบคทีเรียในทางเดินอาหารน้อยทำให้สามารถขับ bilirubin ออกจากร่างกายได้ น้อยกว่าผู้ใหญ่ภาวะเหลืองนี้จะสังเกตเห็นได้จากผิวหนัง เยื่อบุตาขาวและเล็บ โดยเริ่มปรากฏให้เห็นจากบริเวณ ใบหน้าไปสู่ลำตัว แขนขา ฝ่ามือและฝ่าเท้า พบได้ในทารกปกติซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ