Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, มาตรา…
สรุปพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หมวด ๑ บททั่วไปความมุ่งมั่นและหลักการ
มาตรา ๖
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มาตรา ๗
ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสํานึกที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย
มาตรา ๘
การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๙
การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลัก ดังนี้
(๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(๒) มีการกระจายอํานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา
(๓) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
(๔) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
(๕) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๑๐
การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้อง
จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
มาตรา ๑๑
บิดา มารดาหรือผู้ปกครองบุตรหรือบุคคล
ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา ๑๒
นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้บุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๑๓
บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(๑) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
(๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลของครอบครัว
(๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสําหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกําหนด
มาตรา ๑๔
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี
หมวด ๓ ระบบการศึกษา
มาตรา ๑๕
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(๑) การศึกษาในระบบ
(๒) การศึกษานอกระบบ
(๓) การศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา ๑๖
การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
(๑) การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อน ระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๒) การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
มาตรา ๑๗
ให้มีการศึกษาภาคบังคับจํานวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 17 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9
ของการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา ๑๘
การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๒) โรงเรียน
(๓) ศูนย์การเรียน
มาตรา ๑๙
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
มาตรา ๒๐
การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ
มาตรา ๒๑
กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชํานาญของหน่วยงานนั้นได้
หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด
มาตรา ๒๓
การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสําคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ
มาตรา ๒๔
การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
มาตรา ๒๕
รัฐต้องส่งเสริมการดําเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรา ๒๖
ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสม
มาตรา ๒๗
ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย
มาตรา ๒๘
หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมท้ังหลักสูตรการศึกษาสําหรับ บุคคลตามมาตรา ๑๐
มาตรา ๒๙
ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน
มาตรา ๓๐
ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
หมวด ๕ การบริหารและจัดการศึกษา
ส่วนที่ ๑ การบริหารและการจัดการการศึกษาของรัฐ
มาตรา ๓๑
ยกกำลัง๔ กระทรวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกํากับดูแลการศึกษาทุกระดับ แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
มาตรา ๓๒
ยกกำลัง๕ การจัดระเบียบ บริหารราชการในกระทรวง ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อให้ความเห็น
มาตรา ๓๒/๑
ยกกำลัง๖ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอํานาจ หน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกํากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพ่ือให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรา ๓๒/๒
ยกกำลัง๗ การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ส่วนที่ ๒ การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๔๑
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาตาม
ความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น
มาตรา ๔๒ ให้กระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการ จัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง
ส่วนที่ ๓ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
มาตรา ๔๓
ให้มีอิสระ โดยมีการกำกับติดตามและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ
มาตรา ๔๔
ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๘ (๒) เป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู
ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๔๕
ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับ
ทุกประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยรัฐกำหนดนโยบายและมาตราการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมี
ส่วนรวมของเอกชนในด้านการศึกษา
มาตรา ๔๖
รัฐต้องการให้สนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ มีมาตราฐานและพึ่งตนเองได้
หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๔๗
ยกกำลัง ๒๑ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มาตรา ๔๘
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนนึงของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่าต่อเนื่อง
มาตรา ๔๙
ยกกำลัง๒๒ ให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทําหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทําการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น
มาตรา ๕๐
ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา
มาตรา ๕๑
ยกกำลัง๒๓ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กําหนดให้สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กําหนด
หมวด ๗ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๕๑/๑
ยกกำลัง๒๔ คําว่า “คณาจารย์” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทําหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
มาตรา ๕๒
ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกํากับและประสานให้สถาบันที่ทําหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมท้ังบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่
มาตรา ๕๓
ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกากับของกระทรวง มีอํานาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๕๔
ให้มีองค์กรกลางบริหารงํนบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่ การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอํานาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
มาตรา ๕๕
ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและ เหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
มาตรา ๕๖
การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๗
ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาโดยนําประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชํานาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
หมวด ๘ ทรัพยากรแล้วการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา ๕๘
ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน มาใช้จัดการศึกษาดังนี้
(๑) ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากร โดยการเก็บภาษีตามความเหมาะสม
(๒) ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรโดย
เป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการบริจาคและมีส่วนร่วมรับภาระ
ค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม
มาตรา ๕๙
ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจ
ในการปกครอง ดูแลบํารุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
มาตรา ๖๐
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อการศึกษาดังนี้
(๑) จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกัน
(๒) จัดสรรทุนการศึกษาในรูปของกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มี รายได้น้อยตามความเหมาะสม
(๓) จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ ให้เหมาะสมกับความจาเป็นสําหรับผู้เรียนที่มีความต้องการ
(๔) จัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายดําเนินการ โดยให้มีอิสระในการบริหารงบประมาณ ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงคุณภาพและความเสมอภาค
(๕) จัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
(๖) จัดสรรกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน เพื่อให้พึ่งตนเองได้
(๗) จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน
มาตรา ๖๑
ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ตามความเหมาะสมและความจําเป็น
มาตรา ๖๒ ให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพ
การใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา
หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา ๖๓
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนํา และโครงสร้างพื้นฐานอื่น
ที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง การสื่อสารในรูปอื่น ๆ
เพื่อใช้ประโยชน์สําหรับการศึกษา
มาตรา ๖๔
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตํารา
หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนา ขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต
มาตรา ๖๕
ให้มีการพัฒนําบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้
มาตรา ๖๘
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจาก
เงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกาไร ที่ได้จากการดําเนินกิจการ
ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๙
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทําหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย
แผนส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา ๓๓ยกกำลัง๘ สภาการศึกษามีหน้าที่
มาตรา ๓๔
ยกกำลัง๙ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย หลักสูตรการอาชีวศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มาตรา ๓๕
ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
มาตรา ๓๖
สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลและอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานในกํากับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา ๒๑ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ
มาตรา ๓๗
ยกกำลัง๑๒ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของสภาการศึกษา มีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
มาตรา ๓๘
ยกกำลัง๑๓ ในแต่ละเขตพื้นที่ ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๓๙
ยกกำลัง๑๘ ให้กระทรวงกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหาร เป็นไปตามที่กำหนดของกฎกระทรวง
มาตรา ๔๐
ยกกำลัง๑๙ ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา โดยจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีสรรหา การพ้นจากตำแหน่ง เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนะธรรม
(๔) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผน
(๒)พิจารณาเสนอนโยบาย แผน มาตราฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาให้เป็นไปตามแผน
(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากร
(๕) ให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้