Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
emergency situations and accidents, การได้รับวัคซีน, หัวข้อที่ 10…
emergency situations and accidents
Foreign body in ear/ eye/ throat
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
การดูแลเบื้องต้น
หามขยี้ตา ให้ลืมตาในน้ำสะอาด น้ำเกลือ 0.9% หรือ Boric acid 3% กรอกตาไปมาผงอาจหลุดออกมา
ถ้าผงอยู่ใน
เปลือกตาด้านล่าง
ให้ดึงเปลือกตาลางลงมาแลวใช้ผ้าสะอาดเขี่ยออก
ถ้าผงอยู่ใน
เปลือกตาด้านบน
ให้ดึงเปลือกตาบนลงมาทับเปลือกตาล่าง ขนของเปลือกตาล่างจะทำหน้าที่คล้าย แปรง ปัดเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา ถ้ายังไม่ออกต้องปลิ้นหนังตาบนออกแลวใช้มุมชายผ้าสะอาดเขี่ยออก
ในกรณีที่
ผงฝังในลูกตา
ให้หยอดด้วยน้ำมันมะกอก หรือของเหลวที่สะอาดและไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ให้หลับตา ใช้ผ้าปิดตา แล้วส่งโรงพยาบาล
กรณีที่ กรด-ด่าง เข้าตา
ที่ด่างจะละลายพวกสารประกอบพวกไขมันที่ผิวของลูกตา
ด่างแทรกซึมเข้าไปในลูกตาได้ลึกกว่าพวกกรด
มีฤทธิ์ไปทำใหโปรตีนที่ผิวของลูกตาตกตะกอน
อาการแสบตา น้ำตาไหลพราก เจ็บปวดตามาก ตาแดง เปลือกตาบวม ตาพร่ามัว
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ล้างตาทันทีด้วยน้ำสะอาด ขณะล้างตาให้แหวกตาผู้ป่วยให้กว้าง และบอกให้กรอกตาไปมาเพื่อล้างสารเคมีออก ให้มากที่สุด
ถ้าเป็นสารละลายกรด ให้ล้างนาน 30 นาที
สารละลายด่างควรล้างนานกว่า 1 ชั่วโมง
ในขณะเดียวกัน เตรียมจัดส่งไปโรงพยาบาล
ให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดขึ้ผึ้งป้ายตา เช่น ขึ้ผึ้งป้ายตาคลอแรมเฟนนิคอล ป้ายตาเพื่อป้องกันไม่ให้เปลือกตาติดกัน
ถ้ามีอาการปวดตามากให้รับประทานยาแก้ปวดทันที
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
อาจเป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่น ยุง มด หมัด เห็บ แมลงต่าง ๆ เข้าหู โดยเฉพาะในเด็กจะร้องไห้ ยิ่งแมลงขยับตัว หรือกัด จะเจ็บทุรนทุรายมาก หรือ
อาจไม่มีชีวิต เช่น กระดุม เมล็ดพืช
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ถ้าเป็น
สิ่งมีชีวิต
ใช้น้ำ (ควรเป็น
น้ำอุ่น
) หยอดเข้าไปในหูให้เต็ม แมลงจะคลานออกมา หรือตายแล้วลอยขึ้นมา แต่
ถ้าผู้ป่วยแก้วหูทะลุ ห้ามหยอดน้ำ
หรือฉีดน้ำเข้าไปเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบได้
กรณีใช้น้ำหยอดแล้วแมลงไม่ออกมาจะต้องตะแคงให้น้ำไหลออกให้หมด แล้วหยอดด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หรือ หยดอีเธอร์ลงไปเพื่อฆ่าแมลง
ถ้าไม่มีแอลกอฮอล์ หรืออีเธอร์
ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าวแทน
เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงกัดแก้วหู หรือใช้ Liquid paraffin
ถ้าแมลงนั้นตายและลอยขึ้นมาแล้ว ให้ใช้ไม้พันสำลีที่สะอาดทำความสะอาดหูข้างนั้นถ้าแมลงนั้นตายและไม่ลอยขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเพราะแมลงตัวใหญ่ ควรนำส่งโรงพยาบาล
กรณีที่ไม่มีชีวิต ให้ตะแคงหูข้างนั้น อาจหลุดออกมาเอง นำส่งโรงพยาบาล ในรายที่ไม่ออก ไม่พยายามเขี่ยออก เพราะจะยิ่งทำให้วัตถุเลื่อนลงไปอีก
สิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
สิ่งแปลกปลอมที่ติดคอ
ก้างปลา กระดูกไก่ สตางค์ หรือฟันปลอม
ติดได้ตั้งแต่ปาก โคนลิ้น ต่อมทอนซิล มักเป็นพวกก้างปลา
อาจจะลงในหลอดอาหารส่วนบน ซึ่งอาจไม่เกิดอาการผิดปกติได้
ถ้าเข้าหลอดลมอาจทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน และตายได้
กรณีติดคอ จะมีอาการเจ็บเวลากลืน หรือ เจ็บคอมากเวลากลืน
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ซักประวัติเกี่ยวกับวัตถุแปลกปลอมให้แน่ใจคืออะไร
ให้ผู้บาดเจ็บอ้าปากกว้าง ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจน ให้ใช้ไม้กดลิ้นที่พันผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด กดที่โคนลิ้นแล้ว ใช้ปากคีบ (forceps) คีบสิ่งแปลกปลอมออกมา สวนมากมักจะติดอยู่ที่ข้าง ๆ ต่อมทอนซิล
ถ้าเป็นก้างหรือกระดูกขนาดเล็ก ให้ดื่มน้ำมาก ๆ กลืนก่อนข้าวสุก หรือกลืนขนมปังนุ่ม ๆ สิ่งแปลกปลอม จะหลุด ไปในกระเพาะอาหาร
ห้ามใช้มือแคะ หรือล้วง เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่บวม แดง และเอาออกยากขึ้น อาจมีการอักเสบและติดเชื้อตามมาได้
ถ้ามองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมเลย ควรนำส่งโรงพยาบาล แพทย์จะส่องกล้องและใช้คีมคีบออกมา กรณีเข้าหลอดลม ผู้ป่วยจะมีอาการสำลักอย่างรุนแรง ไอ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง ถ้ามีการอุดตันมาก จะพบอาการตัวเขียว ปลายมือ ปลายเท้าเขียว
ช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมออก
6.1 ในกรณีเป็นเด็กเล็ก ให้จับเด็กห้อยศีรษะและตบบริเวณกลางหลัง
6.2 ถ้าเปนเด็กโต ให้จับนอนคว่ำพาดบนตักผู้ใหญ่ โดยให้ศีรษะของเด็กหอยต่ำกว่าลำตัว แล้วตบบริเวณกลางหลัง
6.3 ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ให้จับนอนคว่ำพาดลำตัวกับโต๊ะหรือเก้าอี้ แล้วห้อยส่วนศีรษะลงต่ำกว่าลำตัว ใช้มือทั้งสองข้าง ยันพื้นไว้หรือมีคนช่วยจับ แลวตบบริเวณกลางหลัง
6.4 ถ้าเป็นคนอ้วนหรือหญิงมีครรภ์ ให้วางมือบริเวณกึ่งกลางหน้าอกเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย ผู้ปฐมพยาบาลอยู่ด้านหลังของผู้ป่วย ให้กดแรง ๆ บริเวณหน้าอกติดต่อกัน 6-10 ครั้ง
6.5 กรณีหมดสติให้นอนหงาย วางโคนฝ่ามือถัดจากซี่โครงซี่สุดท้าย วางอีกมือข้างบน กดแรง ๆ เข้าด้านในและ ขึ้นข้างบน 5 ครั้ง
หลังจากเอาสิ่งแปลกปลอมออก ให้นำส่งโรงพยาบาล และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดขณะนำส่ง
Exposure to toxin
การได้รับสารพิษ หมายความถึง สารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยการรับประทาน สูดหายใจ สัมผัสทางผิวหนัง หรือ ฉีด ผ่านทางผิวหนังเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดอันตราย พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้อาจเกิดจากความจงใจ เช่น ฆ่าตัวตาย หรือจากอุบัติเหตุ รู้เท่าไมถึงการณก็ได้
ชนิดของสารพิษ
สารที่ทำให้เกิดพิษตอมนุษย์มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ กัน อาจเป็นพิษจากสัตว์ เช่น งูพิษ ผึ้ง แมงป่อง พิษจากพืช เช่น เห็ดพิษ ลำโพง ยางนอง พิษจากแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ฟอสฟอรัส สารหนู และสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยา อันตราย รวมทั้งสารสังเคราะห์ ที่ใช้ในครัวเรือนจำพวกน้ำยาฟอกขาว น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น
จำแนกสารพิษจากแหล่งต่าง ๆ ตามลักษณะการออกฤทธิ์ เป็น 4 ชนิด
ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive)
ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants)
ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics)
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Deliriants)
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้น ชีพจรเต้นเร็ว ม่านตาขยาย ได้แก่ Atropine ลำโพง
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน พิษจากงูเห่า งูจงอาง เป็นต้น
ทำให้เจ็บปวด ปวดแสบปวดร้อนและมีอาการอักเสบต่อมา ได้แก่ ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้พอง ได้แก่ สารละลายกรด-ด่าง น้ำยาฟอกขาว ยาฆ่าหญ้าพาราควอท
สารพิษจากการรับประทาน
เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน ส่วนมากเป็นพวกอาหารเป็นพิษ บูดเน่า เห็ดมีพิษ ทำให้มีอาการ ไม่สบาย ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องร่วง
พวกกรดหรือด่างอย่างแรง เมื่อดื่มหรือรับประทานเข้าไป จะกัดทำลายเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ริม ฝีปาก จนถึงกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลไหม้บริเวณปาก ลิ้น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร มีอาการเจ็บปวดรุนแรง อาเจียนออกมาเป็นเลือดสีดำ
พวกยาเบื่อหนู เบื่อสุนัข และยาฆ่าแมลง เป็นสารที่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อโดยตรง แต่ทำให้มีอาการกระวนกระวาย เพ้อ หายใจลำบาก ผิวหนังแห้ง และร้อน ชีพจรเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็ง และชักได้
พวกสารกดประสาท เมื่อรับประทานเข้าไปแรกๆ จะรู้สึกตื่นเต้นชั่วคราว ต่อมาจะเซื่องซึม หายใจช้า มีเสียงกรน ผิวหนังเย็นชื้น หน้าและมือเขียวคล้ำ กล้ามเนื้อปวกเปียก ได้แก่ พวกฝิ่น มอร์ฟีน ยานอนหลับ แอลกอฮอล์ เป็นต้น
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ผู้ช่วยเหลือ
ต้องประเมินว่าผู้ป่วยรับสารพิษเข้าไปหรือไม่
โดยดูจากอาการและสิ่งแวดล้อม ที่พบผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น
พบในห้องครัว มีภาชนะบรรจุสารพิษอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อหาชนิดของสารที่รับประทานเข้าไป หรือ เก็บตัวอย่างอาเจียนไปให้แพทย์ตรวจ
ทำให้สารพิษเจือจาง
นำส่งโรงพยาบาลภายใน 15 นาที
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
เพื่อเอาสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งไปโรงพยาบาล ผู้ช่วยเหลือ ต้องขจัดเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหารที่ยังไม่ได้ดูดซึมเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย การทำให้อาเจียนมีหลายวิธี
ใชนิ้วชี้หรือด้ามช้อนล้วงกวาดลำคอให้ลึก หรือให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ แลวล้วงคอ
ใช้น้ำเกลือแกง 2 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แกว หรือผงมาสตาร์ด 2 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วให้ดื่มให้หมดใช้น้ำอุ่นละลายสบู่พอสมควร (ห้ามใช้ผงซักฟอก) ใช้ในกรณีรับประทานสารปรอท แต่
การทำให้อาเจียน
อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ จึง
ห้ามทำในผู้ป่วยต่อไปนี้
ห้ามทำให้อาเจียน ใน
:red_cross:หมดสติ หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว
:red_cross:
รับประทานสารพิษชนิดกัดเนื้อ
เช่น กรด-ด่าง ซึ่งจะพบรอยไหม้แดงบริเวณปาก การอาเจียนจะเป็นการทำให้ สารพิษย้อนกลับขึ้นมาทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของหลอดอาหารและปาก เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น
:red_cross:รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสน เป็นต้น
:red_cross:สุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
ดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร
เป็นการลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal ลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ให้ใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 แก้ว ให้ผู้ป่วยดื่ม หรือ ไข่ขาว 3-4 ฟองตีให้เข้ากัน หรือแป้งสาลีละลายน้ำ หรือ น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันสลัด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
จะได้ช่วยล้างท้องเอาสารพิษนั้นออกจากกระเพาะอาหาร
ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและไม่มีอาการชัก โดยการให้ดื่มน้ำซึ่งหาง่ายที่สุด
ถ้าดื่มนมจะดีกว่า เพราะว่านอกจากจะช่วยเจือจางแล้วยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร
ถ้ากินสารพิษที่เป็นกรดอย่างแรงเข้าไป ให้ดื่มด่างอ่อน ๆ เช่น น้ำปูนใส ผงชอล์คละลายน้ำ หรือถ้ากินด่างอย่างแรงเข้าไป ก็ให้ดื่มกรดอ่อน ๆ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว เป็นต้น
Bites & Strings: Animals
:!!:
งูกัด
หากถูกงูกัด ควรตีงูให้ตายแล้วเก็บซากไปให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด จะได้ใช้เซรุ่มตามพิษงู ฉีดถูกชนิดและให้สังเกตรอยงูกัด ถ้าเป็น
รอยงูกัดของงูพิษ จะปรากฏรอยเขี้ยวงูเป็น 2 จุด อาจเป็นรอยลากยาว ขณะกระชากหนี หรืออาจพอง เป็นถุงน้ำ
ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว
พิษของงู มี 3 ประเภทขึ้นอยูกับชนิดของงู
Neurotoxin
Hematotoxin
Mytotoxin
อาการ
เริ่มแรก ปวดกลามเนื้อ ต่อมาปัสสาวะสีแดงคล้ำ จากกล้ามเนื้อถูกทำลาย ตามด้วยไตวาย และหายใจล้มเหลว
อาการ
เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ตายในที่สุด
อาการ
เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และตายในที่สุด
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ :red_cross:ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล
บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ :red_cross:ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรแน่นพอสอดนิ้ว มือได้ 1 นิ้ว
การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ
การห้ามเลือดควรใช้ผาสะอาดกดแผลโดยตรง
พยายามเคลื่อนไหวร่างกายใหน้อยที่สุด เพราะเคลื่อนไหวมากทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำหรือระดับเดียวกับหัวใจ
ให้ยาแก้ปวดได้ แต่ :red_cross: ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า
ข้อควรระวัง
อาการของพิษงูเกิดได้ตั้งแต่ 15-30 นาที หลังถูกกัด หรือ อาจนานถึง 9 ชม. จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง
การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนใหญ่ทำมาจากม้า ซึ่งอาจแพ้ได้ จึงควรฉีดต่อเมื่อมีอาการของพิษงูเท่านั้น
:!!:
สัตวมีเหล็กในกัดต่อย
สัตวพวกผึ้ง แตน ต่อ หมาร่า มดตะนอย
มีเหล็กใน และจะมีต่อมน้ำพิษ
อาการ
เจ็บ ปวด และบวมตรงบริเวณที่ถูกต่อย ถ้ายังไม่ดึงเหล็กในออก กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกต่อยจะหดตัวต่อไปอีก 2-3 นาที ทำให้ เหล็กในฝังตัวลึกอีก และน้ำพิษจะถูกปล่อยเข้าไปเพิ่มมากขึ้น อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ ลมพิษ หอบหืด อาเจียน คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการหายใจไม่ออก และช็อกได้จนถึงเสียชีวิตได้ในที่สุด
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ให้รีบเอาเหล็กในออก โดยใช้ใบมีดขูดออกหรือใช้เทปใสปิดทาบแล้วดึงออก เหล็กในจะติดออกมา
ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำและสบู่ เช็ดให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ถ้ามีอาการปวดมาก ก็ประคบด้วยความเย็น เพื่อลดอาการปวด เมื่ออาการทุเลาลง
ทาบริเวณที่ถูกต่อยด้วย antihistamine cream จะบรรเทาอาการบวมแดงได้มาก
ถ้าแพ้พิษจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออก หน้าเขียว ความดันโลหิตต่ำลงและช็อค กรณีเช่นนี้ต้องใช้สายรัด รัดเหนือบริเวณที่ถูกต่อย ถ้าสามารถทำได้ จนกระทั่งอาการแพ้หมดไป ขณะเดียวกันก็รีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อรู้ว่ามีอาการแพ้พิษดังกล่าว
:!!:
สัตวเลี้ยงลูกด้วยนมกัด
โรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัดที่สำคัญคือโรคพิษสุนัข 🐶
อาการของสุนัขที่เป็นพิษสุนัขบ้า
แบ่งเป็น 3 ระยะ
🐶ระยะอาการนำ
🐶ระยะตื่นเต้น
🐶ระยะอัมพาต
จะเกิดอัมพาตทั่วตัว ถ้ามีอาการอัมพาตสุนัขจะตายใน 24 ชม. รวมระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงตาย ไม่เกิน 10 วัน ส่วนใหญ่จะตายใน 4-6 วัน
เป็นอาการทางระบบประสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง กัดทุกอยางที่ขวางหน้า ตัวแข็ง น้ำลายไหล ลิ้นหอย ต่อมามีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ขึ้น ระยะนี้พบได้ 1-7 วันก่อนเข้าระยะท้าย
จะซึมลง กินข้าวและน้ำน้อยลง ระยะนี้กินเวลา 2-3 วัน ก่อนเข้าระยะที่สอง
👨👩👦
อาการพิษสุนัขบ้าในคน
3 ระยะ ดังนี้
👩🏻ระยะอาการนำ
👩🏻ระยะอาการทางระบบประสาท
👩🏻ระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เข้าสู่ระยะโคม่า
อาการกลัวน้ำ
จะมีอาการตึงแน่นในลำคอ กลืนอาหารแข็งได้ แต่กลืนอาหารเหลวลำบาก เวลากินน้ำจะสำลัก และเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อในลำคอกระตุกเกร็ง ร้องโหยหวนคลายหมาเห่าหอน เพราะกล้ามเนื้อควบคุมสายเสียงเป็น อัมพาต
อาการกลัวลม
ผู้ป่วยจะสะดุ้งผวาเมื่อถูกลมพัด
อาการประสาทไว
ผู้ป่วยจะกลัว สะดุ้งเกร็งต่อสัมผัสต่างๆ ไม่ชอบแสงสว่าง
อาการคลุ้มคลั่งประสาทหลอน
ผู้ป่วยอาจอาละวาด ดุร้ายน่ากลัว
อาการอื่น ๆ
อัมพาต
จะเริ่มมีไข้ อ่อนเพลียคล้ายเป็นไข้หวัด อาจมีปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน อาการที่แปลกไป คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลง กังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และในคนไทย พบว่ามีอาการคันรอบ ๆ บริเวณที่ถูกกัด หรือ คันแขน ขาข้างที่ถูกกัด อาจมีอาการชา เจ็บเสียวรอบๆ บริเวณที่ถูกกัด
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลาย ๆ ครั้ง พยายามล้างให้เขาถึงรอยลึกของแผล ถ้าไม่มีสบู่ใช้ผงซักฟอกแทนก็ได้
ทำความสะอาดซ้ำดวยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น alcohol 70%
ถ้าแผลฉกรรจ์มีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดออกก่อนระยะหนึ่ง เพื่อล้างน้ำลายซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสออก
ถ้าสามารถเฝ้าดูอาการสัตว์ (กรณีที่มีเจ้าของ) ควรกักขังและเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 10 วัน
กรณีที่สัตว์ตาย ควรนำส่งเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย
ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันบาดทะยักทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตว์มีอาการก่อน
Jellyfish dermatitis
แมงกะพรุนตามระดับพิษ
พิษอ่อน
มีผื่น, คัน
ให้ใช้ น้ำส้มสายชู หรือน้ำทะเลล้างได้
กะพรุนหนัง, ลอดช่อง, หอม
พิษปานกลาง
เจ็บแปล๊บ เป็นรอยไหม้
กะพรุนไฟ
พิษร้ายแรง
เจ็บรุนแรง ช็อค เสียชีวิตได้
กะพรุนกล่อง/กะพรุนสาหร่าย
:fire:กะพรุนขวดเขียว/ หมวกโปรตุเกส
:red_cross:ห้ามใช้น้ำส้มสายชู
:check: น้ำทะเลล้างแรง ๆ น้ำร้อน
REFER
:forbidden: ห้ามสัมผัสแมงกะพรุน
Tetanus vaccine
👩🏻🧑🏻ในผู้ใหญ่
ให้ฉีด diphtheria-tetanus toxoids (dT)
แทน tetanus toxoid (TT) เสมอ
ฉีดทุก 10 ปี
กรณีเคยได้รับ ครบ 3 เข็ม
ไม่เคยได้รับ
ให้ฉีด 3 เข็ม
ที่ 0
4-8 weeks
6-12 months
มาไม่ตรงนัด ฉีดเข็มต่อไปได้เลย ไม่ต้องนัดใหม่
🤰🏻ในหญิงตั้งครรภ์
เคยได้ dT มาแล้ว 1 เข็ม
ฉีด dT อีก 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือนระหว่างตั้งครรภ์
เคยได้ dT มาแล้ว 2 เข็ม
ให้ฉีดอีก 1 เข็ม ระหว่างตั้งครรภ์
ได้ครบ 3 เข็ม
แต่เข็มสุดท้ายนานเกิน 5 ปี
ให้ฉีด dT กระตุ้น 1 เข็ม
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
กรณี
Rabies vaccine
การฉีดวัคซีนภายหลังสัมผัสโรค
การสัมผัสที่ไม่ติดเชื้อ: ผิวหนังผู้สัมผัสไม่มีบาดแผล หรือรอยถลอก ไม่ต้องฉีดวัคซีน
การสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อ: สัมผัสน้ำลาย สารคัดหลั่งของสัตว์ หรือมีรอยถลอก
ฉีดวัคซีนทันที หากเป็นสัตว์ที่
1) มีอาการผิดปกติไปจากเดิม
2) สัตว์จรจัด
3) ผล DFA ของสมองสัตว์ เป็น บวก
4) ผล DFA ของสมองสัตว์ เป็นลบ แต่สัตว์มีอาการผิดปกติก่อนตาย
5) ถูกกัดบริเวณใบหน้า ลำคอ มือ แผลลึก หลายแผล
รอการฉีดวัคซีน โดยดูอาการของสัตว์ หากสัตว์ที่กัดมีอาการ 1) ปกติ 2) ได้รับวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดไม่เกิน 1 ปี 3) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีโอกาสสัมผัสสัตว์อื่นน้อย
ไม่ต้องฉีด RIG กรณี 1) ผู้สัมผัส ได้รับการฉีดแบบล่วงหน้ามาก่อนอย่างน้อย 3 เข็ม 2) ผู้สัมผัส ได้รับวัคซีนมา เกิน 7 วัน เพราะ RIG จะไปกดการสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
ฉีดก่อนสัมผัสโรค
1 เข็ม
IM
ID
0.1 ml.
ต้นแขน/ deltoid
day 0, 7, 21, 28
การได้รับวัคซีน
น้อยกว่า 3 ครั้ง/ไม่ทราบ
3 ครั้งขึ้นไป
หัวข้อที่ 10 อันตรายจากสิ่งแปลกปลอม
โดย นางสาวจันทกานติ์ 6310410023 ตอน 01
แผลสะอาด
dT
1 เข็ม ถ้าเข็มสุดท้าย
เกิน 10 ปี
แผลสกปรก
TIG
3 เข็ม (0,1,6 m.)
1 เข็ม
1 เข็ม ถ้าเข็มสุดท้าย
เกิน 5 ปี
พิษสุนัขบ้า
3 เข็ม (0,1,6 m.)
dT