Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การชักนำการคลอด (Induction of labor), 8, 8, 8 - Coggle Diagram
การชักนำการคลอด (Induction of labor)
ความหมาย
การชักนำการคลอด คือ การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยการก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการคลอดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 1,000 กรัม โดยทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัวหรือทำให้ปากมดลูกนุ่ม ซึ่งในขณะนั้นผู้คลอดยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติเกิดขึ้น
ผลกระทบ
ภาวะเเทรกซ้อนต่อทารก
1.1 ทารกคลอดกำหนด จากความผิดพลาดในการคะเนอายุครรภ์
1.2 ทารกขาดออกซิเจนจากมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
1.3 อันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเจาะถุงน้ำ เช่น สายสะดือย้อย การติดเชื้อ การเจาะถูกเส้นเลือดที่ทอดอยู่บนถุงบริเวณที่เจาะ (vasa previa)
1.4 ภาวะตัวเหลือง เกิดได้น้อยในรายที่ได้ oxytocin มากหรือนานเกินไป
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
2.1 มดลูกแตกจากการหดรัดตัวที่มากหรือแรงเกินไป
2.2 การคลอดที่เร็วเกินไป อาจทำให้ปากมดลูกหรือช่องคลอดฉีกขาดได้
2.3 การติดเชื้อในโพรงมดลูกถ้าระยะเวลาตั้งแต่เจาะถุงน้ำจนกระทั่งคลอดนานเกินไป
2.4 การตกเลือดหลังคลอด จากการที่มดลูกอ่อนล้า
2.5 อาจเกิด Amniotic fluid embolism ได้ในขณะที่เจาะถุง
2.6 ภาวะแทรกช้อนจากการให้ยา เช่น prostaglandins (ไข้ คลื่นไส้ ท้องเสีย แต่ขนาดที่ใช้ชักนำการคลอดพบผลข้างเคียงน้อยมาก) Nitric oxide (เวียนศีรษะ ใจสั่น ความดันโลหิตลดต่ำลง)
การพยาบาล
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดโดยใช้ยา
1.1 การพยาบาลก่อนให้ยา
1.1.1 อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจถึงขั้นตอนการให้ยาและการปฏิบัติตัวก่อนให้และขณะให้ยาเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้ยา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ซักถามและตอบคำถามจนผู้คลอดเข้าใจ
1.2 เตรียมยาและสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
1.2 การพยาบาลขณะให้ยา
1.2.1 ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
1.2.2 กรณีได้รับการชักนำการคลอดด้วยยาในกลุ่ม Prostaglandins
2) ฉีดหรือเหน็บ PGE2 (Dinoprostone) เข้าไปในช่องคลอด ถ้าเป็น intracervical gel และ Intravaginal gel หลังให้ยาต้องให้ผู้คลอดนอนหงายราบ
ที แต่ถ้าเป็น Controlled-released vaginal insertion หลังให้ยาต้องให้นอนหงายราบอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
3) เหน็บยาในกลุ่ม PGE 1 (Misoprostol หรือ Cytotec) ทางช่องคลอด หลังเหน็บยาจะต้องให้นอนยกกันสูงอย่างน้อย 30 นาที
4) ประมินการหดรัดตัวชองมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก 15-30 นาที
5) ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงหรือบ่อยขึ้นตามความเหมาะสม
6) ประเมินอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นที่เกิดจากผลข้างเคืองของยา เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ท้องเสีย หลอดลมตีบ เป็นต้น
เเนวทางการรักษา
8
8
8