Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 การประเมินสุขภาพทารกในครรภืการวินิจฉัยและการแปลผล - Coggle…
หน่วยที่ 1 การประเมินสุขภาพทารกในครรภืการวินิจฉัยและการแปลผล
Biochemical Assesment
การตรวจ Triple test เป็นการตรวจเลือดมารดาหา AFP,hCG,Estriol โดยจะมีความเข้มข้นสูดสุดที่สัปดาห์ที่ 13 นิยมทำในอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์
Chorionic Villi Sampling : CVS
การตัดชิ้นเนื้อรก เป็นการตัดชิ้นเนื้อรกหรือดูดเนื้อรกบางส่วนมาเพื่อวิเคราะห์โรคของทารกในครรภ์ ทำในรายที่มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางโครโมโซม จะตรวจเมื่ออายุครรภ์ที่ 9-12 สัปดาห์
การพยาบาลขณะทำ CVS
ก่อนทำ
อธิบายและให้คำปรึกษาแก่มารดา
การเตรียมอุปกรณ์
ขณะทำ
จัดท่านอนหงายราบ
เตรียมหน้าท้องด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
หลังทำ ปิดก๊อสปลอดเชื้อให้เเน่น นอนพักสังเกตอาหาร 1-2 ชม.
หลังทำ
ให้คำเเนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
นอนพักผ่อน 24 ชม.
งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-3 วัน
Amniocentesis
การเจาะดูดน้ำคว่ำ การใช้เข็มแทงผ่านผนังหน้าท้องและผนังมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคว่ำ เพื่อดูดเอาน้ำคว่ำออกมาส่งตรวจวิเคราะห์เซลล์ทางพันธุศาสตร์ เพื่อวินิจฉัยโรคกลุ่มพันธุกรรมก่อนคลอด จะตรวจเมื่ออายุครรภ์ 15-18 สัปดาห์นิยมทำในเเม่อายุมากกว่า 35 ปี ใช้เวลาในการรอผลประมาณ 2-4 สัปดาห์
ภาวะเเทรกซ้อน เกิดการอักเสบในช่องท้องเพราะอาจจะเจาะทะลุลำไส้ , มีการตกเลือดในช่องท้อง , การสูญเสียทารก
การพยาบาลขณะทำ CVS
ก่อนทำ
อธิบายและให้คำปรึกษา
การเตรียมอุปกรณ์
ขณะทำ
จัดท่านอนหงายราบ
เตรียมหน้าท้องด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
หลังทำ ปิดกีอสปลอดเชื้อให้เเน่น นอนพักสังเกตอาการ 1-2 ชม.
หลังทำ
ให้คำเเนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
นอนพักผ่อน 24 ชม.
งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-3 วัน
Cordocentesis
การเจาะเลือดที่สายสะดือทารก เป็นวิธืหนึ่งในการเจาะดูดเลือดทารกในครรภ์ จะนิยมเจาะที่ขั้วสะดือเพราะมีความนิ่งที่สุด จะทำเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 18 สัปดาห์ จะได้ผลตรวจประมาณ 72 ชม. ทำในกลุ่มเเม่ที่เป็นธารัสซีเมียขั้นรุนเเรง
ภาวะเเทรกซ้อน รกลอกตัว , สูญเสียทารก , Preterm , Aruption
Biophysical Assessment
Fetal Movement Count
การนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หลักการนับเด็กดิ้น เด็กควรดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้งภายในเวลา 12 ชม. ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้งควรรีบมาโรงพยาบาลทันที
Sadovsky & Wood นับใน 12 ชม. เช้า เที่ยง เย็น ในเวลา 1 ชม. แปลผลเป็น 3 ครั้งเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 10 ครัั้ง ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชม. 2 วันติดต่อกันเเสดงว่าเกิดอันตรายควรให้รีบคลอด
ถ้าทารกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้ง ในเเต่ละช่วงควรนับต่อไป
Neldam นับ 2 ชม. นับจำนวนทารกดิ้นหลังมื้ออาหาร 3 เวลา โดยนับลูกดิ้นหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1 ชั่วโมง หลังอาหารทุกมื้อ 3 วันต่อสัปดาห์ เกณฑ์ ถ้าดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อมื้อ ให้ตรวจ NST หรือ Biophysical profile
Pearson & Weaver เกณฑ์ 10 ครั้งต่อวันนับตั้งเเต่ 9:00 น. ทุกวัน จับเวลาว่านานเท่าไหร่ทารกดิ้นครับ 10 ครั้ง ถ้าใช้เวลามากขึ้นเเสดงว่าสุขภาพเด็กไม่ดีและใน 12 ชม. ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งเเสดงว่าอันตราย
Ultrasound
ประโยชน์คลื่นเสียงความถี่สูง
อายุครรภ์ 5-7 สัปดาห์นิยมใช้ Gestationalsac
อายุครรภ์ 7-14 สัปดาห์ใช้การวัด Crown - Rump Length (CRL)
อายุครรภ์ 14-26 สัปดาห์และในไตรมาสที่ 2 ใช้การวัด Biparietal Diameter (BPD)
Non Stress Test : NST
เป็นการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง วิธีนี้อาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ ดู fetal heart rate variability ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติต่อสิ่งกระตุ้น โดยมีการใช้มาก่อนในการตรวจสุขภาพทารกในระยะคลอด และต่อมาได้นำมาใช้ในระยะก่อนคลอด และตรวจด้วย electronic fetal monitoring ดู FHR pattern
การแปลผล
Reactive
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงการตรวจ 20 นาที ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ให้ลดเกณฑ์ลง ให้มีการเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 bpm และนานกว่า 10 วินาที โดยที่ FHR baseline อยู่ในช่วง 110-160 bpm และ baseline variability อยู่ในช่วง 5-25 bpm
Non-reactive
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
Contraction Stress Test : CST
FHR baseline ทารกปกติจะอยู่ระหว่าง 110-160 bpm
FHR variability คือ การแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ ถ้าเป็นความแปรปรวนระหว่างการเต้นแต่ละครั้ง เรียกว่า beat to beat variability หรือ short term variability แต่ถ้าเป็นความแปรปรวนของ baseline FHR ในแต่ละช่วงเวลา เรียกว่า long term variability
Contraction Stress Test จะทำเมื่อใด เมื่อ Nonstress Test ได้ผล Nonreactiveเมื่อผลของการตรวจ Biophysical profile ได้คะแนนต่ำเมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
การตรวจ Contraction Stress Test แพทย์จะวัดการบีบตัวของมดลูกโดยพันก๊อซรอบผนังหน้าท้องของมารดาหัวใจของทารกจะถูกวัดจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารก และการบีบตัวของมดลูก ผลจะแสดงเป็นรูปกราฟสองเส้นแยกจากกัน
การแปลผล
Negative:
หากในระหว่างการตรวจไม่มีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีสุขภาพดี
Positive:
หากในระหว่างการตรวจมีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีความผิดปกติบางอย่างหลังจากการตรวจ Contraction Stress Test จะต้องมาตรวจซ้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ หากผล Positive มารดาอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล หากทารกมีสุขภาพไม่แข็งแร็งโดยที่ไม่สามารถแก้ไขได้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการคลอดก่อนกำหนดโดยเร็วที่สุด
Absent variability คือ ไม่มีความแปรปรวนของ FHR เมื่อมองด้วยตาเปล่า สัมพันธ์กับภาวะ asphyxia ของทารกในครรภ์สูง
Minimal variability คือ สังเกตเห็นความแปรปรวนของ FHR ได้แต่มีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 bpm สัมพันธ์กับภาวะ acidosis ของทารกในครรภ์ แต่อาจไม่มี asphyxia ก็ได้
Moderate (normal) variability คือช่วงขนาดของความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 6-25 bpm มักพบในทารกปกติ
Marked variability คือ ความแปรปรวนของ FHR มากกว่า 25 bpm สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ และยังเป็นการตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจน
FHR acceleration คือ การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างฉับพลัน มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที แต่น้อยกว่า 2 นาที แต่ถ้านานกว่า 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาที จัดเป็น prolonged deceleration แต่ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยลดลงเป็น เพิ่มขึ้น 10 bpm นานกว่า 10 วินาที
FHR deceleration คือ การลดลงของ FHR ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด
Early deceleration คือ การลดลงของ FHR อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่ baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก โดยจุดตั้งต้นของการลดลงของ FHR จุดต่ำสุด และการกลับคืนสู่ baseline จะตรงกับจุดเริ่มต้นของการหดรัดตัวของมดลูก จุดสูงสุด และการคลายตัวของมดลูกกลับคืนสู่ baseline ตามลำดับ ใช้เวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่ำสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที
Variable deceleration คือ การลดลงของ FHR อย่างฉับพลัน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า โดย FHR จะลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm คงอยู่นานมากกว่าหรือเท่ากับ 15 วินาที และไม่นานเกิน 2 นาที โดยอาจจะสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกหรือไม่ก็ได้ การลดลงของ FHR ใช้เวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่ำสุดน้อยกว่า 30 วินาที
Late deceleration คือ การลดลงของ FHR อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่ baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก โดยจุดตั้งต้นของการลดลงของ FHR จุดต่ำสุด และการกลับคืนสู่ baseline จะเกิดช้ากว่าจุดเริ่มต้นของการหดรัดตัวของมดลูก จุดสูงสุด และการคลายตัวของมดลูกกลับคืนสู่ baseline ตามลำดับ การลดลงของ FHR จะใช้เวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่ำสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที
Biophysical Profile
การเเปลผล
8-10 คะแนน โดยที่ปริมาณน้ำคร่ำปกติ แปลผลว่าทารกในครรภ์ยังปกติดี ไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอด โอกาสเกิด asphyxia ใน 1 สัปดาห์ น้อยกว่า 1 ใน 1000
6-8 คะแนน ให้พิจารณาตามปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปกติ โอกาสเกิด asphyxia น้อย แต่ต้องตรวจ BPP ซ้ำใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าน้ำคร่ำน้อย โอกาสเกิด asphyxia สูงขึ้น
0-4 คะแนน ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ควรรีบให้คลอด