Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 - Coggle Diagram
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
หมวด 1 บททั่วไป
มาตราที่6
การจัดก่รศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มาตราที่7
กระบวนการเรียนรู้ต้องมั่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัริทรงเป็นประมุข
มาตราที่8
การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก
(1) การศึกษาตลอดที่ชีวิต
(2)ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3)พัฒนาสาระและการเรียนรู้ให้เป็นอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 9
การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา
(1)มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลาย ในการปฏิบัติ
(3)มีการกำหนดทาตราฐานการศึกษา
(2)มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื่นที่การศึกษา
(4)มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจาร์ย บุคลากรทางการศึกษา
(5)ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6)การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
หมวด3 ระบบการศึกษา
มาตรา 16 การศึกษาในระบบมีสองระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา แบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยเด็กมีอายุย่างเข้าเจ็ดปี เข้าเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าสิบหกปี
มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา
1.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา
2.โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่นๆ
3.ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน เป็นต้น
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ
การศึกษาในระบบ ที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
การศึกษานอกระบบ มีการยืดหยุ่นในการกำหนดจุดหมาย รูปแบบ วิธีการ ระยะเวลา การวัดและประเมินผล
การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วนตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส
มาตรา 19 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาลัย สถาบันวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียนกชื่ออย่างอื่น
มาตรา 20 การจัดการอชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 21 กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐอาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้ โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
หมวด 2 สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับ การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เกินค่าใช้จ่าย
มาตรา 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17
มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคลกร ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตร บุคคลที่อยู่ในความดูแล
2.เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลครอบครัวจัดให้
3.การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา14บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสทะฺได้รับสิทธิประโยชน์ตามควร
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ ความรู้ คุณธรรม
1.ความรู้เกี่ยงกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
2.ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
4.ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา
5.ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
1.จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียนแต่ละบุคคล
2.ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
3.จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็น เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4.จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
5.ส่งเสริมให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
6.จัดการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
มาตรา 28
หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
หลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคที่สองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง และการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนจัดการศึกษาอบรม แสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา59
ให้สถานศึกษาของรัฐเป็นนิติบุคคลมีอำนาจในการปกครอง
มาตรา58
ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน
มาตรา60
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในบานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มาตรา61
ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรเอกชน
มาตรา62
ให้มีระบบตรวจสอบ ติดตาม และประเมินสิทธิภาพและประสิทธิพลการใช่จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษา
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ แต่ไม่รวมการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มาตรา 32
การจัดระเบียนบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปคณะกรรมการจำนวนสามองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน กำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
การจัดระเบียบราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 33 สภาการศึกษามีหน้าที่
1.พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬาทุกระดับการศึกษา
2.พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตามข้อ1
3.พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตามข้อ1
5.ให้ความเห็นหรือค่าแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ
มาตรา 34
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ
มาตรา 35
องค์ประกอบของคณะกรรมการตามมาตรา 34 ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทน องค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ
มาตรา 36 ให้สถานศึกษาของรัฐ จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุตร และอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา 23
มาตรา 37
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้
(1) การจัดการพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจสติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
(2) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
(3) การจัดการศึกษาพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศีกษา
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาชั้นพื้นฐาน จํานวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและ ความเหมาะสมด้วย เว้นแต่การจัดการการมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการยารักษา
มาตรา 38 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและสบสนุนกิจการของสถานศึกษา
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น
มาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการ จัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมี การติดตาม การประมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ
มาตรา 44 ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตรา 18 (2) เป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์ชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา 45 ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท การศีกษาตามที่กฏหมายกำหนด โดยรัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนในด้านการศึกษา
มาตรา 46 รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการยกเว้น ภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความ เหนาะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชนนีมาตรฐานและสามารถ พึ่งตนเองได้
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา63
รัฐต้องจรรดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาทั้งในและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา64
รัฐต้องส่งเสริมและการสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์
มาตรา65
มีการพัฒนาบุคคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา66
ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 68
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ
มาตรา 69
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัย
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการ ประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะ เป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา
มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 51 คำว่า “คณาจารย์” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาน
มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชา พครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศีกษามีฐานะเป็นองค์กร สระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ใน บายกระทรวง มี านาจหน้าทีาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบชา พ ากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
มาตรา 54 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระบบพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลรองข้าราชการครู
มาตรา 55 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่น สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้ที่ เหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจาร และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณชเชีย
มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความจํานาญ และภูมิปัญญาของบุคคลดังกล่าวมาใช้
สมาชิกในกลุ่ม
1.น.ส.กรองกมล ยอดหนู
รหัส 664110010
2.น.ส.ปริณดา คุ้มตะบุตร
รหัส 66411012
3.น.ส.ฮานีฟา กาซอ
รหัส 664110029