Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร - Coggle Diagram
สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
นิติกรรมของผู้เยาว์
มาตรา ๑๕๗๔ นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตกล่าวคือโดยหลักแล้วผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เว้นแต่นิติกรรมดังจะกล่าวต่อไปนี้ ต้องได้รับความินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(๓) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(๔) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(๕) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี (ไม่รวมการเช่า)
(๖) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (๑) (๒) หรือ (๓
(๗) ให้กู้ยืมเงิน
(๘) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(๙) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(๑๐) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(๑๑) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๙๘/๔ (๑) (๒) หรือ (๓)
(๑๒) ประนีประนอมยอมความ
(๑๓) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
มาตรา ๑๕๗๕ ถ้าในกิจการใด ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือประโยชน์ของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงทำกิจการนั้นได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
กล่าวคือหากกิจการนั้นขัดกับวัตถุประสงค์หรือทำให้ผู้เยาว์ได้รับความเสียหานจากกิจการนั้น กิจการนั้นต้องได้รับความยินยอมจากผุ้เยาว์ก่อนมิฉะนั้นมีผลตกเป็นโมฆะ
มาตรา ๑๕๗๖ ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา ๑๕๗๕ ให้หมายความรวมถึงประโยชน์ในกิจการดังต่อไปนี้ด้วย คือ 1.ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน 2.ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
สิทธิและหน้าที่ของบุตร
มาตรา ๑๕๖๑ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาองบิดา
บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ถ้าไม่มีบิดาสามรถใช้ชื่อสกุลของมารดาได้
โดยหลักผู้สืบสันดานจะฟ้องบุพการีไม่ได้ หากฟ้องจะเป็นคดีอุทลม ตาม เว้นแต่จะมีญาติผู้นั้นร้องขอ มาตรา ๑๕๖๒ ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
มาตรา ๑๕๖๓ บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา โดยหลักบุตรยังเป็นผู้เยาว์ยังไม่สามารถดูแลตังเองได้จึงต้องพึ่งพาบิดามารดา ดังนั้นบิดามารดาจึงต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
หน้าที่บิดามารดา
มาตรา ๑๕๖๔ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้
เป็นหน้าที่หลักของบิดามารดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ส่งเสริมการเรียน ที่พักอาศัยและการกิน การอยู่อย่างสมบูรณ์
มาตรา ๑๕๖๖ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิในตัวบุตร มารดาซึ่งมีอำนาจปกครองบุตร ย่อมสามารถฟ้องเรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
(๑) มารดาหรือบิดาตาย
(๒) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(๓) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(๕) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(๖) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ” ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจในการปกครองบุตรนั้นมีได้เฉพาะแต่บิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ในประเด็นของมารดาไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เนื่องจาก โดยผลของกฎหมาย บุตรย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย “ เสม
มาตรา ๑๕๗๑ อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ
บิดามารดาต้องจัดการทรัพย์สินของบุตรอันพอควร เช่นไม่ให้บุตรไปซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือใช้ในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
มาตรา ๑๕๗๒ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้
การจะมีหนี้ใดๆที่เกี่ยวกับบุตร บิดามารดาจะต้องได้รับความยิมยอมจากบุตรด้วย
มาตรา ๑๕๗๓ ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ
กรณีคือ 1.เมื่อบุตรมีเงินใช้ให้บุตรใช้เงินนั้นในการดูแลอุปการะตนเอง 2.กรณีที่บุตรไม่มีเงิน บิดามารดาจะต้องใช้เงินในส่วนที่เหลือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น
สิทธิบิดามารดา
มาตรา ๑๕๖๕ การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามาตรา ๑๕๖๒ แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
เป็นกรณีที่มีการร้องขอเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู บิดาและมารดาก็สามารถเรียกร้องได้
สิทธิผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
มาตรา ๑๕๖๘ เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น อำนาจปกครองที่มีต่อบุตรอยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
เป็นกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายมีบุตรติดมาก่อทำการสมรส ซึ่งกฎหมายให้อีฝ่ายซึ่งมีบุตรติดมาเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น
มาตรา ๑๕๗๐ คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา ๑๕๖๖ หรือมาตรา ๑๕๖๘ แจ้งไปหรือรับแจ้งมา ให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้งไปหรือรับแจ้งมา
หน้าที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ บิดา มารดา
มาตรา ๑๕๖๙ ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ในกรณีที่บุตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มิใช่พ่อแม่ที่แท้จริงตามสายเลือดกับผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามรถผู้ปกคครองย่อมเป็นผู้อนุบาล
มาตรา ๑๕๖๙/๑ ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองเป็นผู้อนุบาลให้คำสั่งนั้นมีผลเป็นการถอนผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
หากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ทำหน้าที่เป็นผู้อนุบาล ศาลมีสิทธิให้ถอนจากผู้มีสิทธิปกครองได้
มาตรา ๑๕๗๗ บุคคลใดจะโอนทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้โดยเสน่หาซึ่งมีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้จัดการจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะก็ได้
กล่าวคือให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บิดามารดาสามารถเป็นผู้จัดการพินับกรรมแทนผู้เยาว์จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้ หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้วต้องส่งสิทธิพินัยกรรมนั้นคืนแก่ผู็เยาว์ตาม มาตรา ๑๕๗๘ ในกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นไปเพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการและบัญชีในการนั้นให้ผู้บรรลุนิติภาวะเพื่อรับรอง
มาตรา 1579 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายและมีบุตรที่เกิด ด้วยกัน และคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะสมรสใหม่ ถ้าคู่สมรสนั้นได้ครอบครองทรัพย์ สินอันเป็นสัดส่วนของบุตรไว้อย่างถูกต้องแล้ว จะส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุตรใน เมื่อสามารถจัดการก็ได้ หรือมิฉะนั้นจะเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้บุตรเมื่อถึง เวลาอันสมควรก็ได้
กล่าวคือเมื่อคู๋สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายแล้วมีทรัพย์สินที่ต้องจัดการ หากแต่บุตรมีสิทธิได้ในทรัพย์สินนั้นแต่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ดังนี้ให้คู่สมรสอีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู่จัดการทรัพย์สินแทนได้จนกว่าบุตรนั้นจะบรรลุนิติภาวะ
มาตรา ๑๕๘๐ ผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองจะให้การรับรองการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้ต่อเมื่อได้รับมอบทรัพย์สินบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๕๗๘ แล้ว กล่าวคือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการและบัญชีในการนั้นให้ผู้บรรลุนิติภาวะเพื่อรับรอง
อายุความในการฟ้องระหว่างผู้ใช้อำนาจปกครองกับผู้เยาว์กณีจัดการทรัพย์สินมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา ๑๕๘๑ คดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินในระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อำนาจปกครองสิ้นไป
มาตรา ๑๕๘๔/๑ บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
กล่าวคือบิดามารดาแท้ๆยังมีสิทธิสายใใยในทางสายเลือดดีกว่าผู้ปกครอง ดังนั้นบิดามารดาที่แท้จริงย่อมมีสิทธิในการที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้เสมอ
การถอนผู้ใช้อำนาจปกครอง
มาตรา ๑๕๘๒ ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ กล่าวคือเมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นมีความบกพร่องในการดูแลผู้เยาว์หรือทำให้ผู้เยาว์ได้รับความเสียหาย ศาลมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนผู้ปกครองได้
หากความบกพร่องของผู้ปกครองได้หมดไป ศาลสามารรถมีคำสั่งให้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์คืนเดิมได้ ตาม มาตรา ๑๕๘๓ ผู้ถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดนั้น ถ้าเหตุดังกล่าวไว้ในมาตราก่อนสิ้นไปแล้ว และเมื่อตนเองหรือญาติของผู้เยาว์ร้องขอ ศาลจะสั่งให้มีอำนาจปกครองดังเดิมก็ได้
แต่อย่างไรก็ตามแม้ศาลจะคำสั่งให้ถอนออกจากการเป็นผู็ปกครองก็ตาม ผู้นั้นยังคงมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อยู่เช่นเดิมตาม มาตรา ๑๕๘๔ การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย