Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา - Coggle Diagram
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันอัฎฐมีบูชา
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น
ความสำคัญ
และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค
พิธีอัฏฐมีบูชา
การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น
คำถวายดอกไม่ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา
-
-
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือเดือน ๖ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปกลางเดือน ๗
1.เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
เป็นวันที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ธรรมดาที่เกิดมาหากสามารถฝึกฝนพัฒนาตนเอง ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้สูงที่สุดเท่าที่ใจต้องการได้ ดังคำสอนที่ว่า “ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำ อยู่ที่ทำตัว” มนุษย์เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกเป็นคนดี หรือคนชั่วได้
-
2.เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นวันที่แสดงให้เห็นว่าปัญญาของมนุษย์นี่แหละที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง พร้อมกับนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่โลก การที่พระพุทธเจ้าเป็นที่ยอมรับของทั้งมนุษย์และเทวดา มิได้ อยู่ที่ทรัพย์สมบัติของพระองค์ แต่อยู่ที่คุณงามความดีของพระพุทธเจ้า
-
3.เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เป็นวันที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตมนุษย์ไม่เที่ยง ทุกชีวิตต้องจบลงด้วยความตาย ดังนั้น ไม่ควรประมาท ควรเร่งประกอบแต่ความดี ดังคำกล่าวจากหนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ที่นิพนธ์ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
-
-
การประกอบพิธีวิสาขบูชา
การทำบุญในวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเมื่อถึงวัน วิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ข้าราชการและประชาชนทั้งหลายต่างตกแต่งประดับประดา ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟสว่างไสวทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัยเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประชาชนทั่วไปต่างรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสังฆทาน และภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นต้น แต่เมื่อถึงสมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี ไม่มีหลักฐานการทำบุญในวัน วิสาขบูชา
-