Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒, วรรณคดีวิจักษ์ ชั้น ม.๒,…
วรรณคดีวิจักษ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
โคลงภาพพระราชพงสาวดาร
ผู้แต่ง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ที่มา
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เกิดขึ้นโดยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดาร ให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพและให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารตรงที่เขียนรูปภาพติดประจำไว้ทุกกรอบ
ลักษณะคำประพันธ์
โคลงสี่สุภาพ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
พระราชประสงค์ที่จะสรรเสริญพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ที่มีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ตลอดจนเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของหมู่เสวกามาตย์ที่มีความกล้าหาญ ความสุจริต และความกตัญญูต่อแผ่นดิน
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
เป็นบทร้อยกรองที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะในการเลือกสรรถ้อยคำที่ไพเราะ
ใช้คำน้อยแต่กินความมาก
ใช้คำที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดจินตภาพ
คุณค่า
ด้านเนื้อหา
กล่าวถึงพระสุริโยทัยต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เหตุที่สมเด็จพระสุริโยทัยตัดสินสละพระชนม์ชีพ ก็เพื่อช่วยปกป้องพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามีให้รอดพ้นจากอาวุธของข้าศึก
กล่าวถึงวีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นแบบอย่างของข้าราชสำนักที่มีความรับผิดชอบ แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูต่อพระเจ้าแผ่นดิน ยอมสละชีวิต
ด้านวรรณศิลป์
มีความโดดเด่นด้านการเลือกสรรถ้อยคำที่ผู้อ่านเกิดจินตนาการอย่างเด่นชัด
เนื้อหากระชับ ใช้คำน้อยแต่กินความมาก
ก่อให้เกิดอารมณืสะเทือนใจ ทำให้ผู้อ่านชื่นชมในความกล้าหาย ซาบซึ้งในความกตัญญู ความจงรักภักดี และความเสียสละของบรรพชน
ด้านสังคม
แสดงให้เห็นสภาพเหตุการณืทางประวัตติศาสตร์
แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของคนไทย
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ความเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง
ความกตัญญูกตเวที
การทำหน้าที่พลเมืองดี
สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง
การทำสงครามในนั้น ต้องใช้คนจำนวนมาก แม่ทัพทั้งสองฝ่ายจะต้องเป็นผู้นำในการออกรบ ด้วยความกล้าหาญ
อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคม
ทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยที่แต่ง
สะท้อนให้เห็นถึงคุณธรรมของบรรพบุรุษไทย ที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ อันเป็นแง่คิดที่ควรยึดถือปฏิบัติและนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป
บทเสภาสามัคคีเสวก
ตอน วิศวรรมาและสามัคคีเสวก
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา
วิศวกรรมมาเเละสมัคคีเสวกเป็นบทประพันธ์ตอนหนึ่งในบทเสภาสามัคคีเสวก กล่าวถึงความสำคัญของศิลปะเเขนงต่างๆ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและอนุรักษ์ศิลปะเหล่านั้นไว้ สามัคคีเสวกเน้นยํ้าให้เห็นถึงพลังเเห่งความสามัคคี เป็นคติเตือนใจข้าราชบริพารให้มีความสามัคคีเเละความจงรักภัคดีต่อพระมหากษัตริย์ ประเทศชาติจึงจะเจริญรุ่งเรือง
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนเสภา โดยพัฒนามาจากการเล่านิทาน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
รัชกาลที่๖ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี ซึ่งเดิมมีเพียงหน้าพาทย์ประกอบท่าระบำ ทรงเห็นว่าผู้บรรเลงพิรพาทย์ควรได้พักบ้าง
จึงทรงคิดเนื้อเพลงบทเสภาขึ้น
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
บทเสภาสามัคคีเสวกมีความโดดเด่นด้านการใช้โวหารในการประพันธ์
คุณค่า
คุณค่าด้านเนื้อหา
การเตือนใจให้เห็นคุณค่าของศิลปกรรมที่ทำให้จิตใจมีความสุข
ข้าราชการเป็นกลไกสำคัญในการบริหาราชการเเผ่นดินให้เป็นไป
ตามระบบด้วยความเรียบร้อย
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้ภาพพจน์:มีความเด่นด้านการใช้ภาพพจน์เเบบอุปมา
การหลากคำเเละการเเตกศัพท์:มีการใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันในบทประพันธ์เดียวกันเพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสใน เเสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเลือกสรรถ้อยคำที่หลากหลายมาใช้ในการเเต่งบทประพันธ์ตอนเดียวกันอย่างเหมาะสมเเละมีการเเตกศํพท์
คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนความงามทางด้านศิลปะ: ศิลปะย่อมทำให้ผู้คนเกิดความเพลินตาเพลินใจจากการที่ได้พบเห็น
สะท้อนความรุ่งเรืองของบ้านเมือง:ผลงานที่ศฺลปินเเละช่างทั้งหลายเเสดง
ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง
สะท้อนคุณธรรมหน้าที่เเละความสามัคคี
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ให้มีความรักเเละความภูมิใจในศิลปะของชาติ
ตระหนักในหน้าที่ของตน
เห็นความสำคัญของความสามัคคี
ให้เกิดความจงรักภัคดีต่อพระมหากษัตริย์
สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง
สะท้อนความงามทางด้านศิลปะ โดยผลงานด้านศิลปะเเละการช่างนำมาซึ่งความสุขกาย สบายใจ
สะท้อนความรุ่งเรืองของบ้านเมืองโดยผลงานด้านศิลปะเเละการช่าง
สะท้อนคุณธรรมเเละความสามัคคี โดยเห็นได้ว่าประเทศชาติจะอยู่รอดได้ต้องอาศํยคุณธรรมเเละความสามัคคีของคนในชาติด้วย
อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคม
ทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยที่แต่ง
ประเทศไทยปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัริย์จึงไม่ได้เป็นเหมือนกัปปิตันหรือกัปตันดังเช่นในอดีต เเต่ประชาชนสามารถปฏิบัติตามพระบรมราดชวาทเเละเเนวพระราชดำริต่างๆได้ รวมทั้งต้องเคารพกฏหมาย เคารพสิทธิ เสรีภาพ เเละทำหน้าที่พลเมืองไทยให้ดีที่สุด
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ผู้แต่ง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ที่มา
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อพ.ศ.๑๘๒๖ โปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระราชประวัติของพระองค์ ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย พระราชกรณียกิจที่สำคัญ วิถีชีวิตเเละสภาพบ้านเมืองสมัยสุโขทัยไว้ในหลักศิลา หรือที่เรียกว่า"ศิลาจารึก"
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยเเก้ว มีสัมผัสบางตอน
ใช้คำไทยเเท้เเละภาษาถิ่นเหนือเป็นส่วนมาก มีคำเขมร บาลีเเละสันสกฤตปนบ้างเล็กน้อย
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อบันทึกเรื่องราวสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกของชาติเเละเป็นหลักฐานสำคัญทางภาษาประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีของไทย
ทำให้รู้ว่าชาติไทยมีความเจริญรุ่งเรือง มีภาษาเเละอักษรของตนเอง
คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์
ใช้ประโยคความเดียว สั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย
ใช้ภาษาได้อย่างมีจังหวะเเละมีสัมผัสคล้องจอง
ด้านเนื้อหา
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
มีความรู้ด้านอักษรศาสตร์
ให้ความด้านการปกครองตามหลักนิติศาสตร์
ด้านสังคม
สะท้อนวิถีชีวิตประชาชนในสมัยสุโขทัย
สะท้อนความศรั?ธาในพระพุทธศาสนา
สะท้อนความเชื่อในการนับถือผีบรรพบุรษ
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ให้มีความกตัญูญูต่อบิดา มารดา เเละผู้มีพระคุณ
ให้มีความรักใคร่ผูกพันระหว่างพี่น้อง
ให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง
วิถีชีวิตของคนในสมัยสุดขทัย ใช้ชีวิตอย่างมีอิสระภาพ มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ประชาชนมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์
คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเเละค้าขาย
พ่อขุนรามคำเเหงเเละประชาชนเลื่อมใสศรัธาในพระพุทธศาสนา
มีความเชื่อในการนับถือผีบรรพบุรุษ
อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคม
ทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยที่แต่ง
ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ปัจจุบันที่สุโขทัยยังคงสืบสานประเพณนี้ โดยมีการจัดประเพณีลอยกระทง
เผาเทียน เล่นไฟ พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟชนิดต่างๆ
บทละครเรื่อง รามเกียรติ์
ตอนนารายณ์ปราบนนทก
ผู้แต่ง
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ที่มา
รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่มีความสำคัญเรื่องหนึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทย
ได้รับเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์ รามายณะของอินเดีย
ลักษณะคำประพันธ์
ร่ายดั้น บทละคร โคลง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
เป็นบทประพันธ์ที่ชื่นชมความงามของนางอัปสร ใช้รสวรรณคดีคือ เสาวรจนี
คุณค่า
ด้านเนื้อหา
การมอบอำนาจให้เเก่คนที่ไม่สามารถควบคุมสติได้
การผูกใจเจ็บเเค้นไม่รู้จักการให้อภัย ย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ตน
สะท้อนความจริงของมนุษย์ ที่มีความรัก โลภ โกรธ หลง
ด้านวรรณศิลป์
เสารจนี
นารีปราโมทย์
พิโรธวาทัง
สันลาปังคพิสัย
ด้านสังคม
สะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องภพชาติ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ความอาฆาตพยาบาท จองเวรซึ่งนำมาสู่ความเดือดร้อน
การใช้อำนาจในทางที่ผิด ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อน
อย่ารังเเกผู้ที่ด้อยกว่าตน
ความลุ่มหลง มัวเมา จะทำให้ภัยมาถึงตัว
สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง
มีการพัฒนาบ้านเมืองด้วยการทำนุบำรุงศาสนา เเละทรงรวบรวมฟื้นฟูวรรณคดีให้ไทยมีมรดกตกทอมาสู่รุ่นหลัง
อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคม
ทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
ตอนที่พระนารายณ์เเปลงกายเป็นนางรำ ทรงลวงให้นนทกรำท่าต่างๆ สอดคล้องกับบทเรียนวิชานาฏสิลป์เรื่องท่ารำเเม่บท
กาพย์หอโคลงประพาสธานทองแดง
ผู้แต่ง
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ “เจ้าฟ้ากุ้ง”
ที่มา
พระราชนิพนธ์กาพย์ห่อโครงประภาสธารทองแดงขึ้นในโอกาสตามเสด็จ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดา ไปนมัสการพระพุทธบาท
ดำดำเนินเรื่องตามแบบฉบับของนิราศ คือ พรรณนาถึงการเดินทางแต่ไม่คร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ห่อโคลง
ใช้กาพย์ยานี ๑๑ หนึ่งบท(มี๔วรรค) สลับกับโคลงสี่สุภาพหนึ่งบท(๔บาท)
จุดมุ่งหมายในการแต่ง :
เป็นบทชมธรรมชาติเพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทาง เพื่อพรรณนากระบวนการเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง และพรรณนาธรรมชาติบริเวณธารทองแดง ซึ่งเป็นธารน้ำในบริเวณพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
เป็นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์ของกวีที่ถ่ายทอดความรู้สึกสะเทือนใจได้เต็มที่ของการพรรณนาธรรมชาติไปตามอารมณ์ของตน
คุณค่า
ด้านเนื้อหา
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดริ้วขบวนเสด็จของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ
ได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์
สะท้อนให้เห็นสภาพความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติผ่านสำนวนภาษาที่ไพเราะ คมคาย
ได้รู้จักชื่อพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ
ด้านวรรณศิลป์
การใช้คำให้เกิดจินตภาพ เลือกใช้คำที่เข้าใจง่ายมีความโดดเด่นในการใช้ภาพพจน์สื่อความหมายได้ชัดเจน มองเห็นภาพ
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติเพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนและความรู้สึกคล้อยตาม
การเลือกใช้คำที่มีเสียงสระเดียวกัน
การเลือกใช้คำสัมผัสอะไรทำให้เกิดความไพเราะ
การใช้คำเปรียบอุปมาและอุปลักษณ์
การเล่นคำพ้อง เป็นการใช้คำเดียวที่ความหมายต่างกัน
การเรียบเรียงคำ
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ในน้ำมีในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นภาพสะท้อนของระบบนิเวศที่ดีเยี่ยมสมควรที่คนรุ่นปัจจุบันจะต้องฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมาให้ได้
ระบบนิเวศที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขทั้งคนปลา ไม้ นก และสัตว์ต่างๆเป็นเมืองในอุดมคติที่สวยงาม
การเดินทางจะไม่น่าเบื่อถ้าสามารถเขียนคำประพันหรือบันทึกการเดินทางเพื่อให้ผู้อื่นได้อ่าน
ภาพสะท้อนของชนบทประเพณี ความคิด ภูมิปัญญา บรรพบุรุษจะบันทึกไว้ในวรรณกรรมอันเป็นสิ่งที่น่าศึกษา
สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง
ในสมัยอยุธยายังคงเดินทางด้วยช้างหรือยังไม่มียานพาหนะในการเดินทาง
อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคม
ทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยที่แต่ง
ทำให้คนในปัจจุบันได้รู้ถึงธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในสมัยอดีต
โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
ลักษณะการแต่ง
โคลงสี่สุภาพ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
แนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ควรละเว้น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความเจริญในชีวิต
ที่มา
เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กวีในราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย แก้ไขให้ถูกต้องตามความในภาษาอังกฤษ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ผู้ที่นำสาระสำคัญของโคลงเรื่องนี้ไปปฏิบัติย่อมนำความสุข ความเป็นสิริมงคล ความเจริญใจมาสู่ตนเอง
เกิดความเจริญในชีวิต เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเองและต่อสังคมส่วนรวม
โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ลักษณะการแต่ง
โคลงสี่สุภาพ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อเป็นข้อเตือนใจถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตาม
และทำให้บุคคลนั้นไม่เสียใจ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ข้อคิด ข้อเตือนใจเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ให้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง
บุคคลใดที่ละเว้นกิจ ๑๐ ประการได้ ย่อมทำให้จิตใจเป็นสุข อันเป็นความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ ทำให้จิตใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ทำให้เสียใจ
โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ
ลักษณะการแต่ง
ร้อยแก้วและสรุปด้วยโคลงสี่สุภาพ
ที่มา
แปลมาจากนิทานกรีกฉบับภาษาอังกฤษ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เป็นคติสอนใจเพื่อเลือกเป็นแนวทางแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง
ข้อคิดที่จากเรื่อง
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่มีคติสอนใจ สามารถเลือกใช้
และนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
สะท้อนให้เห็นปรัชญา แนวความคิด คุณธรรม การแก้ปัญหาต่างๆ
เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถทำให้คนที่ปฏิบัติตามเกิดความสงบ ความสุข ต่อตนเองและสังคมได้
กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
ผู้แต่ง
พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ)
ที่มา
กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นบทประพันธ์ที่ถอดความมาจากเรื่อง “Elegy Written.in a country Churchyard”ของกวีชาวอังกฤษ โดยนำมาดัดเเปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทย ด้วยเนื้อหาที่เเสดงความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ผสมผสานกับความงามทางด้านวรรณศิลป์
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนดอกสร้อยจำนวน ๓๓ บท
กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งประกอบด้วยกลอนสุภาพจำนวน ๒ บท หรือ ๔ คำกลอน (มี ๘ วรรควรรค) วรรคแรกมี ๔ คำ โดยคำที่ ๒ ของวรรคแรกจะใช้คำว่า“เอ๋ย”และจบคำสุดท้ายของบทด้วยคำว่า“เอย”
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ชี้ให้เห็นความเป็นอนิจจังของชีวิตสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต
แสดงความรู้สึกยกย่องชีวิตอันสงบเรียบง่ายและมีความสุขเกิดจากความสันโดษเป็นการให้คติธรรมอันทรงคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
เป็นบทกลอนที่ไม่ยาวมากนักแต่มีเนื้อหาสาระให้ข้อคิดสติเตือนใจมีความไพเราะโดยการใช้ถ้อยคำ เสียงและความหมาย ให้ตระหนักถึงความจริงที่ว่าความตายเป็นสิ่งสุดท้ายของมนุษย์ ไม่มีใครหนีพันจากความตายได้
คุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ใช้คำที่ทำให้เกิดภาพชัดเจน
การใช้คำที่เข้าใจง่าย
การใช้อุปมาเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง
ใช้บุคคลวัต ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งไม่มีชีวิตให้มีชีวิตเเละพฤติกรรม
ใช้คำที่ใช้คำที่เกิดเสียงไพเราะ
สัทพจน์:การเรียนเสียงธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงบรรยากาศของเรื่องได้ชัดเจน
มีเสียงสัมผัสใน:ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรทุกบท
ใช้คำที่ให้ความหมายลึกซึ้งใช้กลวิธีในการนำเสนอด้วยการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้และคิดตาม
คุณค่าด้านเนื้อหา
เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าสูงส่ง ถ่ายทอดแนวคิดหลักคือความไม่เที่ยงแท้ของทุกสรรพสิ่ง
สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนอเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ความเรียบง่ายของชีวิตถือเป็นความสุขที่แท้จริง
เตือนใจไม่ให้เราดูถูกเยาะเย้ยผู้ที่มีความเป็นอยู่เรียบง่ายหรือใช้ชีวิตสันโดษ
ทำให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสในการอ่านและเกิดอารมณ์สะเทือนใจคล้อยตามไปกับบทประพันธ์
คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตของคนในชนบท
สะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนในสังคมไทย โดยทั่วไปจะมีความเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณและความตาย
สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนในสังคม การให้ความเคารพนับถือผู้ที่มีฐานะ มีชื่อเสียงในสังคม
ชี้ให้เห็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมรักตัวเอง ห่วงความสุขสบายที่เคยได้รับ และกลัวความตาม
ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของขนบธรรมเนียมในแต่ละสังคม ย่อมมีธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น ชาวตะวันตกฝังศพในสุสาน ส่วนชาวไทยใช้การฌาปนกิจ
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
สะท้อนให้เห็นสัจธรรมของชีวิต
ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง
ความเรียบง่ายหรือความสุขที่แท้จริง
อย่ายึดติดกับวัตถุ
สะท้อนสภาพสังคมในด้านค่านิยมและความเชื่อ
ให้ข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
นางสาวกรณิการ์ หาติ๊บ กลุ่มเรียน ๐๑ รหัส ๑๐๒