Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคและเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้, นางสาวธนาพร ปานถาวร 017 - Coggle…
เทคนิคและเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
การทดสอบ
ความหมาย
การทดสอบ (testing) หมายถึง เครื่องมือหรือสิ่งเร้า
ที่ไปเร้าให้ผู้ถูกทดสอบได้แสดงพฤติกรรมหรือความสามารถที่ต้องการออกมา
ผลการทดสอบมักออกมาในรูปของคะแนน
แบบทดสอบมี 2 ประเภท
ปรนัย มีคำตอบให้เลือกตอบ ให้ผลคะแนนที่เหมือนกัน
อัตนัย เขียนตอบ ให้คะแนนตามผู้ออกข้อสอบ ควรมีเฉลยไว้ก่อน และตรวจข้อสอบในขณะที่อารมณ์ปกติ เพื่อลดความลำเอียง
ปรนัยมี 4 รูปแบบ
1.ข้อสอบเติมคำ คำที่ให้เติมควรอยู่ท้ายประโยค มีขนาดช่องเท่า ๆ กัน และควรมีช่องให้เติมเพียงช่องเดียวในหนึ่งข้อ
ข้อสอบถูก-ผิด วัดความจำ นักเรียนสามารถเดาข้อสอบชนิดนี้ได้ง่ายที่สุด เพราะมีเพียงแค่สองคำตอบ
ข้อสอบจับคู่ ควรเป็นประเภทเดียวกัน หรือหมวดเดียวกัน มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นจากโจทย์เพื่อลดการคาดเดา
ข้อสอบปรนัยเลือกตอบ มีตัวเลือกมาให้ เลือกตอบข้อที่ถูกต้องที่สุด
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
กำหนดลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด
กำหนดชนิดของเคร่ืองมือในการวัด
ดำเนินการสร้างเครื่องมือ
วิเคราะห์เพ่ือตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
สร้างเกณฑ์ในการแปลความหมายคะแนน
เขียนรายงานและคู่มือการใช้
ข้อดี
เหมาะสมที่จะวัดความคิดขั้นสูง
สร้างง่าย และรวดเร็ว
ส่งเสริมทักษะการเขียน
เดาไม่ได้
ประหยัดค่าใช้จ่าย
ลดการทุจริตในการสอบ
ข้อจำกัด
ถามได้ไม่คลุมเนื้อหา สุ่มเนื้อหา
ที่จะวัดได้จำกัด ถามได้น้อยข้อ
มีความไม่ยุติธรรมในการตรวจ
เสียเวลาในการตรวจ
การสังเกต
ความหมาย
หมายถึง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
โดยใช้ประสาทสัมผัสศึกษาพฤติกรรมมนุษย์
การสังเกตหรือเฝ้าดูเหตุการณ์พฤติกรรมของผู้ถูกสังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของผู้สังเกต
การสังเกตมี 2 ประเภท
แบบมีโครงสร้าง เป็นการสังเกตที่กำหนดเรื่องราวหรือ ขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้าแน่นอนว่าจะสังเกตพฤติกรรม หรือปรากฎการณ์อะไร มีการเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสังเกต
แบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการสังเกตที่ไม่มีการกำหนด เรื่องราว หรือพฤติกรรมอะไรที่ต้องการสังเกตไว้ล่วงหน้า เป็นการสังเกตอิสระ ไม่มีการควบคุม เครื่องมือที่ใช้อาจเป็นเพียงกระดาษเปล่า ๆ ที่มีไว้สำหรับจดบันทึก หรือใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น กล้อง ถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง
ขั้นตอนการสน้างเครื่องมือ
ต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเกตที่แน่นอนว่าจะสังเกตพฤติกรรมใด
ต้องมีความยุติธรรมกับเด็กมากที่สุด
ต้องทำการสังเกตหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ สถานการณ์ เพื่อที่จะให้ได้พฤติกรรมที่แท้จริง
วิธีการสังเกตและวิธีการบันทึกข้อมูลต้องเป็นระบบ มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
ขณะที่สังเกตจะต้องไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว เพื่อที่จะได้พฤติกรรมที่แท้จริง
บันทึกเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเท่านั้นไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวของผู้สังเกตเข้าไป
การสังเกตจะให้ผลที่แน่นอนน่าเชื่อถือ ควรใช้ผู้สังเกตหลาย ๆ คน
ข้อดี
บันทึกพฤติกรรมได้โดยตรง สังเกตเวลาไหนก็ได้และ สังเกตได้หลายอย่าง
.สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม แล้วนำเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน
ข้อมูลที่ได้มีความเป็นธรรมชาติ ไม่ฝืนความรู้สึก
เหมาะกับกลุ่มที่อ่านหนังสือไม่ได้ เด็กเล็ก และผู้พิการทางสมอง
ข้อจำกัด
ใช้เวลามาก เสียค่าใช้จ่ายมาก
พฤติกรรมบางพฤติกรรมยังไม่แสดงออกในช่วงเวลาที่สังเกตทำให้ไม่เห็นพฤติกรรมนั้น
ต้องใช้เครื่องมืออื่นประกอบ
ความลำเอียงของผู้สังเกต
ไม่สามารถบันทึกพฤติกรรมได้ทุก
พฤติกรรมที่แสดงออก
การสอบถาม/การรายงานตนเอง
ความหมาย
การสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการกำหนด
ข้อคำถามให้ผู้เรียนตอบคำถามตามที่กำหนด
การรายงานตนเอง
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่บุคคลให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ความคิด
หรือพฤติกรรม
ประเภทของการสอบถามและประเมินผล
แบบสอบถามเชิงพรรณา คือ เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่มีอยู่ของข้อมูลชุดหนึ่ง ผ่านการใช้คำถามปลายเปิด
แบบสอบถามเชิงวิเคราะห์ คือ แบบสอบถามที่นำข้อสรุปจากข้อมูลจำนวนหนึ่ง มักไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ เหมือนการวิเคราะาห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แบบสอบถามปลายเปิด
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม 2. ระบุเนื้อหาประเด็นหลักที่จะถามให้ครอบคลุมวุตถุประสงค์ที่จะประเมิน 3. กำ หนดประเภทของคำ ถามโดยอาจจะเป็นคำ ถามปลายเปิดหรือปลายปิด 4. ร่างแบบสอบถาม โครงสร้างแบบสอบถามอาจแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ข้อมูลเบื้องต้น/ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลหลักเกี่ยวกับเรื่องที่จะถาม ข้อเสนอแนะ 5. ตรวจสอบข้อคำ ถามว่าครอบคลุมเรื่องที่จะวัดตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 6. ให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้ 7. ทดลองใช้แบบสอบถามเพื่อดูความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่น และเพื่อประมาณเวลาที่ใช้ 8. ปรับปรุงแก้ไข 9. จัดพิมพ์และทำคู่มือ
ข้อดี
1.ผู้ตอบมีเวลาไตร่ตรอง และสามารถย้อนกลับมาตอบคำถามช่วงต้น ๆ ที่ไม่เข้าใจหรือยังคิดไม่ออกในตอนแรกได้ 2. สามารถจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3. .ถ้าข้อคำถามชัดเจน ไม่กำกวม ทุกคนจะตีความไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการวัดในมาตรฐานเดียวกัน 4. .ผู้ตอบจะมีความเชื่อมั่นว่าคำตอบของตนจะเป็นความลับมากกว่าการสัมภาษณ์หรือการสังเกต
ข้อจำกัด
1. โดยธรรมชาติของแบบสอบถาม เป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ยืดหยุ่น เจาะลึกในรายละเอียดไม่ได้ 2. ข้อจำกัดด้านเวลา ถ้าการตอบแบบสอบถามยาวเกินไป มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากผู้ตอบ 3. ในกรณีที่ผู้ตอบไม่สนใจ เขาจะไม่สื่อสารกลับมาให้ผู้ทำการวิจัยทราบ และจะตอบไปตมที่เข้าใจขณะนั้น
การสัมภาษณ์
ความหมาย
แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยการสนทนา อย่างมีจุดมุ่งหมาย กำหนด
วัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
การสัมภาษณ์มี 2 ประเภท
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่มีการกำหนด
ข้อคำถามที่จะถามไว้แน่นอน
ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนจะถูกถามด้วยคำถาม
เหมือนกันหมด
การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(unstructured interview) เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้กำหนดข้อคำถามไว้ คำถามที่ใช้จะไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน มีความยืดหยุ่น แต่ต้องอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของความต้องการข้อมูล
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
ศึกษาทฤษฎี หลักการ ตัวแปร หรือประเด็นสำคัญที่ต้องการทราบข้อมูล
สร้างข้อคำถามให้สัมพันธ์กับประเด็นหรือคำสำคัญที่ต้องการทราบข้อมูล โดยยึดหลัก ดังนี้
2.1 ไม่ใช้คำถามที่เป็นการชี้นำให้เกิดคำตอบที่ต้องการ
2.2 ไม่ใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกต่อต้าน หรือทำให้เกิดอคติในการตอบข้อมูล
2.3 ไม่ใช้คำถามที่เป็นความขัดแย้งค่านิยมของสังคม เพราะผู้ตอบจะตอบตามค่านิยมทำให้ ไม่ได้รับความจริง
นำแบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบข้อคำถามไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบความตรงทดลองใช้กับผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียง
ข้อดี
1. เหมาะสำหรับผู้ตอบที่อ่านหนังสือไม่ออก 2.ทราบปฏิกิริยาของผู้ตอบทันที 3. ผู้สัมภาษณ์สามารถอธิบายคำถามได้อย่างชัดเจน 4.ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามมากกว่าวิธีการส่งแบบสอบถามไปให้ตอบ
ข้อจำกัด
1.ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล 2.เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสัมภาษณ์ (กรณีที่ต้องสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว) 3.การวิเคาระห์ข้อมูลและสรุปผลทำได้ยากกว่าการใช้แบบสอบถาม 4.ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้สัมภาษณ์
การประเมินการปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน (rubric score)
ความหมาย
เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric) คือเกณฑ์การให้คะแนนที่ถูกพัฒนาโดยครูหรือผู้ประเมินที่ใช้วิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่ผู้เรียนได้พยายามสร้างขึ้น
ประเภทารประเมินการปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน
การกำหนดเกณฑ์โดยภาพรวม (Holistic Rubrics)
การกำหนดเกณฑ์โดยแยกเป็นประเด็นย่อย (Analytic Rubrics)
การประเมินแยกส่วนเฉพาะคุณลักษณะที่เด่น(Annotated Holistic Rubrics)
การประเมินผลงานของนักเรียนจะมี 2 ลักษณะ
1.ผลงานที่ได้จากกระบวนการของนักเรียน
2.กระบวนการที่นักเรียนใช้เพื่อให้เกิดผลงาน
ขั้นตอนการสร้างเกณฑ์การให้คะแนน
1. นื้อหา หน่วยการเรียน หรือภาระงานที่กำหนดขึ้นนั้นตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อใด
2. ประเด็นที่จะนำมาประเมินภาระงานนั้นสามารถบอกได้ว่าเป็นคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ข้อใดบ้าง
จัดทำกรอบการประเมินที่ครอบคลุมประเด็นที่จะนำมาประเมิน
อธิบายการแสดงออกถึงระดับความสามารถตามประเด็นที่กำหนดเป็นลำดับ
ทดลองหาความชัดเจนของเกณฑ์โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา
หลังจากนำเกณฑ์ไปใช้ประเมินผู้เรียนแล้วให้หาข้อดี ข้อควรปรับปรุงแก้ไขด้านต่างๆ
ทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์ที่ยังมีข้อบกพร่องหรือพัฒนาเกณฑ์อื่นๆให้ดียิ่งขึ้น
ข้อดี
ช่วยให้การคาดหวังของครู ที่มีต่อผลงานของนักเรียนบรรลุผลสำเร็จได้ โดยนักเรียนเกิดความเข้าใจ และสามารถใช้ Rubric ต่อการประเมินและพัฒนาชิ้นงานของตน
ช่วยให้ครูเกิดความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นว่าต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือพัฒนาการอะไรบ้าง
ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุคุณลักษณะจากงานที่เป็นตัวอย่างได้ โดยใช้ Rubric ตรวจสอบ
ช่วยให้นักเรียนสามารถควบคุมตัวเองในการปฏิบัติงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมปฏิบัติงานต่างๆ ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
ช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุน ผู้นิเทศก์ ได้เกิดความเข้าใจเกณฑ์ ในการตัดสินผลงานนักเรียนที่ครูใช้
ช่วยในการให้เหตุผลประกอบการให้เกรดนักเรียนได้
ช่วยเพิ่มคุณภาพของนักเรียน
ข้อจำกัด
1.บางครั้งการให้คะแนนอาจมาจากความรู้สึกของผู้ให้คะแนน
2.คะแนนเกิดความลำเอียง
3.อาจเกิดข้อผิดพลาดในการรวบรวมคะแนน
การประเมินตามสภาพจริง
ความหมาย
หมายถึง การประเมินความสามารถตามสภาพความเป็นจริงของผู้เรียน โดยที่ผู้ประเมินจะหาวิธีการหรือเทคนิคในการประเมินให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน โดยใช้กระบวนการสังเกต บันทึกและการรวบรวมข้อมูลจากผลงาน วิธีการ หรือสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจต่อตัวผู้เรียน
ประเภทการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินอย่างเป็นทางการ เป็นการประเมินความสามารถภาคทฤษฎี เครื่องมือที่ใช้ส่วนมากเป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นและได้มีการทดลองใช้จนเป็นที่เชื่อถือได้เรียกว่า “ ข้อสอบมาตรฐาน ”
การประเมินอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการประเมินความสามารถภาคปฏิบัติ ที่เน้นทักษะความสามารถในการทำงานของผู้เรียนตามสภาพเป็นจริง จะทำการประเมิน 3 ด้าน คือ บุคลิกภาพ (Performance) กระบวนการ (Process) และ ผลผลิต (Products)
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
จะประเมินตามสภาพจริงได้สร้างข้อคำถามต้องประเมินความสามารถของผู้ตอบได้ตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ฉะน้ันต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรก่อน และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์หลักสูตรมากำหนดเป็นตารางวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อกำหนดว่าจะประเมินความสามารถของผู้สอบถึงระดับใดบ้างและจำนวนข้อสอบจะวัดตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ในแต่ระดับ ระดับละกี่ข้อ
ข้อดีเครื่องมือแบบสัมภาษณ์
สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาในการอ่าน หรือการเขียน
ทำให้ได้ข้อมูลโดยตรงจากแหล่งข้อมูลประเภท
ได้ข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนตอบโดยตรง
ระหว่างการสัมภาษณ์สามารถสังเกตความจริงใจในการตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์จากกิริยา ท่าทางได้
ระหว่างการสัมภาษณ์ ตรวจสอบคำตอบได้และสามารถหาข้อมูลได้ลึกขึ้นเมื่อเกิดข้อสงสัยในคำตอบ
ข้อจำกัดเครื่องมือแบบสัมภาษณ์
มักสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน และเวลามาก
เป็นปัญหายุ่งยากในการขจัดความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์
อาจได้ข้อมูลที่ต้องไม่ครบถ้วน เพราะผู้สัมภาษณ์และ/หรือผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะมีความเครียด กระวน กระวายใจ ลืมถามคำถามบางคำถามไป
ถ้าใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน การควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันย่อมทำได้ยาก
ที่ตั้งหรือที่อยู่ของผู้ถูกสัมภาษณ์มักจะอยู่กระจัดกระจาย การคมนาคมไปมาไม่สะดวก และภาษาพูด อาจแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการสัมภาษณ์ อาจจะทำให้โครงการวิจัยต้องล่าช้า
การประเมินโดยแฟ้มสะสมผลงาน
ความหมาย
การประเมินผลด้วยแฟ้มผลงาน เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่อาศัยเทคนิควิธีจากการรวบรวมผลงานต่างๆ ของผู้เรียนเข้าด้วยกัน แล้วตัดสินผล ลงสรุปเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการเปลี่ยนแปลง ความพยายาม ความสนใจ เจตคติ และการปฏิบัติ แล้วส่งผลย้อนกลับ
ประเภทของแฟ้มผลงาน
แบ่งตามกระบวนการทำงาน แบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ
1. แฟ้มบรรจุตัวอย่างของงาน (Exemplary)
2. แฟ้มกระบวนการทำงาน (Process)
3. แฟ้มแบบผสม (Combined) คือ มีทั้งกระบวนการทำงานพร้อมตัวอย่างของงาน
ประเภทของแฟ้มผลงาน
แบ่งตามจุดประสงค์การนำไปใช้หรือตามจุดมุ่งหมายของผู้เก็บแฟ้ม แบ่งได้ 4 รูปแบบ คือ
แฟ้มที่สะสมผลงานรวมของผู้เรียนทั้งหมด(Comprehensive Portfolio)
2. แฟ้มนิทรรศการหรือแฟ้มแสดงผลงาน (Showcase Portfolio)
3. แฟ้มสำหรับการประเมินผู้เรียนเป็นรายวิชา (Subject Portfolio)
4. แฟ้มผลงานของครู ( Teacher Portfolio)
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1 . กำหนดการประเมิน โดยพิจารณาจากเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน
เช่น ชื่อชิ้นงาน
2 . เลือกมาตรวัด อาจจัดทำเป็นมาตรวัดประมาณค่าเชิงจำนวน เช่น 1 2 3 หรือเชิงคุณภาพ เช่น ดี พอใช้ ปรับปรุง
3 . กำหนดมาตรฐานของคุณภาพงาน
เป็นการกำหนดรายละเอียดของประเด็นการประเมินในแต่ละตำแหน่งคุณภาพของมาตรวัด
4 . จัดทำเป็นแบบบันทึกที่ประกอบด้วยประเด็นการประเมินและมาตรฐานของคุณภาพงาน
ข้อดี
ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถในการทำงานโดยที่การสอบทำไม่ได้
เป็นการรวบรวมผลงานซึ่งแสดงศักยภาพของผู้เรียนที่สะท้อนถึงความพยายาม พัฒนาการ และความจำเป็นในการเรียนรู้ของผู้เรียน
แสดงพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและนักเรียนได้ปรับปรุงผลงาน ของตนตลอดเวลา
การประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานเป็นการประเมินตามสภาพจริงสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการวัดและประเมินผลระหว่างเรียนและปลายภาคเรียนหรือปลายปี
เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนและวัดความสามารถของนักเรียนได้หลายด้าน
ข้อจำกัด
ใช้เวลามากเนื่องจากผู้เรียนต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมผลงานรวมทั้งครูและผู้เรียนยังต้องใช้เวลาในการพิจารณาตรวจทานซึ่งโดยทั่วไปครูจะตรวจทานคนเดียวกับผู้เรียนทั้งชั้นทำให้ต้องใช้เวลามาก
มีปัญหาเรื่องสถานที่เก็บรวบรวมผลงานโดยเฉพาะครูที่สอนหลายวิชาในแต่ละปีจะมีแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนแต่ละวิชาแต่ละชั้นจำนวนมาก
การใช้แฟ้มสะสมงานประเมินผลผู้เรียนยังมีปัญหาในเรื่องความเชื่อมั่นหรือความเห็นที่สอดคล้องกันในการประเมิน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินยังไม่ค่อยชัดเจน หรือไม่ตรงกันผลการประเมินจึงไม่สอดคล้องกัน
นางสาวธนาพร ปานถาวร 017