Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ปรัชญา ทฤษฎีการศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษาเเต่ละยุค - Coggle Diagram
วิเคราะห์ปรัชญา ทฤษฎีการศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษาเเต่ละยุค
Education 2.0
5.บทบาทนักเรียน :silhouette: เลือกเรียนตามหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ ผู้เรียนจะต้องสำรวจตัวเองว่าอยากเรียนรู้อะไร
6.บทบาทครู :silhouettes: ครูจะต้องเป็นผู้ออกเเบบกิจกรรมให้กับผู้เรียน รวมถึงการวัดผลเเละการประเมินผล เเละเป็นผู้ฝึกให้นักเรียนสนใจตนเอง รู้จักตนเองและจัดประสบการณ์ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
4.วิธีการจัดการเรียนรู้ :<3: ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น เเบบเชื่อมโยงประสบการณ์ เเบบค้นคว้า การเเก้ไขปัญหา การสร้างผลงานชิ้นงาน การสร้างเเบบจำลอง การดำเนินกิจกรรมเป็นกลุ่ม เป็นต้น โดยอาจจะจัดประสบการณ์ตามความสนใจของผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ :pencil2:โรงเรียน ครู สามารถจัดตั้งกิจกรรมชุมนุม ชมรม หรือวิชาเลือกเสรี ทั้งนี้นักเรียนสามารถสร้างสื่อการเรียนรู้หรือผลงานที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน
3.เเนวทางการดำเนินการ :explode:ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจอย่างอิสระ และจัดการเรียนการสอนตามความสนใจของนักเรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเเละได้เผชิญกับประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเนื้อหาที่เรียนกับชีวิตประจำวัน นักเรียนได้มีโอกาสเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ การหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบข้อเท็จจริง
เเหล่งการเรียนรู้ :star: ผู้เรียนเรียนรู้จากเเหล่งการเรียนรู้ที่ครูจัดให้ หรือเกิดจากการที่ผู้เรียนสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือจากประสบการณ์จัดกิจกรรมต่างๆตามความสนใจ เช่น ชมรม ชุนนุม
2.จุดมุ่งหมาย :checkered_flag: การพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9.การวัดเเละการประเมินผล :check:วัดผลตามสภาพจริง ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เรียน อาจจะไม่มีเกรด หากนำไปใช้ในโรงเรียนจริงๆ ตัวอย่างการวัดผลเช่น การสร้างผลงานหรือชิ้นงาน การตอบคำถาม การสรุปการวิเคราะห์ รวมถึงการเเก้ไขปัยหาในสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น
1.ปรัชญาอัตถิภาวนิยม :tada:
ข้อจำกัด :warning:การจะจัดกิจกรรมหรือการเปิดวิชาเลือกอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากผู้เรียนมีความหลากหลายและมีความสนใจแตกต่างกันออกไปตามความถนัด อาจใช้เวลามากกว่าการเรียนเเบบปกติ ครูต้องมีการเรียนการสอนเป็นขั้นเป็นตอนที่เเน่ชัด เเละนักเรียนยังขาดความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปต่อยอด
Education 3.0
5.บทบาทนักเรียน :silhouette:ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) ผู้เรียนมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้เรียนจะมีบทบาทในการสร้างและแบ่งปันความรู้เอง ๆ ผ่านเครือข่าย การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงจากการรับข้อมูลเท่านั้น แต่ยังมีการสร้างและแบ่งปันความรู้เป็นส่วนสำคัญด้วย
6.บทบาทครู :silhouettes: ครูต้องเรียนรู้เทคโนโลยีให้เข้าใจ รวมถึงมีการพัฒนาตนเอง พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง เเละครูต้องมีหน้าที่จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนนำเอาองค์ความรู้ประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยี
4.วิธีการจัดการเรียนรู้ :<3:เน้นการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในหลายที่และหลายแหล่ง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าห้องเรียนเพียงที่เดียวเพื่อเรียนรู้ แต่สามารถเรียนรู้ผ่านการเชื่อมโยงกับแหล่งความรู้ที่แตกต่างกันผ่านเครือข่าย อาจจะมีการการเรียนรู้แบบทำงานเป็นกลุ่มการสืบเสาะแสวงหาความรู้และการสร้างความรู้ด้วตนเอง
สื่อการเรียนรู้ :pencil2:อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารประเภทต่าง ๆ ในการสืบค้น วิเคราะห์ ประเมินค่า สิทธิและการสร้างสรรค์
3.เเนวทางการดำเนินการ :explode: การเรียนรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนจะต้องพัฒนาการค้นหาข้อมูลและแหล่งความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่พบ โดยเน้นเรื่องด้านการสร้างเครือข่าย (network creation) การสร้างความรู้ที่เป็นร่วมการนำเสนอความรู้ผ่านทางแหล่งข้อมูลออนไลน์หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์
เเหล่งการเรียนรู้ :star: สังคมออนไลน์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ต่างๆ
2.จุดมุ่งหมาย :checkered_flag: เน้นการเชื่อมต่อความรู้และเป็นตัวกลางของการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลและสังคมแบบเครือข่าย (networked society) มีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายแห่งความรู้และการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงกับความรู้ ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาข้อมูล แบ่งปันความรู้ และเชื่อมโยงกับเครือข่ายที่หลากหลาย
9.การวัดเเละการประเมินผล :check: สามารถวัดผลเเละประเมินผลได้หลายวิธี เช่น การทำงานกระบวนการกลุ่ม การจัดนิทรรศการ การสร้างความรู้เองผ่านสื่อเทคโนโลยี การนำเสนอทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
1.ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้ (Connectivism) :tada:
ข้อจำกัด :warning: ผู้เรียนบางคนยากต่อการเข้าถึงเครื่องมือดิจิตอล บางกรณีอาจจะใช้สื่อเทคโนโลยีไม่เหมาะสม การเกิดภาวะติดสื่อเทคโนโลยีมากจนเกินไป
Education 4.0
5.บทบาทนักเรียน :silhouette:ผู้เรียนถูกนำมาสู่การเป็นผู้นำในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ต้องวางแผนและตัดสินใจเองเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้และทิศทางของการพัฒนาตนเอง
6.บทบาทครู :silhouettes:กระจายความรับผิดชอบในการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนเอง และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ มีหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้เรียนได้
4.วิธีการจัดการเรียนรู้ :<3: การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสมัยปัจจุบันและอนาคต เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการเรียนรู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
สื่อการเรียนรู้ :pencil2: อุปกรณ์เครื่องมือICT ต่างๆ
3.เเนวทางการดำเนินการ :explode:เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการควบคุมกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การวางแผน และการปรับตัวตามความต้องการและสิ่งที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียนเอง
เเหล่งการเรียนรู้ :star: ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ
2.จุดมุ่งหมาย :checkered_flag: เน้นกระบวนการการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองที่เน้นไปที่การเรียนรู้แบบอิสระและการสร้างความรู้ขึ้นมาเอง เน้นให้ผู้เรียนนำตนเองมาเป็นผู้นำในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง แทนที่จะเป็นผู้สอนที่กำหนดหรือนำทางกระบวนการเรียนรู้ไปในทิศทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีการควบคุมและความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
9.การวัดเเละการประเมินผล :check:มีการปรับเปลี่ยนเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ ต้องมีการวัดและประเมินที่หลากหลาย สามารถใช้เครื่องมือและวิธีการทางดิจิทัล เช่น แบบสอบถามออนไลน์ โพสต์ผลงานทางออนไลน์ และการแสดงผลแบบสื่อสารต่าง ๆ
1.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ heutagogy :tada:
ข้อจำกัด :warning:ความรู้ในการแก้ไขสถานการณ์ของผู้เรียนเเต่ละคนเเตกต่างกัน รวมถึงทักษะการเรียนรู้ การเข้าถึงอุปกรณ์ที่ไม่เท่ากัน
Education 1.0
สื่อการเรียนรู้ :pencil2: หนังสือเรียน เอกสารตำราที่ครูเเจกให้
เเหล่งการเรียนรู้ :star: เเหล่งการเรียนรู้ในชั้นเรียน ห้องสมุด หนังสือเรียน
9.การวัดเเละการประเมินผล :check:ประเมินผล วัดผลจากการตอบคำถาม การอธิบาย
6.บทบาทครู :silhouettes:เป็นผู้ที่มีความรู้มากที่สุด ครูเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ ครูเป็นแบบอย่าง ผู้เรียนต้องปฏิบัติตาม
5.บทบาทนักเรียน :silhouette: เรียนตามเนื้อหาที่ครูดำเนินการจัดให้ในชั้นเรียนเชื่อฟังคำสั่งครู รับฟังและจดจำ ขาดความคิดริเริ่ม
4.วิธีการจัดการเรียนรู้ :<3: ครูใช้วิธีการบรรยาย อภิปรายและทำตามตัวอย่างที่มีอยู่ในหนังสือเรียนหรือเอกสารประกอบการเรียน
3.เเนวทางการดำเนินการ :explode:กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีการบรรยาย อภิปรายและทำตามตัวอย่างที่มีอยู่
2.จุดมุ่งหมาย :checkered_flag: เน้นเนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคม
1.ปรัชญาสารัตถนิยม :tada:
ข้อจำกัด :warning :ความรู้ได้มาจากครูเท่านั้น เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนเป็นผู้กำหนดตัดสิน คัดเลือกสิ่งที่เห็นว่าผู้เรียนควรจะเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้รับ ผู้ฟัง ฝึกฝนตนเองให้เกิดความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในสิ่งที่เรียน