Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คู่มืออธิบายมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ - Coggle…
คู่มืออธิบายมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2
เรื่อง สินค้าคงเหลือ
คำนิยาม
สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1) ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ตามปกติของกิจการ
2) อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
3) อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามลักษณะการประกอบ
ธุรกิจตามปกติ หักด้วย ประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จ
และต้นทุนที่จาเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้
มูลค่ายุติธรรมหมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่ายเพื่อโอนหนี้สิน ในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า
ประเภทของสินค้าคงเหลือ
สินค้าที่ซื้อมาและถือไว้เพื่อขายต่อ เช่น สินค้าที่ผู้ค้าปลีกซื้อมาและถือไว้เพื่อขายต่อ หรือที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ถือไว้เพื่อขายต่อ เป็นต้น
สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ หรือวัสดุที่จะใช้ในกระบวนการผลิต
ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการทาให้เสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทากับลูกค้าที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าคงเหลือ (หรือสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น) ต้องบันทึกตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทากับลูกค้า
ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
ต้นทุนในการซื้อ (Costs of purchase)
ราคาซื้อ อากรขาเข้า ภาษอื่น ค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และต้นทุนอื่น
ต้นทุนแปลงสภาพ (Costs of conversion) ประกอบด้วย ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าที่ผลิต
2.1 ค่าแรงงานทางตรง (Direct labor)
2.2 ค่าใช้จ่ายการผลิตที่ปันส่วนอย่างเป็นระบบ
เทคนิคการวัดมูลค่าต้นทุนสินค้าคงเหลือ
วิธีต้นทุนมาตรฐาน (The standard cost method)
กำหนดจากการใช้วัตถุดิบ วัสดุโรงงาน ค่าแรงงาน ประสิทธิภาพและการใช้กาลังการผลิตในระดับปกติ ต้นทุนมาตรฐานต้องมีการทบทวนอยู่เสมอและปรับปรุงเมื่อจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
วิธีราคาขายปลีก (The retail method)
มักจะใช้กับอุตสาหกรรมค้าปลีก เพื่อวัดมูลค่าต้นทุนสินค้าคงเหลือประเภทที่มีกาไรใกล้เคียงกันและมีการเปลี่ยนแปลงชนิดสินค้าเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติไม่อาจใช้วิธีต้นทุนอื่นได้ สามารถคานวณหาได้โดยใช้มูลค่าขายของสินค้าหักด้วยอัตราร้อยละของกาไรขั้นต้นที่เหมาะสม อัตรากาไรขั้นต้นนี้ต้องคานึงถึงสินค้าคงเหลือที่มีการลดราคาให้ต่าลงกว่าราคาขายเดิม โดยปกติมักจะใช้อัตราร้อยละถัวเฉลี่ยของแผนกขายปลีกแต่ละแผนก
วิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ
วิธีราคาเจาะจง (Specific identification)การคำนวณต้นทุนสินค้าตามวิธีราคาเจาะจง เป็นวิธีที่ใช้สาหรับสินค้าหรือบริการที่ซื้อหรือผลิตขึ้นเองซึ่งแต่ละรายการโดยปกติไม่อาจสับเปลี่ยนกันได้ และแยกต่างหากไว้ไว้สาหรับโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะ วิธีราคาเจาะจงนี้จึงไม่เหมาะสมสำหรับสินค้าคงเหลือมีรายการจำนวนมากและโดยปกติมีลักษณะสับเปลี่ยนกันได้
วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (The first-in, first-out (FIFO))การคำนวณต้นทุนสินค้าตามวิธีเข้าก่อน ออกก่อน ถือเป็นเกณฑ์สมมติว่า สินค้าคงเหลือรายการที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นก่อนจะขายออกไปก่อน จึงเป็นผลให้รายการสินค้าคงเหลือที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวดเป็นสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นในครั้งหลังสุดตามลำดับ วิธีนี้นิยมถือปฏิบัติเพราะสามารถคิดราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ใกล้เคียงความจริง ไม่ว่าราคาของสินค้าจะขึ้นหรือลง เพราะสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจะใกล้เคียงกับราคาตลาดในขณะนั้นมากที่สุด
วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนัก (The weighted average cost)การคำนวณต้นทุนสินค้าตามวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนัก มีข้อสมมติว่า ต้นทุนสินค้าคงเหลือแต่ละรายการจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ณ วันต้นงวดกับต้นทุนของสินค้าที่คล้ายคลึงกันที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นในระหว่างงวด ซึ่งวิธีนี้อาจคานวณเป็นงวดๆ หรือคำนวณทุกครั้งที่ได้รับสินค้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของกิจการ
กรณีกิจการมีการเปลี่ยนวิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ เช่น เปลี่ยนจากวิธีเข้าก่อนเป็นวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนัก พิจารณาตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ถือว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดมูลค่าถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ หักด้วย ประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จ และต้นทุนที่จาเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้มูลค่าสุทธิที่จะได้รับสะท้อนถึงมูลค่าเฉพาะของกิจการ ซึ่งได้อ้างอิงถึงจานวนเงินสุทธิที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากการขายสินค้าตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ ซึ่งแตกต่างจาก “มูลค่ายุติธรรม” ที่สะท้อนให้เห็นถึงราคาที่จะได้รับจากรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติในการขายสินค้าคงเหลือแบบเดียวกันในตลาดหลัก (หรือตลาดที่ให้ประโยชน์สูงสุด) ระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า