Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วรรณคดีวิจักษ์ มัธยมศึกษาปีที่ ๓, วรรณคดี ชั้น ม.๓, นางสาวกรณิการ์ …
วรรณคดีวิจักษ์
มัธยมศึกษาปีที่ ๓
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
ที่มา
เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร
วรรณคดีเรื่องนี้เป็นบทละครพูดขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน แฝงด้วยข้อคิด
ลักษณะการประพันธ์
เป็นร้อยแก้ว
ลักษณะคำประพันธ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้สำหรับแสดงละครสร้างความเพลิดเพลินและขัดเกลาความคิดของประชาชน
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
ใช้ภาษาโบราณ แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
ใช้คำพูดที่สั้น แต่แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครไว้กระชับ
ใช้บทสนทนาแสดงบรรยากาศ เหตุการณ์ และอารมณ์ของตัวละคร
คุณค่าที่ได้รับ
ด้านเนื้อหา
ตัวละครในเรื่องจะมีน้อยแต่ลักษณะของโครงเรื่องมีความโดดเด่น
การผูกเรื่องมีความสุขต่อเนื่องราบรื่น
ผู้ประพันธ์มีความประณีตในการดำเนินเรื่อง
ลักษณะเด่นของเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงความเสียสละ
ด้านวรรณศิลป์
การใช้บทสนทนาที่เหมาะสมกับสภาพของตัวละคร
การใช้บทสนทนาที่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร
การใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายลึกซึ้ง
ด้านสังคม
ธรรมเนียมการรับแขก
การกำหนดค่าและรูปแบบของเงิน
ค่านิยมการนับถือบุคคลที่เพียบพร้อมทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ
แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของมนุษย์
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล
ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อิทธิพลที่มีต่อสังคมในสมัยที่แต่ง
และสมัยต่อมา
ความเสียสละของพ่อแม่เพื่อลุกอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นสัจธรรมที่ดีงาม
ลูกจะระลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่เสมอ เมื่อมีโอกาสก็ควรจะตอบแทนพระคุณท่าน
พระอภัยมณี
ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
ผู้แต่ง
สุนทรภู่ (ภุ่)
ที่มา
สุนทรภู่ผูกเรื่องพระอภัยมณีขึ้นจากการฟังคำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลในสังคมผสมผสานกับจินตนาการของตนเอง
ลักษณะการประพันธ์
กลอนสุภาพในลักษณะนิทาน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีเพื่อขายเลี้ยงชีพในยามที่ตกยากอยู่ในคุกแต่เมื่อพ้นโทษแล้วก็แต่งเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณและกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
มีตัวละครหลากหลายทั้งมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ประหลาด กระทั่งในกลุ่มมนุษย์เองก็ยังมีหลายเชื้อชาติจึงเป็นความแปลกใหม่ในสายตาผู้อ่าน
คุณค่าที่ได้รับ
ด้านเนื้อหา
เนื้อหาเป็นเรื่องคำสอนทางพระพุทธศาสนา การเห็นผิดเป็นชอบ การทำอะไรตามใจตน ไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
กวีสื่อแนวคิดและคำสอนผ่านตัวละคร
ใช้จินตนาการในการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างมีความสร้างสรรค์
ด้านวรรณศิลป์
การใช้ถ้อยคำ: ผู้ประพันธ์มีความสามารถในการเลือกใช้คำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้อย่างงดงาม
การใช้โวหาร: ผู้ประพันธ์เลือกใช้สำนวนโวหารที่ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพได้ชัดเจน
การเล่นเสียง: ทุกวรรคของคำกลอนจะแพรวพราวด้วยสัมผัสใน ได้แก่เสียงสัมผัสสระ และสัมผัสตัวอักษร
ด้านสังคม
ความเชื่อเรื่องความฝันเเละโชคลาง: ความเชื่อเรื่องความฝันซึ่งเป็นความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับคนไทยถ้าฝันดีก็เกิดความสบายใจ ถ้าหากฝันร้ายก็จะต้องหาหนทางแก้ไข
ความเชื่อเรื่องการสะเดาะเคราะห์
ความเชื่อเรื่องเทพพยาดาที่สิงสถิตอยู่ตามสถานที่ต่างๆ
ค่านิยมของสังคมไทยที่เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่: สังคมไทยเป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน มีความผูกพัน กตัญญูรู้คุณ ให้ความเคารพผู้ใหญ่ เมื่อทำสิ่งใดที่ถือว่าเป็นการล่วงเกินก็จะกล่าวขอโทษ
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
เราควรเลือกคบคนจากนิสัยที่แท้จริง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ เพราะภาพลักษณ์นั้นไม่จีรังถาวร
การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ควรต่างคนต่างอยู่โดยปราศจากน้ำใจ
อิทธิพลที่มีต่อสังคมในสมัยที่แต่งและสมัยต่อมา
แสดงให้เห็นถึงคติข้อคิดต่าง ๆ เช่น การรักอย่างมีสติ การรู้จักปล่อยวาง การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่
พระบรมราโชวาท
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา
คำสอนของกษัตริย์ที่พระราชทานแก่กลุ่มชนต่าง ๆ เป็นได้ทั้งคำพูดหรือบทพระราชนิพนธ์ ส่วนมากจะเป็นคำพูด แล้วจึงนำมาตีพิมพ์เผยแพร่
ลักษณะการประพันธ์
เป็นงานเขียนรูปแบบจดหมายร้อยแก้ว
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสชุดแรกที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
มีกลวิธีในการแต่ง อธิบายโน้มน้าวด้วยเหตุผลเพื่อให้ผู้อ่านปฏิบัติตาม
คุณค่าที่ได้รับ
ด้านเนื้อหา
ผู้ซึ่งเป็น“บิดา”จะต้องอบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักที่ถูกต้อง
ปลูกฝังให้มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ให้ทำหน้าที่ของตนเองดีที่สุดแม้ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเป็นใคร จะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไรอยู่ เเละต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย
เป็นแบบอย่างคำสอนที่ดี ที่คนทั่วไปสามารถนำไปปรับใช้ได้
ด้านวรรณศิลป์
การใช้ถ้อยคำที่การใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากปัจจุบัน : สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษาในสมัยนั้น
การใช้คำซ้อน
การใช้ภาษาแสดงความเป็นเหตุเป็นผลชัดเจน : ใช้ภาษาและลีลาการเขียนที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในความรู้สึกความคิดในเรื่องต่างๆ
การใช้ภาษาเพื่อสื่ออารมณ์และความรู้สึก
การใช้ภาษาเพื่อสื่อความตรงไปตรงมา
การใช้โวหารภาพพจน์
ด้านสังคม
ระบบบริหารราชการแผ่นดินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชสำนัก
ค่านิยมการส่งบุตรหลานไปศึกษาที่ต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
เราไม่ควรถือยศศักดิ์ เพราะจะทำให้เข้าสังคมลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ผู้เล่าเรียนควรรู้ค่าของเงินและตระหนักในความลำบากพ่อแม่ที่หาค่าใช้จ่ายมาให้
เราควรมีความรู้ในวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ช่วยเปิดกว้างด้านอาชีพ ส่วนคณิตฯ จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สูง
อิทธิพลที่มีต่อสังคมในสมัยที่แต่งและสมัยต่อมา
บิดาและมารดาอบรมบุตรหลานให้เห็นคุณค่าของการศึกษา การใช้เงินการรู้จักประพฤติตนให้เหมาะสม และปลูกฝังแนวคิดทางการศึกษาว่าการศึกษาสำคัญที่สุด
สอนให้รักประเทศชาติ และไม่ลืมภาษาเกิดของตัวเอง
อิศรญาณภาษิต
ผู้แต่ง
หม่อมเจ้าอิศรญาณพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ
ที่มา
เกิดขึ้นจากความน้อยอกน้อยใจของผู้แต่งหลังถูกตำหนิว่าสติไม่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่กลอนเพลงยาวนี้จะมีเนื้อหาที่แฝงไปด้วยน้ำเสียงเหน็บแนม ประชดประชัน
ลักษณะการประพันธ์
กลอนเพลงยาว
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
การสั่งสอนและเตือนใจผู้อ่านเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีอำนาจมากกว่าหรือผู้อาวุโสกว่า
คุณค่าที่ได้รับ
ด้านเนื้อหา
ให้ข้อคิดสอนใจ
มีเนื้อหาการสอนทั้งเเบบประชดประชัน เหน็บเเนม เเละบอกกล่าวโดยตรง
ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
ด้านวรรณศิลป์
การใช้โวหารภาพพจน์ เพื่อการเปรียบเทียบ
การเล่นเสียงให้เกิดสัมผัสคล้องจอง
ด้านสังคม
สอนให้สำรวจจิตใจของตนอยุ่เสมอ
ให้ความสำคัญเเก่ผู้อาวุโส
สอนการอยุ่ร่วมกันของคนในสังคม
สอนให้รู้จักประมาณตน
สอนให้รู้จักขยันหมั่นเพียร
การทำบุญทำทาน ให้ทำตามกำลังทรัพย์ของตน
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ไม่ว่าที่ใดก็ตามถ้ามีความสามัคคี ที่นั้นย่อมดำรงอยู่ได้ แต่ถ้าเมื่อใดขาดความสามัคคีก็จะทำให้ทุกอย่างเสื่อมสูญเหมือน
อิทธิพลที่มีต่อสังคมในสมัยที่แต่งและสมัยต่อมา
สุภาษิต"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"ยังใช้ในปัจจุบัน สุภาษิตนี้สอนให้ทุกคนทำดี เป็นคนดี เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
มีเนื้อหาที่เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ
แนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า
บทพากย์เอราวัณ
ที่มา
ได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ” ของอินเดีย ในเนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่การบรรยายถึงความงดงามของกระบวนทัพที่มีอินทรชิตจำแลงกายลงมาเป็นพระอินทร์อีกทั้งยังมีลูกสมุนยักษ์ที่จำแลงกายลงมาเป็นเหล่าเทวดา และช้างเอราวัณที่มีรูปร่างสง่างาม
ลักษณะการประพันธ์
กาพย์ฉบัง ๑๖
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงโขน หรือพากย์โขน
ลักษณะเด่นของวรรณคดี
การใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี
แนวคิดที่ได้รับจากเรื่อง
ความลุ่มหลงเป็นบ่อเกิดของหายนะ
การใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร
การใช้สติปัญญาพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ
อิทธิพลที่มีต่อสังคมในสมัยที่แต่งและสมัยต่อมา
คนไทยส่วนหนึ่งให้ความเคารพช้างเอราวัณ โดยปรากฏมีการสร้างสถาปัตยกรรม
คนไทยมรค่านิยมยกย่องช้างเพราะเป็นสัตว์ใหญ่มีพลัง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ
ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตริย์ไทย
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
นางสาวกรณิการ์ หาติ๊บ กลุ่มเรียน ๐๑ รหัส ๑๐๒