Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาโครงงาน, นางสาว อาริสา ผอมคง 4/2 เลขที่ 6 - Coggle Diagram
การพัฒนาโครงงาน
- การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน (การตั้งชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่สนใจจะทำ)
ปัญหาสำคัญในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะทำโครงงานเรื่องอะไร โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากเรื่องทั่วๆ ไป จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญๆ ดังนี้
- เห็นประโยชน์และความคุ้มค่าของเรื่องที่จะทำโครงงาน
- ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษาซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำปรึกษา
-
-
-
- การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากครูผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว ผู้เรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย แหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ การศึกษาผลงานของโครงงานคอมพิวเตอร์จากงานแสดงนิทรรศการ หรือจากเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจค้นหาได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้เรียนในด้านความรู้ เทคนิคและวิธีการพัฒนา นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวคิดที่จะดัดแปลงผลงานดังกล่าว มาจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ในหัวข้อที่ตนสนใจด้วย ตัวอย่างเว็บไซต์
-
3.1 กำหนดขอบเขตงาน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารวิชาการ เพื่อนำมากำหนดขอบเขต ลักษณะ และแนวทางในการวางแผนจัดทำโครงงาน
3.2 การออกแบบการพัฒนา
การออกแบบพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตัวแปล ภาษา และวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้กำหนด คุณลักษณะของผลงาน ระบุเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้งกำหนดตารางการปฏิบัติงาน
3.3 พัฒนาโครงงานขั้นต้น
การพัฒนาโครงงานขั้นต้น เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจทำการพัฒนาส่วนย่อยๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำผลจากการปฏิบัติ ไปปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เสนอโครงงานที่ต้องการตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงงานและหลักการ
-
text
เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า50% ขั้นต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
4.1 การเตรียมการ
ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการทดลอง พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึก หรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
4.2 การลงมือพัฒนา
4.2.1 ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
4.2.2 จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ทำความตกลงในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
-
-
-
-
-
- การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
-
-
-