Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับ การรายงานทางการเงิน (ฉบับปรับปรุงใหม่ -…
คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับ
การรายงานทางการเงิน (ฉบับปรับปรุงใหม่
บทที่ 5 การรับรู้รายการและการเลิกรับรู้รายการ
เกณฑ์การรับรู้รายการ (Recognition Criteria) ด้วยลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน 2 ข้อ คือ 1.ข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) เกี่ยวกับสินทรัพย์หรือหนี้สิน และเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือการเปลี่ยนแปลงของส่วนของเจ้าของที่เป็นผลตามมา เช่น ความไม่แน่นอนว่าสินทรัพย์หรือหนี้สินนี้ยังมีอยู่หรือไม่ (Existence Uncertainty) 2.ข้อมูลมีความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful Representation) มีการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลเนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
การเลิกรับรู้รายการ (Derecognition) คือ การนำเอาสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เคยรับรู้ไว้ออก โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นเมื่อรายการนั้นไม่เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์หรือหนี้สินอีกต่อไป ดังนี้
1.สำหรับสินทรัพย์ จะเลิกรับรู้รายการเมื่อกิจการสูญเสียการควบคุมส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดที่เคยรับรู้
2.สำหรับหนี้สิน จะเลิกรับรู้รายการเมื่อกิจการไม่มีภาระผูกพันปัจจุบันอีกต่อไป
การรับรู้รายการ (Recognition) คือ กระบวนการนำรายการที่เป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบงบการเงิน มารวมไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หรือ งบแสดงผลการดำเนินงาน (Statement(s) of Financial Performance) เช่น มีการรับรู้รายการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายเมื่อไหร่ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกรายการจะสามารถรับรู้รายการได้
บทที่ 6 การวัดค่า
หลักการวัดค่าตามต้นทุนเดิม (Historical Cost) คือ การอาศัยข้อมูลเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่ต้องวัดค่า สิ่งที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาบวกกับต้นทุนการทำรายการ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่านายหน้า ในขณะที่ต้นทุนเดิมของหนี้สิน คือสิ่งที่กิจการได้รับเมื่อหนี้สินเกิดขึ้นหักด้วยต้นทุนการทำรายการ และต้นทุนเดิมจะไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงมูลค่า ยกเว้นมีสถานการณ์ที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยน
หลักการวัดค่าตามมูลค่าสภาพปัจจุบัน (Current Value) ต่างจากต้นทุนเดิมตรงที่มูลค่าสภาพปัจจุบันไม่ได้มาจากราคาของรายการหรือเหตุการณ์อื่นที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์หรือหนี้สิน ประกอบด้วย 3 หลักการวัดค่า
มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) เป็นราคาที่ได้รับจากการขายหรือจะจ่ายเพื่อโอนสินทรัพย์ในสถานการณ์ปกติ ตาม TFRS13 การวัดมูลค่ายุติธรรม ราคาต้องเกิดในสถานการณ์ปกติ ไม่ได้เกิดจากการบังคับขายหรือจ่าย ผู้ซื้อ-ขายมีความเป็นอิสระต่อกัน เต็มใจที่จะทำรายการนั้นๆ
มูลค่าจากการใช้ (สำหรับสินทรัพย์) (Value in Use (for Assets)) คือ มูลค่าปัจจุบันของกระแสงเินสดหรือผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์ และมูลค่าปฏิบัติตามภาระ (สำหรับหนี้สิน) (Fulfilment Value (for Liabilities)) คือ มูลค่าปัจจุบันของเงินสดหรือทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจอื่นที่กิจการคาดว่าจะต้องโอนเพื่อปฏิบัติตามภาระหนี้สิน
ต้นทุนปัจจุบัน (Current Cost) สะท้อนจำนวนเงินปัจจุบัน คือ มูลค่าของสิ่งที่กิจการจะจ่าย ณ วันที่วัดค่าและบวกต้นทุนการทำรายการที่จะเกิดขึ้นวันนั้น เพื่อได้มาซึ่งสินทรัพย์เทียบเท่า ส่วนของหนี้สินคือสิ่งที่ต้องจ่าย
บทที่ 7 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล
เป็นการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลของสินทรัพย์หมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย ของกิจการ ในงบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รวมไปถึงการจัดประเภทต่างๆโดยอ้างอิงจากลักษณะที่ร่วมกัน
บทที่ 8 แนวคิดเกี่ยวกับเงินทุนและการรักษาระดับเงินทุน
แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับเงินทุนและการคำนวณกำไร (Concept of Capital Maintenance and the Determination of Profit) เป็นแนวคิดในการกำหนดระดับเงินทุนที่กิจการต้องรักษาและการวัดผลกำไร สามารถแบ่งเป็น 2 แนวคิดย่อย
1.การรักษาระดับเงินทุนทางการเงิน (Financial Capital Maintenance) ตามแนวคิดนี้กำไรจะเกิดขึ้นเมื่อตัวเงินสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นงวดสูงกว่าตอนต้นงวด โดยจำนวนที่เพิ่มต้องไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการกับเจ้าของในระหว่างงวด ทั้งนี้การรักษาจะใช้หน่วยเงินดังนี้
ตามอำนาจซื้อเดิม (Nominal Monetary Units) หมายถึง วัดมูลค่าทุนโดยใช้หน่วยอำนาจซื้อเดิม ซึ่งอำนาจของเงินจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทำให้การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ที่ถือในรอบระยะเวลารายงาน ถือเป็นกำไรตามแนวคิดนี้แม้กิจการจะยังไม่ได้รับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจนกว่าจะจำหน่ายสินทรัพย์
ตามอำนาจซื้อคงที่ (Units of Constant Purchasing Power) ใช้หน่วยเงินตามอำนาจซื้อคงที่ ในกรณีที่เกิดภาวะเงินเฟ้ออำนาจซื้อของเงินจะลดลง เมื่อเวลาผ่านไป กำไรจึงหมายถึงการเพิ่มขึ้นของเงินทุนในระหว่างรอบรายงาน เมื่อสินทรัพย์มีราคาเพิ่มขึ้น ส่วนที่สูงกว่าระดับทั่วไปจึงถือเป็นกำไร
2.การรักษาระดับเงินทุนทางกายภาพ (Physical Capital Maintenance) ตามแนวคิดนี้กำไรจะเกิดขึ้นเมื่อกำลังการผลิตทางกายภาพหรือเงินทุนที่ใช้ในการผลิตและผลิตจริงตอนสิ้นงวดสูงกว่าตอนต้นงวด และไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นระหว่างงวดของกิจการกับเจ้าของ ซึ่งแนวคิดนี้จะวัดมูลค่าโดยใช้ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) เป็นเกณฑ์เท่านั้น
การปรับปรุงการรักษาระดับเงินทุน (Capital Maintenance Adjustments) ในกรอบแนวคิดนี้ได้มีการตีราคาใหม่ (Revaluation) ว่าการปรับปรุงนี้ไม่ถือเป็นกำไร แต่ให้รวมอยู่ในส่วนของเจ้าของ เนื่องจากเป็นเพียงการรักษาระดับเงินทุนเท่านั้น
แนวคิดเกี่ยวกับเงินทุน (Concepts of Capital) แบ่งออกเป็น 2 แนวคิดหลัก
1.แนวคิดทางการเงิน (A Financial Concept of Capital) เป็นการใช้ตัวเงินที่ลงทุนหรืออำนาจซื้อที่ลงทุน ซึ่งเท่ากับสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets) โดยวัดในรูปของตัวเงินที่เป็นหน่วยตราเดิม โดยการปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เช่น จำนวนเงินบาท กิจการส่วนใหญ่มักนำแนวคิดนี้มาใช้ในการจัดทำงบการเงิน
2.แนวคิดทางกายภาพ ( A Physical Concept of Capital) เป็นการใช้กำลังการผลิตที่สามารถผลิตหรือใช้ผลิตจริงเป็นหน่วยวัด เช่น ผลผลิตที่ผลิตได้ต่อวัน ต่อสัปดาห์หรือต่อเดือน