Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Therapeutic Nurse- Patient Relationship)…
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
(Therapeutic Nurse- Patient Relationship)
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาความคับข้อง ใจ ความวิตกกังวลและความไม่สบายใจต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ดูแลจัดการกับความรู้สึกหรือสภาวะของความไม่สบาย ใจ
องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการ บำบัด
สถานที่ในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การจัดท่านั่งในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การนั่งประจันหน้ากันตรง ๆ ดีในด้านที่สามารถสังเกตผู้รับบริการได้ชัดเจน แต่เป็นทำนั่งที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายอึดอัด
ท่านั่งเคียงกัน ให้ความเป็นกันเองกับผู้รับบริการดี แต่ถ้าหากว่าเป็นเพศตรงข้ามจะทำให้ทั้งสองฝ่ายกังวลและไม่ผ่อนคลาย
ท่านั่งโต๊ะทำงาน เป็นท่านั่งที่ไม่เป็นกันเอง ผู้มารับความช่วยเหลืออาจจะรู้สึกอึดอัด
ทั้งสองฝ่ายนั่งเยื้องกันเล็กน้อย เป็นท่าที่ผ่อนคลายมากที่สุด
ขั้นตอนสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ระยะเตรียมการหรือก่อนการสร้างสัมพันธภาพ (pre-Initial
phase)
ระยะเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพ (Initial phase)
ระยะดำเนินการแก้ปัญหา (working phase)
ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ (termination phase)
ระยะเตรียมการหรือก่อนการสร้างสัมพันธภาพ
(pre-Initial phase)
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้ป่วย
สำรวจตนเองเพื่อให้ความตระหนักรู้
ระยะเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพ (Initial phase)
เป็นระยะที่พยาบาลผู้ดูแลและผู้ป่วยได้พบหน้ากันครั้ง แรก
เป้าหมายคือ การทำความรู้จักและคุ้นเคย เกิดความไว้วางใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดให้ข้อมูลเพื่อทำความรู้จักตัวผู้ป่วย
ขั้นตอน
1. บอกชื่อ นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาชีพ เช่น เป็นนักศึกษาพยาบาล เป็นพยาบาล
วิชาชีพ
2. บอกจุดประสงค์ของสัมพันธภาพ ถ้าเป็นนักศึกษาพยาบาลบอกว่า "กำลังศึกษาทางค้านการพยาบาลจิตเวช มีความสนใจและอยากจะศึกษาสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความยุ่งยากใจและไม่สบายใจ และจะช่วยเหลือผู้ป่วยในขอบเขตความสามารถของ นักศึกษา"
3. บอกนัดวัน เวลา สถานที่ ที่ผู้ป่วยและพยาบาลจะพบกันในครั้งถัดไป
4. บอกเรื่องการปกปิดความลับ
5. สำหรับนักศึกษาพยาบาลที่กำลังฝึกการใช้ Relationship Therapy บอกกระบวนการ
ที่ใช้ในการศึกษา เช่น การอัดเสียง หรือการจด
สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติในขั้นนี้
แยกแยะปัญหา (Identify Problem) พยาบาลรับฟังปัญหาผู้ป่วยและ
แยกแยะว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง อะไรคือสิ่งที่ผู้ป่ายคิดว่าเป็นปัญหา
ประเมินระดับความวิตกกังวลทั้งของพยาบาลและผู้ป่วย
ประเมินความคาดหวังของผู้ป่วย
ระยะดำเนินการแก้ปัญหา (working phase)
ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีความไว้วางใจและเชื่อถือในตัว พยาบาลแล้ว จึงเริมเปิดเผยเรื่องราวของตนเองโดยการเล่าปัญหา ความไม่สบายใจ หรือความคิดความเชื่อต่าง ๆ ภายในจิตใจของตนเอง
สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติ
รักษาสัมพันธภาพเพื่อการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ค้นหาสาเหตุของปัญหาหรือสิ่งที่มากระทบ
การดำเนินชีวิต
ประเมินความเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่างไรบ้าง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยตระหนักในตนเองตามความเป็นจริง และเกิดความเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง ร่วมวางแผนแก้ไขและค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ให้การสนับสนุนด้านจิตใจ โดยการให้เวลา ให้กำลังใจ
ให้การช่วยเหลือด้วยความจริงใจ
สิ่งบ่งชี้การเข้าสู่ระยะดำเนินการแก้ไขปัญหา
ผู้ป่วยเลิกถามวัตถุประสงค์ที่พยาบาลมาพบเขา
ตรงตามเวลานัด จะมาคอยพยาบาลในที่นัดหมาย ถ้ามาสายผู้ป่วยจะเสียใจและจะกล่าวขอโทษ
รักษาเวลา จะพยายามรวบรัดเรื่องราวให้จบภายในเวลาที่กำหนด
พูดถึงและเปิดเผยปัญหาของตนเองมากขึ้น จะออกนอกเรื่องน้อยมาก
พูดเชื่อมโยงเหตุการณ์ใน Session ก่อน ๆ กับเหตุการณ์ใน Session หลัง ๆ
ให้พยาบาลทราบ ถ้าเขามีเหตุขัดข้องมาพบพยาบาลไม่ได้
ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ (termination phase)
สิ้นสุดสัมพันธภาพเมื่อไหร่บ้าง
ผู้ป่วยเข้าใจในตนเองและปัญหาต่าง ๆ ทุเลาลง จนถึงหมดไป
ผู้ป่วยถูกส่งต่อ จำหน่ายกลับบ้าน
ผู้ป่วยเสียชีวิต
พยาบาลย้ายตึก
การสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล
ลักษณะพฤติกรรมของผู้ป่วยที่สะท้อนให้เห็นว่ามีการ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เมื่อเข้าสู่ระยะสิ้นสุด
สามารถดูแลตนเองทางด้านร่างกายและจิตใจได้
ควบคุมตนเองและอารมณ์ได้มากขึ้น
พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นหรือพึ่งพาคนอื่นน้อยลง
เป็นตัวเองของตัวเองมากขึ้น เห็นคุณค่าในตนเอง
สามารถเผชิญปัญหา ความคับข้องใจ วิตกกังวล และความขัดแย้งในใจได้
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
สิ่งที่พยาบาลผู้บำบัดต้องปฏิบัติในระยะสิ้นสุด สัมพันธภาพ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการยุติสัมพันธภาพที่จะเกิดขึ้นในกระ บวนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เช่น 1667
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยแสดงความคิดและความรู้สึกเมื่อ ต้องยุติสัมพันธภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นคุณค่า ความสามารถ เกิดความมั่นใจ และความภาคภูมิใจต่อการใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคม และชุมชนได้ด้วยตนเอง
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าการยุติสัมพันธภาพไม่ได้หมาย ถึงไม่สามารถกลับมาพบพยาบาลได้อีก แต่เป็นไปเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตาม ปกติ ผู้ป่วยสามารถติดต่อขอคำปรึกษาพยาบาลได้เมื่อเกิด ปัญหาความคับข้องใจ
เทคนิคการสนทนาเพื่อบำบัด
Giving Recognition การรู้จัก จำได้
เป็นการแสดงให้เห็นว่ารู้จักผู้ป่วย เห็นความสำคัญของผู้ป่วย
Giving Information การให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงแก่ผู้ป่วย
การแนะนำชื่อ กิจวัตรประจำวันของตึกผู้ป่วย การแนะนำผู้ป่วยให้รู้จักสถานที่ เจ้าหน้าที่ประจำการ เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึงสถานการณ์ เขาจะรู้สึกว่าเขามีความสำคัญ จึงได้สละเวลาบอกเขา
Offering - Self
การเสนอตนเองเพื่อช่วยเหลือ
การเสนอตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะร้องขอ อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยยามทุกข์
Using Broad Opening/ Giving Broad Opening
ใช้คำกล่าวกว้างๆ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกหัวข้อสนทนา เลือกพูดถึงสิ่งที่อยู่ในความคิด หรือสิ่งที่กังวลและครุ่นคิดอยู่
Reflecting การสะท้อนความรู้สึก
เป็นการนำความคิด ความรู้สึกของผู้ป่วยที่คลุมเครือ ออกมาให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึง โดยพิจารณาจากคำพูดของผู้ป่วย
Restarting การทวนประโยค
เป็นการพูดซ้ำในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด โดยเปลี่ยนสรรพนาม การทำเช่นนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพยาบาลกำลังฟังผู้ ป่วยพูด และเป็นการเน้นให้ผู้ป่วยได้ยิน คิดถึงสิ่งที่ตนเองพูดออกมาอีกครั้งหนึ่ง
Accepting การยอมรับ
การยอมรับผู้ป่วย และสิ่งที่ผู้ป่วยพูด พยาบาลแสดงท่าทีให้เขาเห็นว่าพยาบาลมีความเข้าใจ และยอมรับเขา จะ โดยการพยักหน้ารับหรือฟังเฉยๆ โดยไม่กล่าวโต้แย้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นด้วยเสมอไป เมื่อไม่เห็นด้วยก็อย่าได้โต้แย้งออกไปทันที
Sharing Observation
การบอกกล่าวสิ่งที่สังเกตเห็น
เป็นการบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลสังเกตุเห็นทางด้านพฤติกรรมของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยทราบ
Using Silence การเงียบ
การเงียบพร้อมกับแสดงการยอมรับและสนใจในเรื่อง ราวของผู้ป่วยเกิดขึ้นหลังจาก Actively Listening เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากในการกระตุ้นให้ผู้ป่วย สื่อสารเมื่อต้องการให้ผู้ปวยมีการพิจารณาว่าเขาพูดอะไร
ออกไป เพื่อให้ผู้ป่วยตรวจสอบความคิด
Using General Lead/ Giving General Lead
การใช้คำกล่าวนำโดยทั่วไป
เป็นคำกล่าวนำที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ป่วยพูดต่อ ในกรณีที่ผู้ป่วยพูดแล้วหยุดเงียบไป
ตัวอย่างเช่น
"คะ่ แล้วอย่างไรต่อไปล่ะคะ"
ควรเลือกใช้เทคนิคนี้ให้เหมาะสมแก่โอกาส เพราะบางโอกาสความเงียบอาจมีประโยชน์มากกว่า การใช้เทคนิคนี้ควรใช้แต่น้อย
Clarifying การให้ความกระจ่าง
ความพยายามในการที่จะเข้าใจในคำกล่าวของผู้ป่วย ใช้เมื่อพยาบาลไม่เข้าใจความหมายที่ผู้ป่วยพูด เป็นการถามเพื่อให้ผู้ป่ายอธิบายความหมายให้ชัดเจน
Validating การตรวจสอบความเข้าใจ
เป็นการตรวจสอบว่าความเข้าใจของนักศึกษาพยาบาล ถูกต้องตรงกับความต้องการความรู้สึกของผู้ป่วยหรือไม่
Exploring การสำรวจ
เป็นการสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลกระจ่างขึ้น เป็นการสอบถามเพิ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยเล่า โดยเจาะลึกลงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือปัญหาที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจง
Focusing การมุ่งประเด็นการสนทนา
เป็นการมุ่งประเด็นไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ใช้ในกรณีผู้ป่วยพูดหลายเรื่องปะปนกัน เพื่อเป็นการสำรวจปัญหาให้แคบลง
Encouraging Evaluation
กระตุ้นให้ประเมินผล
เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ประเมินตัวเอง ประเมินผลของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผ่านมา หรือประเมินสถานการณ์ด้วยตนเอง
Voicing Doubt การตังข้อสงสัย
การตั้งข้อสงสัย หรือแสดงความสงสัยในสิ่งที่ผู้ป่วยเล่า ใช้ในกรณีที่นักศึกษาพยาบาลเห็นว่า เรื่องราวที่ผู้ป่วยเล่าไม่น่าจะเป็นไปได้การใช้เทคนิคนี้ ต้องระมัดระวังให้มากและอย่าใช้บ่อย ถ้าใช้บ่อยเกินความจำเป็นจะกลายเป็นว่า
พยาบาลไม่เชื่อเขา จะทำให้เขาโกรธ
Presenting Reality การบอกความจริง
เป็นการบอกสภาพความเป็นจริงกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยพิจารณาให้ชัดเจน ใช้เมื่อผู้ป่วยหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด หรือเมื่อความคิดของผู้ป่วยไม่อยู่ในโลกของความเป็น จริง
Summarizing การสรุป
เป็นการสรุปหัวข้อการสนทนา อาจใช้สรุปไปทีละหัวข้อ หรือสรุปแต่ละประเด็นระหว่างการสนทนา เป็นการกล่าวสรุปเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยินสิ่งที่เขาเล่ามาทั้ง หมดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการตรวจสอบกับผู้ป่วยว่า เรื่องที่เขาเล่านั้นพยาบาลเข้าใจถูกต้องหรือไม่
Questioning การถาม
เป็นคำถามโดยตรงที่พูดกับผู้ป่วย แต่ถ้าใช้มากเกิน ไป คำถามจะควบคุมการตอบสนองของผู้ป่วย และใช้คำถามควรจะถามเป็นประโยคปลายเปิดมากกว่าปลายปิด
Open - Ended Question"
การถามปลายเปิด
เป็นการถามกว้าง ๆ ผู้ป่วยมีอิสระในการตอบคำถาม
Closed Ended Question การถามปลายปิด
เป็นการถามคำถามแคบ ๆ ให้ผู้ป่วยตอบสั้น ๆ มีข้อจำกัดในการตอบสนองของผู้ป่วย
Encouraging of thought กระตุ้นให้คิด
เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยประเมินความรู้สึก ประสบการณ์ของเขา จะช่วยให้ผู้ป่วยพบหนทางในการค้นหาสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวผู้ป่วยเอง
ปัญหาและการแก้ไขในแต่ละขั้นตอนของการสนทนาเพื่อการบำบัด
ระยะเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพ
ปัญหาด้านผู้ป่วย
ความวิตกกังวล (Anxiety)
การต่อต้าน (Resistance)
ความไม่เป็นมิตร (Hostility)
ปัญหาด้านพยาบาล
พยาบาลไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเชื่อถือและไว้วางใจได้
พยาบาลตื่นกลัวและวิตกกังวลต่อพฤติกรรม
พยาบาลที่มีลักษณะควบคุมผู้ป่วย
แนวทางการแก้ไขปัญหา
แสดงความมั่นใจในตนเองและมีความฉลาดทาง อารมณ์ โดยการเตรียมตนเองให้พร้อมทั้งด้านวิชาการ ความรู้และทักษะในการใช้ชีวิตซึ่งจะเป็นต้นแบบในด้านการสร้างสัมพันธภาพให้กับผู้ป่วย
มีความสม่ำเสมอ มีวินัย และตรงต่อเวลา
วางตนให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง ควรระมัดระวังท่าทีของตนเองที่อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้า ใจความหมายผิดได้
แสดงการต้อนรับ มีไมตรีจิตและเป็นกันเอง ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจจนกล้าที่จะเปิดเผยเรื่องราวของตนเอง
ระยะดำเนินการแก้ไขปัญหา
ปัญหาด้านผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล กลัว หรือเกิดความสับสน เกี่ยวกับปัญหาของตนเอง
การถ่ายโยงความรู้สึกของผู้ป่วยมาที่พยาบาล (transference)
ปัญหาด้านพยาบาล
ความวิตกกังวลเกี่ยวกบัการใช้เทคนิคต่าง ๆ
มีความคิดและคาดหวังว่าจะต้องแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยได้
เกิดความรู้สึกไม่สบายใจไปกับผู้ป่วยด้วยเมื่อได้รับฟัง ปัญหา
การถ่ายโยงความรู้สึกของพยาบาลไปที่ผู้ป่วย(Counter transference)
แนวทางการแก้ไขปัญหา
แสดงความเข้าใจ คอยให้กำลังใจ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยปรับมุมมองความคิดในทางลบต่อ ตนเอง ผู้อื่นและโลกใบนี้ให้เป็นไปตามความเป็นจริงมากขึ้น มีมุมมองในทางบวกมากขึ้น
แสดงความชัดเจนในสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ พยาบาลต้องระมัดระวังเรื่องความเป็นกันเองจนกลาย เป็นสัมพันธภาพทางสังคม
พยาบาลจะต้องลดความคาดหวังในตนเองว่าต้องแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยได้และมุ่งให้ความสำคัญไปที่เป้าหมาย ของการรักษาและอาการของผู้ป่วยในปัจจุบันแทน
ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ
ปัญหาด้านพยาบาล
พยาบาลอาจประเมินพฤติกรรม และความพร้อมของผู้ป่วยในการสิ้นสุดสัมพันธภาพไม่ถูกต้อง
พยาบาลอาจมีการตอบสนองต่อสู้ป่วยที่มีอาการแสดงของความวิตกกังวลจากการพลัดพรากในรูปแบบ ของสัมพันธภาพเชิงสังคม
ปัญหาด้านผู้ป่วย
การปฏิเสธ (Denial)
ก้าวร้าว (Aggressive)
การพึ่งพา (Dependence)
ซึมเศร้า (Depression)
การถดถอย (Regression)
ความรู้สึกผิดบาป (Guilt)
มีอาการทางกาย (Somatic Complaint)
ความรู้สึกกังวล จากการแยกจาก (Separation
anxiety)
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลต่อการ พลัดพรากของผู้ป่วยและวางแผนช่วยเหลือ
ประเมินความพร้อมในการสิ้นสุดสัมพันธภาพใหม่อีก ครั้ง โดยพิจารณาจากความเข้มแข็งและความสามารถในการเผชิญปัญหาด้วยตนเองของผู้ป่วยเมื่อต้องกลับไปใช้ ชีวิตในสังคม
หากผู้ป่ายยังไม่พร้อมที่จะสิ้นสุดสัมพันธภาพ ให้วางแผนการพยาบาลต่อไปตามความเหมาะสม