Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของละครไทย - Coggle Diagram
ประเภทของละครไทย
ละครรำแบบดั้งเดิม
ละครชาตรี นับเป็นละครที่มีมาแต่สมัยโบราณและมีอายุเก่าแก่กว่าละครชนิดอื่นๆมีลักษณะเป็นละครเร่คล้ายของอินเดียที่เรียกว่า "ยาตรี" หรือ "ยาตราซึ่งแปลว่าเดินทางท่องเที่ยวละครยาตรานี้คือละครพื้นเมืองของชาวเบงคลีในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นละครเร่นิยมเล่นเรื่อง "คีตโควินท์" เป็นเรื่องอวตารของพระวิษณุ ตัวละครมีเพียง 3 ตัว คือ พระกฤษณะ นางราธะ และนางโคปี ละครยาตราเกิดขึ้นในอินเดียนานแล้วส่วนละครรำของไทยเพิ่งจะเริ่มเล่นในสมัยตอนต้นกรุงศรีอยุธยาจึงอาจเป็นได้ที่ละครไทย อาจได้แบบอย่างจากละครอินเดียเนื่องจากศิลปวัฒนธรรมของอินเดียแพร่หลายมายังประเทศต่างๆ ในแหลมอินโดจีนเช่น พม่า มาเลเซีย เขมร และไทยจึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายกันอยู่มาก
ผู้แสดง ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน มีตัวละครเพียง 3 ตัว คือ ตัวนายโรง ตัวนางและตัวตลก แต่มาถึงยุคปัจจุบันมักนิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเสียส่วนใหญ่
การแต่งกาย ละครชาตรีแต่โบราณไม่สวมเสื้อ เพราะทุกตัวใช้ผู้ชายแสดงตัวยืนเครื่องซึ่งเป็นตัวที่แต่งกายดีกว่าตัวอื่นก็นุ่งสนับเพลานุ่งผ้าคาดเจียระบาดมีห้อยหน้า ห้อยข้าง สวมสังวาล ทับทรวงกรองคอกับตัวเปล่า บนศีรษะสวมเทริดเท่านั้นการผัดหน้าในสมัยโบราณใช้ขมิ้นลงพื้นสีหน้าจนนวลปนเหลืองไม่ใช่ปนแดงอย่างเดี๋ยวนี้ ส่วนการแต่งกายในสมัยปัจจุบันมักนิยมแต่งเครื่องละครสวยงามเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "เข้าเครื่องหรือยืนเครื่อง"
-
ละครนอก ละครนอก มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานีแต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กันแล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้นเป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร "โนห์รา" หรือ "ชาตรี"โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป
ผู้แสดง ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดงจะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำและร้องมีความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่างทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง
การแต่งกาย ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญเป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียงให้ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากากต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้นเพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง"
-
ละครใน ละครใน ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางในและละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ 6 มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามากจนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผนและลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก
ผู้แสดง เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครในจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วยผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา
ผู้แสดง เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครในจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วยผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา
-
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
ละครดึกดำบรรพ์ ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กำเนิดขึ้น ณบ้านเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว. หลาน กุญชร ) โดยแสดง ณโรงละครของท่านที่ตั้งชื่อว่า "โรงละครดึกดำบรรพ์"เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้เดินทางไปยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2434 และมีโอกาสได้ชมละครโอเปร่า (Opera) ซึ่งท่านชื่นชมการแสดงมากเมื่อกลับมาจึงคิดทำละครโอเปร่าให้เป็นแบบไทย จึงเล่าถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็โปรดเห็นว่าดีในการสร้างละครดึกดำบรรพ์ครั้งนี้นอกจากท่านจะเป็นผู้สร้างโรงละครดึกดำบรรพ์ สร้างเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดงแล้ว ท่านยังได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานที่สำคัญ
ผู้แสดง
-
ด้วยคุณสมบัติ คือ
- เป็นผู้ที่มีเสียงดี ขับร้องเพลงไทยได้ไพเราะ
- เป็นผู้ที่มีรูปร่างงาม รำสวยยิ่งผู้ที่จะแสดงเป็นตัวเอกของเรื่องด้วยแล้วต้องใช้ความพินิจพิเคราะห์อย่างมาก
การแต่งกาย เหมือนอย่างละครในที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"นอกจากบางเรื่องที่ดัดแปลงเพื่อความเหมาะสม และให้ตรงกับความเป็นจริง
เรื่องที่แสดง เป็นบทละครบางเรื่อง และบางตอน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง เรื่องคาวี ตอนสามหึงเรื่องอิเหนา ตอนไหว้พระ เรื่องสังข์ศิลป์ชัยภาคต้น เรื่องกรุงพานชมทวีปเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุฑ เรื่องมณีพิชัย
ละครพันทาง ละครพันทาง เป็นละครแบบผสมผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ท่านเป็นเจ้าของคณะละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่เพิ่งมาเป็นหลักฐานมั่นคงในรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมก็แสดงละครนอก ละครในต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านไปยุโรปจึงนำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกของท่านให้มีแนวทางที่แปลกออกไป ละครของท่านได้รับความนิยมมากในปลายรัชกาลที่ 5 และสิ่งที่ท่านได้สร้างให้เกิดในวงการละครของไทย
-
การแต่งกาย ไม่แต่งกายตามแบบละครรำทั่วไปแต่จะแต่งกายตามลักษณะเชื้อชาติ เช่น การแสดงเกี่ยวกับเรื่องมอญ ก็จะแต่งแบบมอญ แสดงเกี่ยวกับเรื่องพม่าก็จะแต่งแบบพม่า เป็นต้น
เรื่องที่แสดง ส่วนมากดัดแปลงมาจากบทละครนอก เรื่องที่แต่งขึ้นในระยะหลังก็มี เช่นพระอภัยมณี เรื่องที่แต่งขึ้นจากพงศาวดารของไทยเอง และของชาติต่างๆ เช่นจีน แขก มอญ ลาว ได้แก่ เรื่องห้องสิน ตั้งฮั่น สามก๊ก ซุยถัง ราชาธิราชเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องที่ปรับปรุงจากวรรณคดีเก่าแก่ของภาคเหนือเช่น พระลอ
ละครเสภา มีกำเนิดมาจากการเล่านิทานเมื่อการเล่านิทานเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำให้เกิดการปรับปรุงแข่งขันกันขึ้นผู้เล่าบางท่านจึงคิดแต่งเป็นกลอน ใส่ทำนองมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ "กรับ" จนกลายเป็นขับเสภาขึ้น เสภามีมาแต่โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาสันนิษฐานว่ามีขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตโลกนาถราว พ.ศ. 2011 เสภาในสมัยโบราณไม่มีดนตรีประกอบจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภา
-
เรื่องที่แสดง มักจะนำมาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทองหรือจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เช่น พญาราชวังสัน สามัคคีเสวก
-