Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Aminoglycoside - Coggle Diagram
Aminoglycoside
-
-
ยาตัวที่ 1
Amikacin
ข้อมูลยา
Amikacin (อะมิคาซิน) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) มีกลไกการออกฤทธิ์โดยช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาหรือป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบขั้นรุนแรง และการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะชนิดไม่ซับซ้อน หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
-
ข้อบ่งใช้
ใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่
การติดเชื้อในข้อ,การติดเชื้อในช่องท้อง,เยื่อหุ้มสมองอักเสบ,ปอดบวม,ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ,และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย ยามีทั้งรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
-
-
ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้
ยา Amikacin มีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ
-
ยาตัวที่ 2
Gentamicin
ข้อมูลยา
Gentamicin (เจนตามัยซิน) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มักใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ทั้งการติดเชื้อที่ดวงตา หู ผิวหนัง หรือทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การใช้ยาอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของไตและการได้ยิน ดังนั้น ควรปรึกษาและแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบถึงเงื่อนไขของผู้ป่วย รวมถึงประวัติทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
ประวัติยา
เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ได้จากกระบวนการหมักของแบคทีเรียสายพันธุ์ Micromonospora purpureaถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1963 โดยคณะวิจัยของไวน์สไตน์ (Weinstein MJ) และแวกมัน (Wagman GH) ในห้องทดลองของบริษัทเชอริ่ง-พลาว ในเมืองบลูมฟิลด์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากตัวอย่างดินที่ได้รับมาจากริโก วอยเชียสจีส (Rico Woyciesjes)[12] ซึ่งต่อมาได้มีการคิดค้นวิธีการสกัดเจนตามัยซินบริสุทธิ์ได้สำเร็จ จากนั้นคณะวิจัยของบริษัทเชอริ่ง-พลาว ซึ่งนโดยเดวิด คูเปอร์ (Divid J. Cooper) ได้ทำการศึกษาโครงสร้างของยาดังกล่าวและสามารถโครงสร้างถึงโครงสร้างนั้นได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1971[13] โดยในระยะแรกหลังจากค้นพบนั้น เจนตามัยซินมักถูกใช้เป็นยาใช้ภายนอกในรูปแบบยาทาสำหรับแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในหน่วยทหารของเมืองแอตแลนตาและแซนแอนโทนีโอ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้ในการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อจวบจนปัจจุบัน[14]
เจนตามัยซินสามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นได้จากแบคทีเรียสกุลไมโครมอนอสปอรา ซึ่งเป็นแบคทีเรียจำพวกแกรมบวกที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ (ดินและน้ำ) โดยยาปฏิชีวนะที่มีแหล่งที่มาจากแบคทีเรียสายพันธุ์นี้จะสามารถระบุได้จากพยางค์ต่อท้ายที่มักลงท้ายด้วย ~micin เช่น Verdamicin–เวอร์ดามัยซิน, Mutamicin–มูทามัยซิน, Sisomicin–ซิโซมัยซิน, Netilmicin–เนติลมัยซิน และ Retymicin–รีทีมัยซิน ซึ่งแตกต่างจากยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่สกัดได้จากสกุลสเตรปโตมัยซิสที่มักมีชื่อลงท้ายด้วย
-
ข้อแนะการใช้ยา
- ควรอ่านฉลากยาและทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยาในปริมาณมากหรือน้อยเกินไป และไม่ควรใช้ยานี้เกินกว่าระยะเวลาที่แพทย์สั่ง เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยา
- ชนิดยาหยอดตาควรเขย่าก่อนใช้ทุกครั้งและเว้นระยะเวลาประมาณ 5 นาทีก่อนหยดยาหยดถัดไป หากเป็นชนิดขี้ผึ้งป้ายตาควรถือไว้ในมือสักพักเพื่อให้ขี้ผึ้งอ่อนตัวและง่ายต่อการใช้งาน จากนั้นป้ายยาที่บริเวณเปลือกตาล่าง หลับตาและกลอกตาไปมาประมาณ 1-2 นาที และเว้นระยะเวลาประมาณ 10 นาทีก่อนป้ายยาครั้งถัดไป รวมถึงไม่ควรสัมผัสที่ปากขวดยาหรือปลายหลอดยาเพราะยาอาจปกเปื้อนและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้
- ควรล้างมือและผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง อาจใช้ผ้าพันแผลร่วมด้วยก็ได้ และหลังทายาเสร็จควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ในขณะใช้ยา เพื่อให้ตับทำงานได้ตามปกติ
- ควรเก็บยาฉีดไว้ที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส ยาชนิดครีมหรือขี้ผึ้งควรเก็บที่อุณหภูมิ 2-30 องศาเซลเซียส
- ยาหยอดหูและยาหยอดตาควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ไม่ควรเก็บในที่ที่มีความร้อน ความชื้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงโดยตรง
- หากลืมใช้ยาตามเวลาที่แพทย์สั่ง เมื่อนึกขึ้นได้สามารถใช้ได้ทันที แต่ถ้าใกล้กับกำหนดเวลาใช้ยารอบในถัดไป ให้ใช้ยาในเวลาตามรอบและขนาดตามปกติ ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อทดแทนยาที่ขาดหายไป
-
ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้ยา
- การใช้ยา Gentamicin ควรปรึกษาและแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบถึงเงื่อนไขของผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติการใช้ยา ประวัติทางการแพทย์ และประวัติการแพ้ยาก่อนการใช้ยาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มผู้ที่แพ้ยา Gentamicin หรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ที่คล้ายกัน เช่น อะมิคาซิน (Amikacin) กานามัยซิน (Kanamycin) นีโอมัยซิน (Neomycin) พาโรโมมัยซิน (Paromomycin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) โทบรามัยซิน (Tobramycin) เป็นต้น, ผู้ป่วยโรคไต, ผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือผู้ที่มีอาการแพ้ซัลไฟต์, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง , ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท, ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน, ผู้ที่มีระดับเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล, ผู้ที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ, ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด, ผู้ที่มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด, ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะยาอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารก, ผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายาจะถูกขับออกผ่านน้ำนมแม่ไปสู่ทารกได้หรือไม่
- ผลข้างเคียงขณะใช้ยาได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กเล็ก เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม มีผื่นคันตามผิวหนัง รู้สึกปวดบริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ปวดข้อ เป็นต้น
- ควรหยุดใช้ยา และรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
-
-