Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 หลักการ นโยบาย และมาตรฐานการบัญชี ของหน่วยงานภาครัฐ, น.ส…
หน่วยที่ 5
หลักการ นโยบาย และมาตรฐานการบัญชี
ของหน่วยงานภาครัฐ
หลักการนโยบายและมาตรฐานการบัญชีของหน่วยงานภาครัฐ
กระทรวงการ คลังได้กำหนดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์พื้นฐานดังนี้
1 มาตรฐานการบัญชีภาครัฐระหว่างประเทศซึ่งประกาศใช้โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีภาครัฐระหว่างประเทศ
2 มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศหรือที่ประกาศใช้โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
3 มาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
มาตรการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังภาครัฐ พ.ศ 2561 กำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินการคลังของภาครัฐต่อไปนี้
ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐให้หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจและทุนหมุนเวียนจัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามวรรคหนึ่ง
ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีผู้ทำบัญชีตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กระทรวงการคลังกำหนดเพื่อจัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามพระราชบัญญัตินี้
ให้หน่วยงานของรัฐจะทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนิน งานทางการเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใดรวมถึงการก่อหนี้
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักการ ตรวจเงินแผ่นดินแห่งชอบตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่งให้ภายใน 180 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณหรือตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง
คำนิยามคำศัพท์ที่ใช้ในหลักการและนโยบายการบัญชีฉบับนี้
1 ค่าใช้จ่าย
2 รายงานการเงินรวม
3 นโยบายการบัญชี
4 ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
5 มูลค่ายุติธรรม
6 มูลค่าที่ตราไว้
7 ราคาทุน
8 รายการเทียบค่าเงินสด
9 รายได้
10 วิธีเส้นตรง
11 ศักยภาพในการให้บริการ
12 สินทรัพย์
13 สินทรัพย์ถาวร
14 ส่วนทุน/สินทรัพย์สุทธิ
15 หนี้สิน
หลักการบัญชีทั่วไป
หลักการบัญชีทั่วไปประกอบด้วย
1 หน่วยงานที่เสนอรายงาน หน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานที่เสนอในงานและจะต้องจัดทำรายการเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปส่งให้กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐสภาศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ
2 รายงานการเงิน
2.1 หน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานที่เสนอรายงานของรัฐบาล
2.2 รายงานการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปของหน่วยงานรัฐ
2.3 ในการพิจารณาว่าหน่วยงานย่อยอยู่ภายใต้การควบคุมของงานภาครัฐ
2.4 รายงานการเงินของหน่วยงานระดับกรม
ลักษณะเชิงคุณภาพของรายงานการเงินลักษณะเชิงคุณภาพหมายถึงคุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในรายงานการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้รายงานการเงินซึ่งประกอบด้วยความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันได้
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินหมายถึงคุณสมบัติ ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความมีนัยสำคัญ
จุดมุ่งหมายของรายงานการเงินและงานการเงินคืองบที่นำเสนอ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานทางการเงินของหน่วยงานอย่างมีแบบแผนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของหน่วยงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจและประเมินผลเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรหรือกล่าวโดยเฉพาะเจาะจง
หลักการและนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์
การรับรู้สินทรัพย์ การพิจารณาว่ารายการใดจะรับรู้เป็นสินทรัพย์จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ
1 ความหมายของสินทรัพย์ตามคำนิยาม
2 เกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ดังนี้
(ก)มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่หน่วยงานจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นและ
(ข)มูลค่าของสินทรัพย์นั้นสามารถวัดได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การวัดมูลค่าสินทรัพย์
1 หน่วยงานจะบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ตามราคาทุนที่เกิดขึ้นในการจัดหาสินทรัพย์นั้นราคาทุนดังกล่าวรวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานในครั้งแรกด้วย
2 สินทรัพย์อื่นนอกจากเงินสดที่หน่วยงานได้มาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยสมัครได้เปล่าเช่นได้มาจากการรับบริจาคหรือได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นให้บันทึกบัญชีโดยใช้มูลค่ายุติธรรมณวันที่ได้มาของสินทรัพย์นั้น
ประเภทของสินทรัพย์สินทรัพย์อาจจัดแบ่งตามสภาพคล่องของสินทรัพย์โดยแบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
1 เงินสดและเงินฝากธนาคาร
2 เงินทดลองราชการ
3 เงินฝากคลัง
4 ลูกหนี้จากการขายสินค้าและบริการ
5 ลูกหนี้เงินยืม
6 เงินให้กู้
7 รายได้จากเงินงบประมาณค้างรับ
8 รายได้ค้างรับ
9วัสดุคงเหลือ
10 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
11 สินทรัพย์อื่น
หลักการและนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนทุน
การรับรู้หนี้สิน ในการพิจารณาว่ารายการใดจะบันทึกเป็นหนี้สินจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการได้แก่
1 ความหมายของหนี้สินตามคำนิยามหนี้สินและ
2 เกณฑ์การรับรู้หนี้สินดังนี้
ก มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่หน่วยงานจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อนำไปชำระภาระผูกพันนั้นและ
ข มูลค่าของภาวะบุคคลที่จะต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
ประมาณการหนี้สินคือหนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระหน่วยงานจะรับรู้ประมาณการหนี้สินเป็นหนี้สินของหน่วยงานเมื่อประมาณการหนี้สินนั้นทำให้หน่วยงานมีภาระผูกพันในปัจจุบันแล้วและมีความเป็นไปได้ค่อนข้างได้ที่หน่วยงานจัดสวนเสือทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันนั้น
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
1 ภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีตซึ่งภาระผูกพันนี้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อได้รับการยืนยันจากการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคตอย่างน้อย 1 เหตุการณ์ และเหตุการณ์ในอนาคตนั้นต้องเป็นเหตุการณ์ที่หน่วยงานไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด 2 ภาระผูกพันในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีตแต่ไม่สามารถบันทึกรับรู้เป็นหนี้สินได้เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนว่าหน่วยงานจะต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อนำไปชำระภาระผูกพันนั้นหรือไม่สามารถวัดมูลค่าของภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ
การวัดมูลค่าหนี้สินโดยทั่วไปหนี้สินควรวัดมูลค่าด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจาก การก่อภาระผูกพันหรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระภาระผูกพันนั้น
ประเภทของหนี้สิน
1 เจ้าหนี้ต่อค่าใช้จ่ายค้างจ่ายชำระได้รับล่วงหน้า 4 รายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง 5 เงินทดลองราชการรับจากคลัง 6 เงินรับฝาก 7 เงินได้รอการรับรู้ 8เงินกู้ 9ประมาณการหนี้สิน 10หนี้สินอื่น
หลักการและนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับรายได้
รายได้ตามคำนิยามดังกล่าวเป็นการไหลเข้าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตลอดรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการตามปกติของหน่วยงานประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจะเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขึ้นในส่วนของสินทรัพย์หรือการลดลงในส่วนของหนี้สินซึ่งมีผลทำให้สินทรัพย์สุทธิของหน่วยงานเพิ่มขึ้น
การวัดมูลค่ารายได้
รายได้ควรวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมของจีนตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับโดยทั่วไปหน่วยงานจะกำหนด จำนวนรายได้ตามพี่หน่วยงานตกลงกับผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินทรัพย์ซึ่งจำนวนรายได้ดังกล่าวเป็นมูลค่ายุติธรรมของซินตอบแทนที่ได้รับหรือครั้งรับหลังจากหักส่วนลดต่างๆ (ถ้ามี)
ประเภทของรายได้
1 รายได้จากเงินงบประมาณ
2 รายได้แผ่นดิน
3 รายได้จากการช่วยเหลือ
4 รายได้จากการรับบริจาค
5 รายได้จากเงินกู้ของรัฐบาล
6 กำไรขาดทุนจากการแปลค่าเงินตราต่างประเทศ
7 รายได้อื่น
การรับรู้รายได้
การพิจารณาว่ารายการใดจะรับรู้เป็นรายได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการ ได้แก่
1 ความหมายของรายได้ตามคำนิยาม
2 เกณฑ์การรับรู้รายได้ดังนี้
(ก) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในการเกิดขึ้นของรายได้
(ข) สามารถวัดมูลค่าของรายการดังกล่าวได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
หลักการและนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
การพิจารณาว่ารายการใดจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจะต้องเข้าหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
1 ความหมายของค่าใช้จ่ายตามคำนิยามในย่อหน้าที่ 3
2 เกณฑ์การรับรู้ค่าใช้จ่ายดังนี้ก็มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายขอสามารถวัดมูลค่าของค่าใช้จ่ายได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
ความหมายของค่าใช้จ่ายตามคำนิยาม
ไม่รวมถึงการจ่ายสำหรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหรือว่าระยะเวลาบัญชีถัดไปการจ่ายที่เกี่ยวข้องกับรอบระยะบัญชีก่อนเกิดขึ้นเมื่อรายงานได้รับสินค้าหรือบริการในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีก่อนแต่การจ่ายมากระทำในรอบ ระยะเวลาบัญชีปัจจุบันในการดังกล่าวจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายคู่กับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นและรอบระยะเวลาบัญชีก่อนส่วนการจ่าย เงินจริงซึ่งเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายแต่เป็นการลดลงของหนี้สินการจ่ายที่เกี่ยวข้องกับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป เกิดขึ้นมามีการจ่ายเงินล่วงหน้าในระดับระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ซึ่งจะบันทึกรับรู้เป็นสินทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะบัญชีถัดไป เมื่อหน่วยงานได้รับสินค้าหรือบริการจัดการจ่ายเงินล่วงหน้านานแล้ว
เช่นการซื้อสินทรัพย์ถาวรการดำเนินไปลงทุนซื้อพันธบัตรไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามความหมายในคำนิยามเนื่องจาก การชำระหนี้สินหรือการลงทุนดังกล่าวไม่มีผลทำให้สินทรัพย์สุทธิลดลง
ประเภทของค่าใช้จ่าย
1 ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
2 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
3 ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน
4 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ
5 ค่าเสื่อมราคา
6ค่าจัดจำหน่าย
7 ดอกเบี้ยจ่าย
8 รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง
9 ค่าใช้จ่ายอื่น
น.ส.กานต์ธิดา ฟุ่มเฟือย สบช.2/1 003