Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบโลหิต - Coggle…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบโลหิต
Anemia
ภาวะที่มีการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง (Erythocytes) โดยสามารถพิจารณาจากระดับของฮีโมโกลบินที่ ลดต่ำลงกว่าค่าปกติ เป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุและเพศนั้นๆ หากค่าฮีโมโกลบินในเพศชาย < 13 g/dl และในเพศหญิง < 12 g/dl ถือว่ามีภาวะโลหิตจาง และหากมีค่าฮีโมโกลบิน ต่ำกว่า 7 g/dl ถือว่า มีภาวะโลหิตจางรุนแรง
สาเหตุของภาวะโลหิตจาง
1.การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
2.การเสียเลือด ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
3.การทำลายเม็ดเลือดแดง
การประเมินภาวะสุขภาพผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.การตรวจพิเศษ ในภาวะไขกระดูกฝ่อ โดยการเจาะไขกระดูก(Bone Marrow Inspiration)
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เหนื่อยง่ายเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
1.1 จัดช่วงเวลาสำหรับผู้ป่วยในการทำกิจกรรมให้สมดุลกับการพักผ่อน เพื่อลดการทำงานของหัวใจและระบบหายใจ
1.2 บันทึกชีพจรและการหายใจ เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจและระบบหายใจ
1.3 อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการจะดีขึ้นเมื่อภาวการณ์ขาดธาตุเหล็กดีขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวล
1.4 ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ
ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง
Leukemia
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติในระบบสร้าง (Proliferative
system) ของเซลล์สร้างเม็ดเลือด (Hemopoietic cells)การเจริญที่ผิดปกติทำให้ลักษณะและรูปร่างของเซลล์(Series) แตกต่างออกไปจากเดิม ภาวะของโรคพบว่ามี
การเริ่มตั้งแต่ไขกระดูก (Bone marrow) จนถึงส่วนของกระแสโลหิต (Peripheral blood)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
1) Acute myelogenous leukemia [AML]
พบมากในผู้ใหญ่และมากขึ้นในผู้สูงอายุ :red_flag: มักตรวจ Myeloid formed cells
2) Acute lymphocytic leukemia [ALL]
พบมากในผู้ที่อายุน้อยและในผู้สูงอายุ มักตรวจพบ Immature lymphocyte สูง
Granulocyte สูงหรือปกติ Erythrocyte ต่ำ Platelet ต่ำ ผลไขกระดูกจะพบ lymphoblastsชนิดที่มี
นิวเคลียสเดียวและในน้ำไขสันหลังพบ Philadelphia chromosome
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
Chronic myelogenous leukemia [CML] อาการคล้าย AML แต่อาการรุนแรงน้อยกว่าพบมากในผู้ใหญ่ช่วงอายุ 45 ปีมักตรวจพบ เม็ดเลือดแดงต่ำ Platelet สูงระยะแรกต่อมาจะลดลง นิวโทรฟิวสูง และในน้ำไขสันหลังพบ Philadelphia chromosome
Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในเพศชายมากกว่าหญิงและในวัย 50-70 ปีมักตรวจพบ เม็ดเลือดแดงต่ำ Platelet
ต่ำ เม็ดเลือดขาวลดลงและทำหน้าที่ไม่ดี กรดยูริกสูง
Lymphoma
ซึ่งมักเกิดขึ้นในต้อมน้ำเหลือง
หรืออาจเกิดขึ้นในเซลล์Lymphoidของม้าม ทางเดินอาหาร ตับ หรือไขกระดูก
1.Hodgkin's Lymphoma [HL]
ความผิดปกติส่วนใหญ่พบมากในวัยเจริญพันธุ์คือ อายุ
ระหว่าง 20-40 ปีพบชายและหญิงในอัตรา 4:3 ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของภูมิต้านทานชนิดพึ่งเซลล์
(cellular immunity) โดยมีตัวกดภูมิต้านทานที่ได้มาจากม้ามและซีรั่มของผู้ป่วย ที่สามารถทำให้หน้าที่ของ T
cell เสียไป
Non-Hodgkin's Lymphoma [NHL]
พบโรคนี้ได้หลายอายุแต่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีน้อยมากพบมากในชายมากกว่าหญิง และผู้ที่มีปัจจัยเกี่ยวข้อง ได้แก่อาชีพเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง สัมผัสสารเคมีเช่น ยาย้อมผม เบนซีน หรือโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น Hepatitis C, Human herpesvirus 8
1) ชนิดบีเซลล์(B-cell lymphoma)
2) ชนิดทีและเอ็นเค
เซลล์ (T- and NK-cell lymphoma)
3) ชนิดที่สัมพันธ์กับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร้อง (immune deficiency-associated lymphoma) และยังแบ่งเป็นชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) กับชนิดรุนแรง
อาการและอาการแสดง
ีไข้เป็นพัก ๆ เหงื่อออกเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คัน ผื่นหรือแผลเรื้อรัง คลำพบต่อมน้ำเหลืองขนาดเล็ก ที่บริเวณข้างลำคอ รักแรั เต้านม ขาหนีบ ก้อนที่โตจะไม่เจ็บและค่อย ๆ โตเป็นกลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้ามะเร็งโตเร็วมาก ก้อนจะแตกเป็นแผล เลือดออก ติดเชื้อง่าย เมื่อมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอื่นปวดกระดูก ปวดศีรษะ ใบหน้าและคอบวม จากต้อมน้ำเหลืองกดเส้นเลือดใหญ่ที่คอ กลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ตับ ม้ามโต ตัวตาเหลือง
การวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย อาการสําคัญ มีการโตของต่อมน้ำเหลือง ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติ เจ็บป่วยในอดีต
การตรวจร่างกายคลําต่อมน้ําเหลืองทั้งตัวพิจารณาขนาดและลักษณะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ/การตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ/การตรวจพิเศษ เพื่อแบ่งระยะโรค
ระยะของมะเร็งต่อมน้ําเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่1: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือง เพียงบริเวณเดียว
ระยะที่ 2: มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือง 2 ตําแหน่งขึ้นไป ด้านเดียวกับกะบังลม
ระยะที่ 3: มีรอยโรคที่ต่อมน้ําเหลืองหรือนอกต่อมน้ําเหลือง คนละด้านของกะบังลม และ/หรือที่ม่าม
ระยะที่ 4: มีรอยโรคกระจายออกไป เกินตําแหน่งเริ่มต้นที่พบ มักไปที่ ตับ, ไขกระดูก, หรือปอด
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การเฝ่าระวังโรค: ในผู้ป่วยที่ไม่รุนแรง แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามเป็นระยะ
การใช้ยาเคมีบําบัด: ในรูปยากินหรือยาฉีด สูตรยาขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค
การฉายรังสี: เป็นการใช้รังสีขนาดมสูงเพื่อไปทําลายเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยระยะแรก ผลข้างเคียงของการฉายรังสี ได้แก่ อาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง, เจ็บคอ หรือ ปวดท้อง
การรักษาด้วยแอนตี้บอดี้ยาที่เป็นสารสังเคราะห์ไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์มะเร็งแล้วส่งผลให้มีการกระตุ้นการทําลายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นอาจใช้ร่วมกับยาเคมีบําบัด
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือด (Stem cell transplantation
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำ/มีปริมาณน้อยลง/ทําหน้าที่ได้ลดลง กิจกรรมการพยาบาล
1.1 บันทึกสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิ ทุก 4 ชั่วโมงและสังเกตอาการผิดปกติเพื่อประเมินการ ติดเชื้อ
1.2 จัดสิ่งแวดล้อมรวมถึงของใช้รอบตัวให้สะอาด
1.3 ระวังการเกิดการติดเชื้อ ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ ล้างมือและดูแลสุขอนามัย
1.4 ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
1.5 จัดผู้ป่วยไว้ในห้องแยก กรณีที่ WBC < 1000 หรือ PMN < 500 cell/mm
1.6 ดูแลการไดGยากระตุGนการสรGางเม็ดเลือดขาว granulocyte colony stimulating factor (G-CSF) SC or IV
1.7 รักษาความสะอาดของปากฟันและช่อองคอบ่วนปากด้วยน้ําเกลือก่อนและหลังการรับประทาน
1.8 หลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน หรือที่มีคนหนาแน่น
1.9 แนะนํารับประทานอาหารโปรตีนสูงเช่น ไข่ ปลา ถั่ว ดื่มน้ำวันละ 3 ลิตร เลี่ยงอาหารปรุงไม่สุกอาหารหมักดอง ผลิตภัณฑ์จากนม ผักสด ผลไม้สดที่กินทั้งเปลือก อาจมีเชื้อโรค พยาธิ ปนเปื้อนอยู่
1.10 จํากัดผู้เข้าเยี่ยมและแนะนําให้ผู้ที่มาเยี่ยมล้างมือ
สวมผ้าปิดปากอย่างเคร่งครัด
1.12 ติดตามผลตรวจหาจํานวนเม็ดเลือดขาว การเพาะเชื้อตามแผนการรักษา
1.13 พิจารณาถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วย โดยการคํานวณหาค่า ANC จากสูตร
(WBC x (%Neutrophil + % bands))/ 100
1.11 แนะนําผู้เข้าเยี่ยมไม่ควรนําดอกไม้หรือต้นไม้เข้าเยี่ยมอาจเนื่องจากมีเชื้อราปนเปื้อนมากับ ดอกไม้
1.14 การเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาทางหลอดเลือด ควรระมัดระวังเรื่องการอักเสบของหลอด เลือดดำ เปลี่ยนสารน้ำทุกวัน
1.16 หลีกเลี่ยงการใส่ฟันปลอดที่ต้องใช้ตะขอเกี่ยวเหงือก หากฟันปลอมไม่ดี ควรปรึกษาทันตแพทย์
1.17 ตรวจดูแลหรือจุดเลือดออกบริเวณช่องปาก ซักถามอาการเจ็บในบริเวณช่องปากและลำคอ
1.18 หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นตัด อาหารที่แข็งเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลในช่องปาก
1.19 ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการตกผลึกของยูริกในท่อไตและบรรเทาอาการท้องผูก 2. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา
1.15 ดูแลป้องกันไม่ให้ช่องปากเกิดบาดแผล ป้องกันการเกิดการระคายเคือง เน้นย้ำในการทำความ
กิจกรรมการพยาบาล
ระมัดระวัง เฝ้าระวัง ในการั่วของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือดอาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายได้
หากอาเจียนควรเตรียมกระโถนรองรับไว้ใกล้ผู้ป่วย แนะนำให้ทำความสะอาดปากฟันหลังอาเจียนให้สะอาด
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อป้องกันภาวะท้องผูก และช่วยขับกรดยูริกที่เกิดจากการทำลายเซลล์มะเร็ง หรือดูแลให้ได้รับยา allopurinol เพื่อช่วยลดระดับกรดยูรอก
ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียแนะนำวิธีสงวนพลังงาน การวางแผนการทำกิจกรรม การมีผู้ช่วยเหลือนอนพักหลับในเวลากลางวัน และการออกกำลังกายในระดับปานกลาง
ประเมินแผลในเยื่อบุช่องปาก กลั้วบ้วนคอบ่อยๆด้วยน้ำเกลือ เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล อม น้ำแข็งก้อนเล็กๆ หากมีแผลในปากให้กลั้วด้วย xylocaine viscous
ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
ติดตามผลตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาว เพื่อประเมินการกดของไขกระดูกจากการรักษา
กรณีที่ไม่มีความอยากอาหารแนะนำให้เข้าใจว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ดูแลการจัดอาหารให้มีความน่ารับประทาน
แนะนำอธิบายเรื่องผมร่วง โดยผมจะเริ่มร่วงใน2-3สัปดาห์หลังรับเคมีบำบัด ไม่ควรทำสีผมหรือน้ำยาจัดแต่งทรงผมภายใน 6 เดือน ไม่ควรหวีผมบ่อย แนะนำการใช้วิกผม
ความผิดปกติของเกล็ดเลือด สารแข็งตัว และความผิดปกติเกี่ยวกับกลไกการห้ามเลือด
ภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
1.1 ภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ำที่มีสาหตุมาจากโรคของระบบเลือด (Immune thrombocytopenia (TP) เดิมเรียก Idiopathic Thrombocytopenia Purpura (ITP)
อาการและอาการแสดง คือ การมีเลือดออกที่ผิวหนังง่าย (petechiae, purpura) เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามาก
การประเมินภาวะสุขภาพผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ
การซักประวัติ มีเลือดออก มีจุดเลือด ประวัติครอบครัวมีเลือดออกผิดปกติ
การตรวจร่างกาย จุดเลือดออก (Petechiae)
การทดสอบหน้าที่ของเกล็ดเลือด (Bleeding time) เป็นเวลาที่เลือดออกจากแผลมาตรฐาน (อาจเป็น ติ่งหู ปลายนิ้ว) ค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 3-9 นาที ในผู้ใหญ่
การทดสอบคุณภาพของเกล็ดเลือดและความคงทนของหลอดเลือดขนาดเล็ก (Tourniquet test) มีประโยชน์ในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกก่อนที่ตื่นขึ้นโดยใช้เครื่องวัดความดัน ใช้แรงดัน 80 มม. ปรอท คงไว้ 2 นาที แล้วลดความดันลงเมื่อแกะเครื่องออก นับจุดเลือด ในคนปกติพบ 0-10 จุด ในวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC พบเกล็ดเลือด < 100,000 cell และ Blood smear
การรักษา
ยา corticorsteroid: prednisolone เพื่อกดภูมิต้านทานร่างกายในการสร้างแอนติบอดี้
ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น cyclophosphamide ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองการรักษาโดยการตัดม้าม
อิมมูโนกลอบบูลิน (Ig) ทางหลอดเลือดดำ lg จะขัดขวางการทำงานของเซลล์เรทิคิวโลเอนโดทีเลียล ทำให้ไม่สามารถทำลายเซลล์เม็ดเลือดได้ ทำให้เกล็ดเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-5 วัน
การตัดม้ามซึ่งเป็นแหล่งทำลายเกล็ดเลือด หากไม่ตอบสนองต่อ Corticorsteroid 4-8 สัปดาห์
การให้เกล็ดเลือด (platelet) ซึ่งมีหลายชนิด platelet concentrate (PC), ซึ่ง 1 ยูนิตจะเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือด 10,000/ mm, ส่วน Leucocyte-poor pooled platelet concentrate (LPPC), single donor platelet 1 ยูนิต จะเพิ่ม 20,000-30,000 / mm
การรักษาตามความเสี่ยงในการมีเลือดออก
ความผิดปกติของปัจจัย ช่วยในการแข็งตัวของเลือด สามารถแบ่งได้เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดและ เป็นความผิดปกติที่ได้มาภายหลัง (Acquired coagulation disorders)
2.1 ความผิดปกติแต่กำเนิด ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilus) เป็นการขาดหรือเกิดความผิดปกติ รองปัจจัยทีน่วยในการแข็งตัวของเลือด แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Hemophililea A factor VI Hemophilia B ที่ขาด factor IX โรคนี้มีการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม (x-link recessive) ดังนั้น จึงพบในเพศชายเป็นส่วนใหญ่
อาการและอาการแสดงคือ การมีเลือดออกได้เอง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามีการขาด factor มากน้อย เพียงใด โดยมักพบว่า มักมีเลือดออกที่เข่า ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อไหล่ ข้อมือ โดยมักมีอาการของข้อ ข้อบวม เคลื่อนไหวได้น้อยลง หรืออาจมีเมียดออกได้เองบริเวณอวัยวะอื่นๆ
การรักษา เป็นการให้ factor ทดแทน
2.2 ความผิดปกติที่ได้มาภายหลัง เป็นโรคที เกิดขึ้น มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเลือดออกง่ายจากมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ/ ขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการมีเลือดออกผิดปกติในร่างกาย สังเกตสิ่งที่ออกมาจากร่างกายว่ามีเลือดปนหรือไม่
หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด
หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันเลือดออกบริเวณรอบๆที่ฉีดยา
ภายหลังการเจาะเลือดควรใช้สำลีกดนานประมาณ 5นาทีเพื่อช่วยหยุดเลือด
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุป้องกันอันตรายจากการกระทบกระเทือน เช่น หกล้ม ตกเตียง
ดูแลให้พักผ่อนและทำกิจกรรมบนเตียง หาก platelet < 20,000 และประเมิน neuro signsเนื่องจากอาจเกิด spontaneous bleeding
ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัดเพื่อเลี่ยงการระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสีดำหรือแดง
ดูแลให้ได้รับเกล็ดเลือดหรือพลาสมาแช่แข็ง (FFP) หรือfactor Vill (Cryoprecipitate) ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย
แนะนำอาการอาการแสดงที่บ่งบอกถึงการมีเลือดออก เช่น อุจจาระสีดำ อาเจียนปนเลือด ปัสสาวะสีแดง เสมหะเป็นเลือด จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เยื่อบุตา ตามร่างกาย สังเกตอาการที่มีอันตราย เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลงหรือเปลี่ยนแปลง
ป้องกันไม่ให้ท้องผูกโดยการให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย มีกากใย ดื่มน้ำให้ ดมนาไทเพียงพอ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
หลักการให้เลือด
เลือดและส่วนประกอบของเลือด
เลือดชนิดรวม (Whole blood) เป็นส่วนประกอบของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และพลาสมา (55%) มักให้ในรายที่มีการเสียเลือด เช่น จากอุบัติเหตุและการผ่าตัด และกรณี Exchange transfusion
เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Pack red cell) หมายถึง เลือดที่เอาพลาสมาออกไปเกือบหมด และมีเม็ด เลือดแดงประมาณร้อยละ 70-80 % มักให้ในรายที่มีปริมาตรเลือดปกติแต่มีการพร่องของเม็ดเลือดเพื่อ ต้องการเพิ่มจำนวนตัวนำออกซิเจน 1 ยูนิต ประมาณ 250-350 ml. โดย PRC เฉลี่ย 1 ยูนิต ประมาณ 300 ml จะทำให้ระดับของ Hb เพิ่มประมาณ 1 g/dL. หรือ Hct เพิ่มประมาณ 3 % ใน 24 ซม. หลังได้รับเลือด
เกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet concentrates) ประกอบด้วยเกล็ดเลือดมาก เม็ดเลือดขาวน้อย มี พลาสมาบ้าง จะให้ในรายที่มีภาวะ Thrombocytopenia โดยการให้ Plt Conc. จะต้องให้หมู่ ABO และ Rh ตรงกันเสมอ
เกล็ดเลือดจากผู้บริจาคคนเดียว (Single donor Platelet) เป็นเกล็ดเลือดจากผู้บริจาคเพียงคน เดียว โดยวิธี Plateletpheresis ซึ่งสามารถแยกเก็บเฉพาะเกล็ดเลือดอย่างเดียว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ ต้องการเกล็ดเลือดจำนวนมากหรืออย่างต่อเนื่อง SDP สามารถลด eexposure ต่อแอนจิเจนของเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดจากผู้รับบริจาคได้ และมักให้ในผู้ที่มีหมู่โลหิตหายาก เช่น Rh negative
พลาสมาสดแข็ง (Fresh frozen plasma [FFP]) เป็น Plasma Volume expanders ส่วนที่แยก ออกจากเลือดครบสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยพลาสมา สารแข็งตัว (Coagulating factor) ทั้งหมด ไม่มีเกล็ด เลือด พลาสมาแข็งนี้จะแยกออกจากเลือดครบสมบูรณ์ภายใน 4 ชั่วโมง หลังเจาะแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20°C ทันที ปริมาณ 1 ยูนิต ประมาณ 200-250 ml. ก่อนนำมาใช้ต้องทำการละลายที่อุณหภูมิ 37 องศา เซลเซียส ในน้ำเท่านั้น และจะต้องรีบนำไปให้ผู้ป่วยทันที โดยการให้ FFP จะต้องให้หมู่ ABO ตรงกันเสมอ
พลาสมาปน (Cryoprecipitate) หมายถึง พลาสมาที่ได้จากการปั่น FFP ที่อุณหภูมิ 1-6 °C ส่วนนี้ จะมี factor VIII และ factor XIII มาก เมื่อเทียบกับส่วนประกอบของเลือดอื่นๆ โดยเฉพาะการให้ในผู้ป่วยที่ เป็น Hemophilia และผู้ที่มีปัญหาเรื่อง Coagulopathy โดยก่อนให้ต้องทำการละลายที่อุณหภูมิ 37 องศา และจะต้องรีบนำไปให้ผู้ป่วยทันที เนื่องจาก factor VIII มี vivo half life เพียง 12-18 ชม.เท่านั้น การพยาบาลผู้ที่ได้รับเลือด
การจองเลือดและการเตรียมเลือด/ส่วนประกอบของเลือด
ตรวจสอบชื่อสกุลของผู้ป่วยกับใบคำสั่ง หลอดเลือด ใบคำขอเลือดก่อนการเจาะเลือดทุกครั้ง
เจาะเลือดส่งธนาคารเลือด ประมาณ 6 มล. เพื่อหาหมู่เลือดและตรวจสอบความเข้ากันได้ของเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
ภายหลังได้รับเลือดจากธนาคารเลือดนำเลือดเก็บไว้ในตู้เย็น ไม่แช่ในช่องแช่แข็ง หรือช่อ ตู้เย็น ก่อนนำเลือดออกมาให้ผู้ป่วยไม่ต้องทำให้มีอุณหภูมิสสูงขึ้นไม่ว่าวิธีใดๆ
เลือดที่ได้รับจากธนาคารเลือดควรให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง
ไม่ควรผสมยาหรือสารน้ำลงในถุงเลือด
การให้เลือดแก่ผู้ป่วยควรใช้ชุดอุปกรณ์ในการให้เลือดที่มีตัวกรอง สำหรับให้เลือดเท่านั้น
ก่อนให้เลือดควรตรวจสอบถุงเลือดว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่ เช่น ฟองอากาศ ตะกอน หรือสีผิดปกติจากเดิม
ก่อนให้เลือดควรตรวจสอบชื่อสกุล เลขที่โรงพยาบาล (Hospital number) เลขประจำตัวผู้ป่วยใน(Admission number) หมู่เลือดทั้งระบบ ABO, Rh ปริมาณเลือดในถุง ใบคล้องเลือด โดยการตรวจสอบแบบ Double check ให้ตรงกัน หากพบความผิดปกติใดๆให้ตรวจสอบกับธนาคารเลือด หรือนำลือดส่งคืนธนาคารเลือด
ก่อนให้เลือดควรตรวจสอบความถูกต้องของชื่อสกุล เลขที่โรงพยาบาล (Hospital number) เลข ประจำตัวผู้ป่วยใน (Admission number) หมู่เลือดทั้งระบบ ABO, Rh โดยการสอบถามผู้ป่วยและป้ายข้อมือ ทุกครั้ง
การให้เลือดไม่ควรให้เลือดร่วมกับสารน้ำหรือยา
บันทึกสัญญาณชีพก่อนการให้เลือด ขณะให้เลือดไปแล้ว 15 นาที หลังให้เลือดหมดทันที และหลังเลือดหมดไปแล้ว 15 นาที
ขณะเริ่มให้เลือดควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากการให้เลือด โดยเฉพาะภายใน 15 นาทีแรก
ระหว่างให้เลือดหากพบอาการ อาการแสดงที่ผิดปกติ ได้แก่ คัน ผื่นคัน อาการคล้ายลมพิษ บวม ความดันโลหิตต่ำหรือสูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น มีไข้ หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ให้ ทำการหยุดเลือดทันที บันทึกสัญญาณชีพ และรายงานแพทย์ทันที
ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด แบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม
Disease Transmitted by blood transfusion เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการได้รับเลือด
Febrile nonhemolytic reaction เป็นภาวะที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตั้งแต่ 1 °C เมื่อเทียบก่อน ได้รับเลือดหรือ มีไข้สูง หนาวสั่น อุณหภูมิตั้งแต่ 38 °C ขึ้นไป
Acute hemolytic reaction เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงแตกทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังการ ได้รับเลือด อาจเกิดจากการได้รับเลือดผิดหมู่ หรือจากการใช้เครื่องให้เลือดแล้วทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือด
Delayed hemolytic reaction เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงแตกภายใน 14 ชั่วโมงหลังการได้รับเลือด ผู้ป่วยมักมีภาวะซีด ตัวตาเหลือง
Allergic reaction เป็นภาวะที่ผู้ได้รับเลือดแพ้เลือด
Circulatory overload เป็นภาวะที่ให้เลือดไวมากเกินไป จนเกิดภาวะ Hypervolemia
Bacterial contamination เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับเลือด