Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
6.1.1 กำลังการคลอดผิดปกติ (Abnormality of power), นางสาวกรรภิรมย์ อินธรรม …
6.1.1 กำลังการคลอดผิดปกติ (Abnormality of power)
ความผิดปกติของแรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (Abnormality of primary power of force)
การหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่าปกติ (hypotonic uterine dysfunction or secondary uterine interia)
หมายถึง
การหดรัดตัวของมดลูกเป็นจังหวะตามปกติแต่หดรัดตัวไม่แรง มักเกิดในระยะเร่ง โดยเฉพาะในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (phase of maximum slope) และในระยะที่สองของการคลอด
สาเหตุ
1.กล้ามเนื้อ
ลูกมีการยืดขยายมากกว่าปกติ
ครรภ์แฝด
ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกตัวโต
ผ่านการ
มาหลายครั้ง
2.มีเนื้องอกที่มดลูกหรือในอุ้งเชิงกราน
3.ส่วนนำไม่กระชับกับช่องเชิงกราน
ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างขนาดของศีรษะทารกกับช่องเชิงกรานมารดา
ทารกมีส่วนนำหรือท่าผิดปกติ
ทารกตัวเล็ก
4.มีการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีจากการได้รับยาระงับความเจ็บปวดในระยะเวลาที่
ไม่เหมาะสมหรือได้รับยาในปริมาณมาก
มีอาการเจ็บครรภ์มาก
6.เจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
7.อ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ
8.กระเพาะปัสสาวะเต็ม
การประเมินและวินิจฉัย
การประเมินและวินิจฉัยการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่าปกติ สามารถประเมินได้จาก
แรงดันในมดลูกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 มิลลิเมตรปรอท
ความนาน (duration) น้อยกว่า 40 วินาที
ระยะห่าง (interval) มากกว่า 3 นาที
ความถี่ (frequency) มีการหดรัดตัวน้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที
ความแรง (intensity) น้อยถึงปานกลาง
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบต่อผู้คลอด
การคลอดยาวนาน ผู้คลอดอ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ
ตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด
ผลกระทบต่อทารก
อาจมีภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน เกิดอันตรายจาก
การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ ติดเชื้อและเสียชีวิต
แนวทางการรักษา
การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
ให้ยาระงับปวดในเวลาและขนาดที่เหมาะสม
ประเมินและตรวจให้แน่ชัดว่าไม่มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน
เจาะถุงน้ำคร่ำในรายที่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก และพิจารณาให้ยา oxtocin ถ้าไม่มีข้อห้าม
ดูแลไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม
6.ให้กำลังใจและปลอบโยนให้ผู้คลอดคลายความกลัวและวิตกกังวล
พิจารณาการคลอดด้วยวิธีที่เหมาะสม
เฝ้าระวังการตกเลือดในระยะหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดยาวนาน แผนการรักษาและการปฏิบัติตัวพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึก เพื่อลดความกลัวและวิตกกังวล
2.รายที่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมดถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกและส่วนนำลงช่องเชิงกรานแล้วควรกระตุ้นให้ผู้คลอดลุกเดินหรือนอนในท่าศีรษะสูง เพื่อกระตุ้น Ferguson's retlex ช่วยให้มดลูก
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 24 ชั่วโมง เพราะกระเพาะปัสาวะเต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกและถ้าผู้คลอดถ่ยปัสาวะเองไม่ได้ ดูแลสวนปัสสาวะให้
5.ดูแลช่วยเหลือในการเจาะถุงน้ำคร่ำในรายที่ไม่มีข้อห้ามเพื่อกระตุ้นให้มคลูกหดรัดตัวดีติดตามประเมินการหดรัดตัวของมดลูกภายหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ หากพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีให้รายงานแพทย์
6.ดูแลการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษาและประเมินภาวะแทรกช้อนจากการได้รับยา โดยเฉพาะ tetanic contraction
ติดตามและประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง หากพบเสียงหัวใจทารกผิดปกติ จัดให้นอนตะแคงซ้าย ดูแลให้ได้ออกชิเจนและรายงานแพทย์
ตรวจทางช่องคลอดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอดทุก 2-4 ชั่วโมง หรือตามข้อบ่งชี้ เช่น มีมูกเลือดออกมาขึ้น ผู้คลอดอยากเบ่ง เป็นตัน
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ หรือการผ่าตัดคลอดในกรณีฉุกเฉิน
เฝ้าระวังและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ (hypertonic uterine dysfunction)
หมายถึง
การที่มดลูกหดรัดตัวแรง หดรัดตัวบ่อย แต่ไม่สม่ำเสมอ และมดลูกแต่ละส่วนทดรัดตัวไม่สัมพันธ์กัน (asynchronous) ทำให้ปากมดลูกไม่เปีดขยายเพิ่มและส่วนนำทารกไม่เคลื่อนต่ำ ขณะมดลูกทดรัดตัวตรวจพบแรงดันในมดลูกเฉลี่ยมากกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท ระยะห่าง (inteval) น้อยกว่า 2 นาที ในระยะพักมดลูกมีความตึงตัวมากกว่าปกติ ผู้คลอดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก มักพบในระยะปากมดลูกเปิดช้า (atent phase) ของระยะที่หนึ่งของการคลอด
1.2.1 มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน (incoordinated contractions) คือ มดลูกหดรัดตัวถี่และแรง แต่ไม่สม่ำเสมอ ใยกล้ามเนื้อมดลูกทำงานไม่ประสานกัน โดยมตลูกมีการหตรัดตัวแรงบริเวณส่วนกลางและล่างมากกว่าส่วนบน ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่มีประสิทธิภาพ การคลอดไม่ก้าวหน้า
สาเหตุ
มักพบในผู้คลอดที่มีความกลัวและวิตกกังวลมาก
ครรภ์แรก
ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
ทารกท่าผิดปกติและมีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน
การประเมินและการวินิจฉัย
กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวแรงบริเวณส่วนกลางและล่างมากกว่าส่วนบน แรงดันในมดลูกเฉลี่ยมากกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท
ในระยะพักมดลูกคลายตัวไม่เต็มที่
ผู้คลอดเจ็บครรภ์ตลอดเวลา
ไม่มีความ
ก้าวหน้าของการคลอด
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบต่อผู้คลอด
เจ็บครรภ์มากกว่าปกติ
เจ็บครรภ์ตลอดเวลา
การคลอดล่าช้า
อ่อนเพลียและอาจมีภาวะขาดน้ำ
ความเครียด กลัวและวิตกกังวล
ผลกระทบต่อทารก
อาจมีภาวะขาดออกซิเจนหรือเสียชีวิต
แนวทางการรักษา
ถ้าผู้คลอดมีความกลัวหรือวิตกกังวลมากควรดูแลให้ยาระงับปวดเพื่อให้ผู้คลอด
บรรเทาปวดและได้พักผ่อน
ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ อาจช่วยให้การหด รัดตัวของมดลูกกลับมาเป็นปกติและสามารถคลอดเองได้ทางช่องคลอด
รายที่มีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน ทารกในครรภ์มีภาวะ fetal distress หรือมดลูกยังหดรัดตัวผิดปกติแม้ได้รับการช่วยเหลือแล้ว อาจพิจารณาการผ่าตัดคลอด
1.2.2 มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย (tetanic contraction) คือ มดลูกหดรัดตัวแข็งตึง
ตลอดเวลา มีความตึงตัวมากกว่าปกติ หดรัดตัวนานและถี่ ระยะพักสั้นหรือแทบไม่มีระยะพักเลย
สาเหตุ
1.การคลอดติดขัดจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
2.มีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน
3.ยากระตุ้นการหดตัวในปริมาณมากเกินไป
4.อาจเกิดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
5.มีเลือดขังอยู่บริเวณใต้เนื้อรกทำให้มดลูกหดรัดตัวแรงและบ่อย เพื่อขับไล่ก้อนเลือดนั้นออกมา
การประเมินและการวินิจฉัย
สามารถประเมินจากผู้คลอดรู้สึกเจ็บ
มดลูกหดดตัวนานกว่า 90 วินาที และระยะห่างน้อยกว่า 2 นาที
ถ้ามีการคลอดติดจะพบว่าไม่มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบต่อผู้คลอด
เจ็บครรภ์มากกว่าปกติ
เจ็บครรภ์ตลอดเวลา
การคลอดล่าช้า
อ่อนเพลียและอาจมีภาวะขาดน้ำ
ความเครียด กลัวและวิตกกังวล
ผลกระทบต่อทารก
ถ้าเกิดจากการลอกตัว
ของรกอาจทำให้ผู้คลอดมีภาวะตกเลือดและเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
รายที่ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกมากเกินไปควรปรับลดหรือหยุดการให้ยา
หากวินิจฉัยพบการคลอดติดขัดหรือมีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด
1.2.3 มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวน (constriction ring) คือ กล้ามเนื้อมดลูกชั้นที่เรียงตัวแบบวงกลม (circular layer) หดรัดตัวแรงแต่ไม่สม่ำเสมอและมีการหดรัดตัวไม่คลายเฉพาะที่เกิดเป็นวงแหวนบริเวณท้องระหว่างกระดูกเชิงกรานกับทรวงอก
สาเหตุ
ส่วนใหญ่พบในรายที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย
ภายหลังจากทารกแฝดคนแรกคลอด
การได้รับยากระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอดมากเกินไป
ภายหลังการทำหัตถการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายใน
การประเมินและการวินิจฉัย
มดลูกหดรัดตัวแรงแต่ไม่สม่ำเสมอ
คลอดเจ็บครรภ์มากตลอดเวลา
ตรวจทางหน้าท้องจะไม่พบวงแหวนที่รอย
ของมดลูกส่วนบนกับส่วนล่าง
ตรวจทางช่องคลอดจะพบผนังมดลูกหดรัดตัวรัดรอบคอทารก
ถ้าเกิดในระยะรกจะพบว่ารกมักจะค้าง
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบต่อผู้คลอด
เจ็บครรภ์มากกว่าปกติ
เจ็บครรภ์ตลอดเวลา
การคลอดล่าช้า
อ่อนเพลียและอาจมีภาวะขาดน้ำ
ความเครียด กลัวและวิตกกังวล
ถ้าเกิดในระยะรก
ปากมดลูกอาจจะปิดทำให้รกค้างและตกเลือดหลังคลอดได้
ผลกระทบต่อทารก
อาจมีภาวะขาดออกซิเจนหรือเสียชีวิต
แนวทางการรักษา
ถ้าเกิดในระยะรอคลอด ควรให้ยาระงับปวดเพื่อช่วยให้วงแหวนที่รัดอยู่คลายตัวออกได้
ถ้าวงแหวนไม่คลายและทารกมีภาวะขาดออกซิเจน อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด
ถ้าเกิดในระยะคลอดให้ยาดมสลบเพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
ใช้สูติศาสตร์หัตการช่วยคลอดทารก
แต่ถ้าเกิดในระยะคลอดรกควรทำหัตถการล้วงรก
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดยาวนาน แผนการรักษาและการปฏิบัติตัว พร้อมเปิดโอกาสให้ชักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึก เพื่อลดความกลัวและวิตกกังวล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจของทารก โดยประเมินทุก 1 ชั่วโมงในระยะปากมดลูกเปิดช้าและทุก 30 นาทีในระยะปากมดลูกเปิดเร็วบรรเทาความเจ็บปวดและได้พักผ่อนโดยจัดให้นอนท่าตะแคงศีรษะสูง เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือด
3.ดูแลให้ได้รับยาระงับความเจ็บปวดหรือยานอนหลับตามแผนการรักษาเพื่อให้ผู้คลอดไปที่รกพร้อมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบลดแสงและเสียงรบกวนเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดได้พักอย่างเต็มที่
ดูแลให้สารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง เพราะกระเพาะปัสสาวะเต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก และถ้าผู้คลอดถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ พิจารณาสวนปัสสาวะให้
ติดตามและประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง หากพบเสียงหัวใจทารกผิดปกติ หรือขี้เทาในน้ำคร่ำจัดให้นอนตะแคงซ้าย ดูแลให้ได้ออกซิเจนและรายงานแพทย์
เตรียมผู้คลอดรวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการหรือการผ่าตัดคลอดในกรณีฉุกเฉิน
8.ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกันภายหลังจากที่ผู้คลอดได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วแต่การหดรัดตัวของมดลูกยังผิดปกติเหมือนเดิมในรายที่ไม่มีข้อห้ามแพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรประเมินการหดรัดตัวอย่างใกล้ชิดและถ้าให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกแล้วยังไม่ได้ผลแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดควรดูแลเตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด
ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวไม่คลายควรประเมินหาสาเหตุของมดลูกหดรัดตัวไม่คลายหากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวอยู่ให้หยุดยาและจัดให้นอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจนอัตรา 4 ลิตรต่อนาที via nasal cannula และรายงานแพทย์ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะมดลูกแตกอาการและอาการแสดงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เช่น มีเลือดออกทางช่องคโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็วเป็นต้นรวมทั้งภาวะคลอดติดขัดโดยประเมินท่าและทรงของทารก และรายงานแพทย์
10.ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนหากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวอยู่ให้หยุดยาและแพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความเจ็บปวดเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวให้การดูแลประเมินตัวอย่างใกล้ชิดถ้าปากมดลูกเปิดหมดเตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ ถ้าวงแหวนไม่คลายตัวหรือปากมดลูกเปิดไม่หมด เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำ
คลอด และถ้ามีมดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนเกิดในระยะรก ควรเตรียมผู้คลอดให้พร้อม สำหรับการล้วงรก
ความผิดปกติของแรงเบ่ง (ineffective maternal bearing down effort หรือ inadequate voluntary expulsive force)
เนื่องจากแรงเบ่งในระยะที่สองของการคลอด ทำให้ความดันในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นจากแรงจากการหดรัดตัวของมดลูกอีก1-2เท่า ทำให้ส่วนนำมีการเคลือนต่ำอย่างรวดเร็วและช่วยส่งเสริมกลไกการกัมและหมุนของศีรษะทารก ดังนั้นเมื่อผู้คลอดมีความผิดปกติของแรงเบ่งจึงทำให้เกิดการคลอดยาวนานได้
สาเหตุ
1.การเบ่งไม่ถูกวิธี
2.ท่าในการเบ่งคลอดไม่เหมาะสม
3.ได้รับยาระงับปวดมากเกินไป
4.ได้รับยาสลบ
5.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หรือเป็นอัมพาต
6.เหนื่อยล้า อ่อนเพลียจากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
7.พักผ่อนหรือได้รับสารน้ำสารอาหารไม่เพียงพอ
8.มีพยาธิสภาพหรือโรคประจำตัวที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ถ้าออกแรงเบ่ง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซีด ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
การประเมินและวินิจฉัย
ผู้คลอดเบ่งคลอดไม่ถูกวิธี
เบ่งสั้น
เบ่งนานเกิน
เบ่งแล้วหน้าแดง
เบ่งออกเสียง
ท่าในการเบ่งไม่เหมาะสม
ท่านอนหงายราบ
บิดตัวไปมาขณะเบ่ง
ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงเบ่ง
เบ่งแล้วไม่มีการเปิดขยายของปากช่องคลอดหรือส่วนนำไม่มีการเคลื่อนต่ำ
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผลกระทบต่อผู้คลอด
ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน
ผู้คลอดอ่อนเพลีย หมดแรง
เกิดความกลัวและวิตกกั๋งวล เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคลอด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกอาจมีภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน หรือรุนแรง
ถึงขั้นเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
การแก้ไขตามสาเหตุ
แนะนำการเบ่งที่ถูกวิธี
เบ่งคลอดในท่าที่เหมาะสม
ห้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
ช่วยคลอดโดยการใช้สูติศาสตร์หัตถการในรายที่มีข้อบ่งชี้
การพยาบาล
1.ระยะรอคลอดแนะนำเทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา และพยายาม
คลายหรือพักในช่วงมดลูกคลายตัว
2.ถ้าปากมดลูกยังเปิดไม่หมดไม่ควรให้ผู้คลอดเบ่ง หากผู้คลอดรู้สึกอยากเบ่ง
แนะนำให้หายใจเข้าลึกๆทางจมูกและหายใจออกทางปากช้าๆ หรือลดลมเบ่งโดยการหายใจแบบเร็วตื้นและเป๋าออกคือ หายใจช้าๆลึกๆ 2 ครั้งทางจมูกแล้วหายใจออกทางปากเร็ว ๆตื้นๆ โดยใช้กล้ามเนื้อส่วนลำคอประมาณ 4-5 ครั้งแล้วเป่าลมออกปาก 1 ครั้ง คล้ายการหายใจหอบ รวมทั้งให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหาร รวมทั้งออกชิเจนอย่างเพียงพอ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกตามระยะคลอด
ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ เช่น เช็ดหน้าดูแลความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและสงบ เป็นต้น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดและช่วยกระตุ้นให้ผู้คลอดสดชื่น มีแรงเบ่งมากขึ้น
ประเมิความก้าวหน้าของการคลอดและเสียงหัวใจของทารกในครรภ์เป็นระยะ หากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันที
ดูแลและส่งเสริมให้ผู้คลอดอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการคลอด คือ ท่าศีรษะสูง (upright position) เช่น ท่านั่งยอง ๆ หรือนอนในท่าที่ทำให้ลำตัวโค้งเป็นรูปตัวซี คือ นอนหงายโดยให้ลำตัวและศีรษะสูงจากแนวราบประมาณ 30 องศา ชันขาขึ้น แยกหัวเข่าและเท้าออกให้กว้าง ขณะเบ่งให้ สอดมือเข้าไปใต้ข้อพับเข่าแล้วดึงต้นขาขึ้นหาลำตัว พร้อมทั้งยกศีรษะขึ้นให้คางจรดหน้าอก
ระยะเบ่งคลอด ในรายที่ไม่ข้อห้าม สอนให้ผู้คลอดเบ่งคลอดอย่างถูกวิธี ควรให้คำชมเชยเมื่อผู้คลอดเบ่งถูกวิธีและอธิบายข้อบกพร่องให้ผู้คลอดทราบหากเบ่งไม่ถูกวิธี
9.ในรายที่มีข้อห้ามในการเบ่ง เตรียมผู้คลอดให้พร้อม และช่วยแพทย์ในการใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
นางสาวกรรภิรมย์ อินธรรม รหัสนักศึกษา 63121301004