Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cerebral palsy, IMG_2745, IMG_2746, IMG_2747 - Coggle Diagram
Cerebral palsy
การพยาบาล
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามการรักษาของแพทย์แบบประคับประคองเช่นยาคลายกล้ามเนื้อ
-
3.ดูแลดูดเสมหะหรือนํ้าลายโดยใช้ลูกยางแดง หรือเครื่องดูดเสมหะไฟฟ้าในเด็กที่มีนํ้าลายหรือเสมหะมากแต่ไม่สามารถขับออกมา
4 ดูแลทำกายภาพฟื้นฟูให้ผู้ป่วยเพื่อลดการหดตัวของกล้ามเนื้อและอาจทำให้เกิดข้อต่อผิดรูป เช่น การยืดแขน โดยใช้มือกางเหยียดนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วทั้งสี่ออก กระดกข้อมือหงายมือพร้อมเหยียดศอกจนเต็มช่วงการเคลื่อนไหวค้างไว้นับ 1 – 10 ทำ 10 ครั้ง ส่วนการยืดขา โดยจับข้อเข่าให้งอเล็กน้อย อีกมือจับข้อเท้าให้กระดกขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่อย ๆ ดันให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอ ค้างไว้นับ 1 – 20 ทำ 10 ครั้ง
5.ดูแลช่วยเหลือการทำกิจกรรมต่างๆเช่นการรับประทานอาหาร การเดิน หรือการเล่นกิจกรรมต่างๆและดูแลเรื่องการจัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีสิ่งกีดขวางและสะดวกต่อการหยิบจับเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
-
-
- ดูแลให้คำแนะนำญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับการมาตรวจตามนัด และหากเกิดอาการผิดปกติเช่น การชักเกร็งอย่างรุนแรง ตาเหล่ให้รีบมาพบแพทย์
สาเหตุ
โรคสมองพิการจะเกิดขึ้นเมื่อ ซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ (Cerebral cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวได้รับความเสียหายหรือมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์มักเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์แต่ก็อาจเกิดขึ้นในระหว่างคลอดหรือหลังคลอดได้เช่นกันแม้ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแต่ก็มีความเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคได้
โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่
1.1)ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์ เป็นต้น
1.2)ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก
1.3)ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมารดา เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ
1.4)มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เด็กอาจตัวใหญ่ผิดปกติ ทำให้เกิดอันตรายจากการคลอดได้ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้มีเลือดออกในสมองของเด็กได้
1.5)ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ (ตะกั่ว ปรอท บุหรี่ สุรา)
1.6)ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก
1.7)ความผิดปกติของโครโมโซม
1.8)รก และสายสะดือไม่สมบูรณ์
- ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)
นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่
2.1)เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ
2.2)ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ
2.3)ภาวะกลุ่มเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทำให้เด็กคลอดออกมาตัวเหลือง
2.4)การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับปวดระหว่างคลอด อาจเสี่ยงกับการขาดออกซิเจนในเด็กได้
- ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
3.1)ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก
3.2)การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ
โรคหัด เป็นต้น
3.3)อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มี
เลือดออกในสมอง
-
อาการและอาการแสดง
1.กล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่สามารถควบคมุการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออาจเป็นเฉพาะแขนหรือขาหรือเป็นทั้งแขนขา กลุ่มนี้พบมากที่สุด
- เคลื่อนไหวผิดปกติ ลักษณะบิดเกร็ง แขน มือ ลําตัว ใบหน้าไม่อยู่นิ่ง โดยเป็นที่แขนมากกว่าขา เห็นอาการได้ชัดเจนเมื่อเคลื่อนไหว
- เดินเซ ล้มง่าย กล้ามเนื้อมีความตึงตัวน้อย การทรงตัวไม่ดี
- รวมกันหลายลักษณะ ได้แก่ เดินเซ ร่วมกับกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือมีการเคลื่อนไหวของแขนขาผิดปกติร่วมกับกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นต้น
เด็กสมองพิการถ้าเป็นตั้งแต่แรกเกิดจะสังเกตได้จากการมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อไม่เหมือนเหมือนเด็กปกติ เช่น คอไม่แข็ง นั่งหรือยืนได้ช้ากว่าปกติ เป็นต้น ถ้ามีสมองพิการภายหลังคลอด อาจจะมีพัฒนาการที่ถดถอยจากเดิมเช่น เคยยืน วิ่งเล่น พูดคุยได้ก็จะไม่สามารถทําได้ ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับการสัมผัส เจ็บปวด ร้อน เย็น ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่อาจมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชัก พูดไม่ได้ ตามองไม่เห็น เชาว์ปัญญาต่ำ เป็นต้น
-
การวินิจฉัย
ภาวะสมองพิการแพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติประเมินอาการตรวจร่างกายถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างคลอดหรือหลังคลอดการวินิจฉัยจัดทำได้ยากในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ส่วนมากจะทำได้ช่วงอายุ 1-2 ปีขึ้นไปเพราะเริ่มเห็นความผิดปกติ
ชัดเจนและอาจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่นๆดังนี้
1 การสแกนสมองเพื่อตรวจและประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสมองโดยอาจตรวจด้วยการสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์การอัลตร้าซาวด์ศีรษะและหากเด็กมีอาการชักแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองร่วมด้วย
2 การตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรมจะตรวจกระบวนการทำงานของร่างกายหรือตรวจหาโรคอื่นๆที่อาจมีอาการคล้ายกับโรคสมองพิการ
3 การตรวจอื่นๆเช่นการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อตรวจความผิดปกติทางการมองเห็นการได้ยินการพูดหรือการเคลื่อนไหวตรวจความบกพร่องทางสติปัญญารวมถึงพัฒนาการที่ล่าช้าด้านอื่นๆ
การรักษา
การดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะสมองพิการ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของตัวเด็กเอง ครอบครัว และทีมผู้รักษา โดยการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่ารักษาเมื่อเด็กมีอายุมากแล้ว ซึ่งการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจต้องพิจารณาจากความรุนแรงของภาวะสมองพิการ และอายุของผู้ป่วยร่วมด้วย
การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กสมองพิการ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม กุมารแพทย์สาขาประสาทวิทยา ศัลยแพทย์ด้านระบบประสาท ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะสมองพิการ มีดังนี้
1 การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวที่ปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การหดรั้งของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การผิดรูปของกระดูก เป็นต้น
2 การฝึกกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการดูดกลืน ทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือตัวเอง เป็นต้น
-
-
5 การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดความตึงตัว
ของกล้ามเนื้อ การย้ายเอ็น หรือการผ่าตัดกระดูก
การรักษาอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสายตาและการได้ยิน การรักษาภาวะชัก และการรักษาด้านจิตเวช
พยาธิสภาพ
ส่วนใหญ่สมองมีขนาดเล็ก สมองฝ่อ (cerebral atrophy) ventricle จะดูใหญ่ขึ้นเนื่องจากเนื้อสมองน้อย อาจมีหินปูนจับที่สมองในเด็ก ที่มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์
-
-
-