Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้ทั่วไปของการเต้นลีลาศ, ประโยชน์ที่ได้จากลีลาศ - Coggle Diagram
ความรู้ทั่วไปของการเต้นลีลาศ
ลีลาศบอลรูม VS. ลีลาศละตินอเมริกัน
แบบบอลรูม (Ballroom): จังหวะค่อนข้างช้า ปรับจังหวะได้ตามความชำนาญ สามารถเต้นช้า ๆ ต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน เช่น จังหวะวอลซ์ จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท เป็นต้น
แบบละตินอเมริกา (Latin America): จังหวะค่อนข้างเร็ว แสดงความแข็งแรงของร่างกาย เหมาะกับผู้ที่ชอบเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว เช่น จังหวะชะ ชะ ช่า จังหวะไจว์ฟ เป็นต้น
ประเภทของลีลาศ
ประเภทบอลรูม
1) ควิกสเตป
2) วอลซ์
4) สโลว์ฟอกซ์ทรอต
5) แทงโก้
3) ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์
ประเภทละตินอเมริกา
1) คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
2) ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
3) แซมบ้า (Samba)
4) ไจฟว์ (Jive)
5) พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
การจับคู่ลีลาศ
แบบบอลรูม
แบบเปิด
แบบปิด
แบบละตินอเมริกา
แบบปิด
แบบข้าง
แบบเปิด
แบบสองมือ
โครงสร้างของดนตรี
ความเร็ว (Tempo) หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง
เสียงเน้น (Accent) หมายถึง เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
จังหวะ (beat): เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น จังหวะ 2/4 จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4
ห้องเพลง (bar) หมายถึง กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอน ปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
ความเป็นมา: มีมานานนับเป็นพันปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี โดยการเต้นรำแบบบอลรูม เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างคนทุกชาติพันธุ์ ซึ่งประวัติการลีลาศหรือเต้นรำ มีความสัมพันธ์กับเต้นรำแบบอื่นๆ อย่างมาก เช่น การเต้นระบำบัลเล่ย์การเต้นรำพื้นเมือง ฯลฯ
ประโยชน์ที่ได้จากลีลาศ
ป้องกันโรคหลายโรคที่เกิดจากไขมันสูง
สร้างสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว
พบเพื่อนใหม่ มีสังคมใหญ่กว่าเดิม
ลดโรคซึมเศร้า
ช่วยเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน
เพิ่มสมรรถภาพการขยับร่างกาย ดีต่อกล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด