Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษ…
การวางแผนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. เพื่อให้คนพิการได้รับการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามความต้องการจำเป็นพิเศษเป็นเฉพาะบุคคล
๒. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ การตรวจสอบความก้าวหน้า ทางการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
๓. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครู คณะสหวิชาชีพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนแต่ละบุคคลได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
๔.เพื่อให้สถานศึกษาสามารถวางแผนจัดบริการทางการศึกษา ตลอดจนจัดหาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
ความหมายของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผนการจัดการศึกษาที่จัดทำขึ้นให้
สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการเป็นเฉพาะบุคคล
องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. ข้อมูลทั่วไป
๒. ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
๓. ข้อมูลด้านการศึกษา
๔. ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
๕. การกำหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ
๖. ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ
อื่นใดทางการศึกษา
๗. คณะกรรมการจัดทำแผน
๘. ความเห็นของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน
ประโยชน์ของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ประโยชน์ต่อผู้เรียน
ได้รับการช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการทางการศึกษา เต็มศักยภาพอย่างเป็นระบบ
และเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลือ
อื่นใดทางการศึกษาตามกฎกระทรวง
ได้รับการส่งต่อทางการศึกษา และด้านอื่นๆ อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
มีข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
รู้ขอบเขตความรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
สามารถปรับแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
สามารถขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วย
อื่นใดทางการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุตรหลานที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง
มีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง
รับทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของบุตรหลาน ซึ่งสามารถนำมาวางแผนพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตบุตรหลานได้อย่างมีเป้าหมาย
ประโยชน์ต่อสถานศึกษา
มีข้อมูลในการจัดผู้เรียนเข้าศึกษาในรูปแบบ ระบบ และระดับที่เหมาะสม
มีข้อมูลในการวางแผนบริหาร จัดสรรงบประมาณ การพัฒนาหลักสูตร และแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียน
มีข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษา การวัดผล ประเมินผล และการปรับปรุงการจัด
การศึกษาให้กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม
มีข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษาด้านบริหารงานทั่วไป แผนงานและงบประมาณ
วิชาการ และบุคลากร ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อคณะสหวิชาชีพ
ได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพ ในการวิเคราะห์ วางแผน ประเมิน และร่วมพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
กระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ การรวบรวมข้อมูล
๑.๒ การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา
๓. ขั้นการนำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปใช้
๓.๑ การจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP)
๓.๒ การนำแผนการสอนเฉพาะบุคคลไปใช้
๒. ขั้นการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๒.๒ ตรวจสอบหรือการประเมินความสามารถพื้นฐาน
๒.๓ จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๔. ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๔.๑ การประเมินผลการเรียนรู้ตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล
๔.๒ การประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (เป้าหมายระยะสั้น)
๔.๓ การประเมินผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายระยะยาว ๑ ปี
๔.๔ การประเมินผลการเรียนรู้และระดับคุณภาพตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๔.๕ การตัดสินผลการเรียนรู้
๕. ขั้นสรุปและรายงานผล
รายงานผลเพื่อให้ผู้ปกครองผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างน้อยปีการศึกษาละ ๒ ครั้ง
๖. ขั้นการส่งต่อ
ผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับชั้น หรือย้ายสถานศึกษา ให้นำส่งแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รายงานผลการพัฒนาผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาต่อไป
หากผู้เรียนต้องการรับบริการด้านอื่น เช่น ด้านอาชีพ ด้านการแพทย์ ด้านสังคม เป็นต้น ให้สถานศึกษานำส่งแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลรายงานผลการพัฒนาผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้สถานศึกษาพิจารณาดำเนินการจัดทำแผนการให้บริการช่วงเชื่อมต่อตามความต้องการ
จำเป็นพิเศษของผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล