Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปรียบเทียบดนตรีพื้นบ้าน (อีสานเหนือ - อีสานใต้) - Coggle Diagram
การเปรียบเทียบดนตรีพื้นบ้าน
(อีสานเหนือ - อีสานใต้)
วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มอีสานเหนือ (ไทยลาว)
เป็นวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่บริเวณที่ราบสูงมีภูเขาทางด้านใต้และทางด้านตะวันตกไปจรดกับลําน้ําโขงตอนเหนือ และทางตะวันออกทางเทือกเขาภูพานกั้นแบ่งบริเวณนี้ออกเป็นที่ราบตอนบนที่เรียกว่า แอ่งสกลนคร
ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอีสานหรือภาษาลาว เพราะคนกลุ่มนี้สืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ําโขง
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ (อีสานเหนือ)
มีเครื่องดนตรี เช่น พิณอีสาน จ้องหน่อง ไหซอง ซอบั้ง ซอ อีสาน โปงลาง กลองหาง หมากกั๊บแก๊บ แคน โหวด
การประสมวงดนตรีพื้นบ้าน
กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ
ประกอบด้วย แคนวง วงพิณ วงโปงลาง วงมโหรีอีสาน
วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มอีสานใต้ (ไทยเขมร)
เป็นที่ราบดอนใต้เรียกว่า แอ่งโคราช
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้มีการสืบทอดวัฒนธรรมแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.กลุ่มที่สืบทอดมาจากเขมร - ส่วย
กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ
เป็นกลุ่มชนที่ได้รับการสืบทอดมาจากเขมร - ส่วยนี้จะพูดภาษาเขมรและภาษาส่วย
2.กลุ่มวัฒนธรรมโคราช
กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและบางส่วนในบุรีรัมย์
ซึ่งจะพูดภาษาโคราช
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
กลุ่มวัฒนธรรมกันตรึม (อีสานใต้)
มีเครื่องดนตรี เช่น พิณน้ําเต้า กระจับปี่ ซอกันตรึม กลองกันตรึม กลองตุ้มโมง ปี่อ้อ เสนง ปี่ไน
กลุ่มวัฒนธรรมโคราช
ไม่ได้มีเครื่องดนตรีใดเป็นพิเศษ เพราะมักเป็นการร้องเล่นมากกว่าที่จะเป็นการบรรเลงดนตรี
การประสมวงดนตรีพื้นบ้าน
กลุ่มวัฒนธรรมกันตรึม
ประกอบด้วย วงกันตรึม วงตุ้มโมง วงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้
กลุ่มวัฒนธรรมโคราช
เป็นการร้องเพลงโคราช ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีประกอบ