Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ - Coggle Diagram
ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
4.1 ความหมายของซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์เเวร์ หมายถึง กลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction) หรือ
โปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่...
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้จัดการ กับระบบ หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำ งานได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ และรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษา ต่าง ๆ ด้วย การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐาน ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์แล้ว แปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอ ภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้ม ข้อมูลบนหน่วยความจำ ตลอดจนทำหน้าที่ควบคุม ด้านการ สื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามความต้องการด้านต่างๆของผู้ใช้ที่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐาน ข้อมูล คอมพิวเตอร์ เกม และเว็บเบราว์เซอร์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ อาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ในปัจจุบันซอฟต์แวร์สำเร็จมีจำนวนมาก เช่น ซอฟต์แวร์ประมวล คำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นต้น
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming (Programming Languages)
ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพัฒนา โปรแกรม โดยผู้เขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์” เป็นผู้ที่พัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ประมวลผล คอมพิวเตอร์รับคำสั่งการทำงานเป็นสัญญาณไฟฟ้า เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” (Machine Language) ซึ่ง มนุษย์ทำความเข้าใจยาก เนื่องจากเป็นรหัสตัวเลขแบบต่าง ๆ ไม่สะดวกต่อการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
จึงได้ มีการพัฒนาภาษาที่่ใช้กับคอมพิวเตอร์ขึ้นมาหลายภาษาแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ...
ภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)
เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มีการใช้รหัสตัวอักษรสำหรับใช้แทน ภาษาเครื่องแต่ก็ยังยุ่งยากในการเรียนรู้ จึงไม่สะดวกในการใช้งาน เช่น ภาษาแอ สเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น จึงมีการศึกษาและพัฒนาภาษาเพื่อให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ง่ายขึ้น การใช้ภาษาระดับต่ำนี้ต้องใช้ตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์(Assembler) ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 ซึ่งเป็นภาษาสัญลักษณ์ หรือใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่าย ขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องที่เป็นตัวเลข
ภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (Fourth-Generation Language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่า ภาษาในยุคก่อน ๆ ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้าง ก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดย ไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว การเขียนโปรแกรมจะสั้นและง่าย เพราะ เน้นที่ผลลัพธ์ของงานว่าต้องการอะไร ทำให้ได้งานเพิ่มขึ้น TABLE FILE SALES SUM UNIT BY YEAR BY CUSTOMER BY PROJECT ON CUSTOMER SUBTOTAL PAGE BREAK END ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4 ได้แก่ ชุดคำสั่งใน ภาษาเอสคิวแอล (Structured QueryLanguage : SQ1) และ นอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความ นิยม เช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำ นวนรายการจำนวน สินค้าที่ขายให้กับลูกค้าแต่ละรายในหนึ่งปีโดยให้แสดงยอดรวม ของลูกค้าแต่ละราย และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงาน ลูกค้าแต่ละรายนั้น จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้ดังนี้…
ภาษาระดับสูง (High-level Language)
เป็นภาษาที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เหมาะ สำหรับการใช้งานในลักษณะต่างกัน มีหลายภาษาตามวัตถุประสงค์ ของการพัฒนาเพื่อใช้งาน เช่น ภาษาซี (C Language) ภาษาจาวา (Java Language) ภาษาเบสิก (BASIC Language) ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN Language) เป็นต้น ภาษาระดับสูงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 ที่ทำความเข้าใจ ได้ง่าย มีลักษณะของการใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับ ภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความ หมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่ง
ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นการเขียนโปรแกรมแบบโอ โอพี (Object-Oriented Programming : OOP) คือ ให้มองทุกสิ่ง เป็นวัตถุ (Object) ซึ่งวัตถุจะประกอบด้วย ข้อมูล (Data) และ วิธีการ (Method) โดยจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติ ของวัตถุ รวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การปิดซ่อนข้อมูล (Encapsulation) และการนำกลับมา ใช้ใหม่ (Reusability) ภาษาเชิงวัตถุสามารถนำมาพัฒนาระบบงานที่ มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ภาษาเชิงวัตถุวิชวลเบสิก (Visual Basic) ซีพลัสพลัส (C++) และจาวา (JAVA) เป็นต้น
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาชนิดต่าง ๆ มีรูปแบบที่แตก ต่างกันออกไป จึงใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์นั้น ๆ สามารถแบ่งประเภทของระบบ ปฏิบัติการตามลักษณะการทำงาน เช่น ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการสำหรับ อุปกรณ์แบบพกพา และระบบปฏิบัติการแบบฝัง
1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Standalone OS) ระบบ ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาให้ทำงานในแต่ละครั้งเพียงงานเดียว เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่จำ เป็นต้องมีศักยภาพสูง เช่น ระบบ ปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1980 ใช้สำหรับ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2) ประเภทหลายงาน (Multi-Tasking) เป็นระบบปฏิบัติการที่ สามารถทำ งานได้หลายงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และ สามารถใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น การพิมพ์เอกสาร ในขณะใช้โปรแกรมฟังเพลงไปด้วย ระบบ ปฏิบัติการจะจัดการกับการสลับทรัพยากรระหว่างงานหรือการ ทำงานแบบหลายงานในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ ประเภทหลายงาน เช่น วินโดวส์ 8 (Windows8) วินโดวส์10 (Windows 10) เป็นต้น
3) ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-User) ระบบปฏิบัติการสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้ได้มากกว่า 2 เครื่อง พร้อม ๆ กับระบบปฏิบัติการประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์์ หรือ คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ในระบบ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบ ปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (Multi-User) หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ระบบปฏิบัติการแบบผู้ใช้หลายคนเดิมถูกใช้บนเมนเฟรมคอม พิวเตอร์ขนาดใหญ่และมีราคาแพงที่ใช้โดยหน่วยงานรัฐบาล และบริษัทขนาดใหญ่สำหรับงานประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก เช่น สถิติอุตสาหกรรม การประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ตัวอย่างระบบปฏิบัติการประเภทใช้งานหลายคน เช่น ลินุกซ์ ยูนิกซ์ วิน โดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2019 (WindowsServer 2019) เป็นต้น