Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินคุณค่า สังเคราะห์ เรื่องหัวใจชายหนุ่ม -…
การวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินคุณค่า สังเคราะห์
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
มีการเริ่มต้นเรื่องอย่างน่าหลงใหลและน่าติดตาม
อีกทั้งการดำเนินเรื่องก็ชวนให้ติดตามไปจนจบเรื่อง สำนวนภาษาในการเขียนจดหมายและการเลือกใช้
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำแสลงมากมายสอดคล้องกับลักษณะของประพันธ์ ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่ม และเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศใหม่ๆ นอกจานั้นเนื้อความของจดหมายยังเป็นมุมมองหรือทัศนะที่ตรงไปตรงมา
เหมือนจดหมายส่วนตัวทั่วๆไป กลวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้หัวใจชายหนุ่มมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่งและสามารถสื่อแนวคิดที่ต้องการนำเสนอได้แจ่มแจ้งชัดเจน
ตัวอย่างสำนวน เช่น
ขนมปังครึ่งก้อน ยังดีกว่าไม่มีเลย มาจากสำนวน Half of loaf is better than none ในภาษาอังกฤษ หมายถึง
แม้จะไม่ได้สิ่งใดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่มีอยู่บ้างก็ยัง
ดีกว่าไม่มีเลย หากเทียบกับสำนวนไทยจะคล้ายกับ
‘กำขี้ดีกว่ากำตด’ ประมาณว่ามีบ้าง ถึงจะไม่ได้ดีมากแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย
ตัวอย่างคำทับศัพท์ เช่น
ศิวิไลซ์ หมายถึง ทันสมัย
ฮันนีมูน หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการเดินทางพักผ่อนของ
คู่รักที่พึ่งแต่งงานกัน
คุณค่าด้านสังคม
บทกวีย่อมสะท้อนสภาพสังคมของบทกวี ซึ่งสามารถเข้าถึงสังคมในสมัยรัชกาลที่6 ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านการปกครองที่กล่าวได้ในเรื่องว่า”ท่านว่าขายของได้ดีอย่างไรๆก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากขุนนางกรมท่าซ้าย ทั้งกว่าจะได้เป็นหลวงก็อีกหลายแล้วอาจจะเป็นหลวงตั้งแต่อายุ30เมื่ออายุ45จึงได้เป็นพระ แล้วก็ยังเป็นพระจนถึงทุกวันนี้และไม่แลเห็นทางที่จะเป็นพระยาด้วย”
แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในอดีตกับปัจจุบัน
มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสภาพจิตใจคนในสมัยต่างๆ
ก็แตกต่างกันไปด้วย ทางที่ดีหากเราสามารถ
กระทำความดีได้ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม
ก็ควรหมั่นทำความดีไว้เพราะแม้ตัวได้วายลงแต่ความดีมิได้วายตามไปด้วยอย่างแน่นอน
คุณค่าด้านเนื้อหา
มีการสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาดและ
มีทั้งความสมควรและไม่สมควร ลักษณะที่สมจริง
สมเหตุสมผล โดยประพันธ์ถือเป็นคนที่มีแนวคิดทันสมัย
ซึ่งในบางครั้งตรงกันข้ามกับความเป็นไทยที่เหมาะสมแต่ยังสามารถกลับตัวกลับใจมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
จึงมีความสมบูรณ์ทั้งตัวละครและเนื้อหาตัวละครอีกด้วย
คุณค่าด้านแนวคิด
เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่านักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ”แฟแช่น”อย่างสุดโต่งเมื่อปฎิบัติไปแล้ว
มีความผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่
ที่เหมาะสมทำให้ได้คิดว่าเราควรได้รับและปรับใช้
ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
การวิจารณ์ตัวละคร
แม่อุไร
เป็นสาวทันสมัยในตะวันตก และทำให้ และทำให้ประพันธ์ถูกใจและชื่นชอบมาก จึงได้คบหาสมาคมสนิทสนมจนได้แต่งงานกัน หลังจากแต่งงานพฤติกรรมของอุไรก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอุไรก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่แม่บ้านและยังข่มขู่ดูถูกสามีคนอื่น แม้กระทั่งหลังจากแท้งลูกจนถึงกระทั่ง
ไปข้างแรมบ้านชายอื่นทำให้ประพันธ์ขออย่าอุไรจึงไปอยู่กับพระยาตะเวนนครซึ่งได้เรียกว่าเป็นชายชู้
ต่อมาจึงได้กลับมาขอคืนดีกับประพันธ์อีก
เพราะถูกพระยาตะเวนนครทอดทิ้ง แต่ประพันธ์ปฏิเสธ
อุไรจึงกลับไปอยู่บ้านพ่อ แล้วแต่งงานกับ
หลวงพิเศษพาณิชย์พ่อค้าผู้มั่งคั่ง
แม่กิมเน้ย
หญิงที่โดนคลุมถุงชนกับนายประพันธ์เป็นชาวจีน
เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง หน้าตาเหมือนนางซุนฮูหยิน
รู้จักแต่งเสื้อผ้าหน้าผมดีและมีเครื่องประดับมากมาย
จนนายประพันธ์เปรียบเทียบกับต้นคริสมาร์ต
พระพินิฐ
เป็นพ่อค้าที่มั่งมีแต่มีความจริงใจ ดั่งคำที่ว่า
” จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นไม่ใช่รูปร่างเทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูปช่วใจช่วง
เหมือนดวงดาว” จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่ได้พบคนที่ดี
พระยาตระเวนนคร
เป็นคนเจ้าชู้ประเภทเสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า
” ถ้าเห็นผู้หญิงๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้ผู้หญิงคนนั้นให้ได้ แต่ได้แล้วมักเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่
เฉลียวฉลาด จากการที่ไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียทางราชการกับแม่อุไรุ ทำให้ไม่ค่อยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก
จึงมีโอกาสที่จะพบปะหญิงใหม่ได้ตลอดเวลา
นายประพันธ์ ประยูรศิริ
หนุ่มไทยที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้ประทับใจวัฒนธรรมของต่างประเทศอีกทั้งยังเปรียบ
”รักไทยเหมือนรักพ่อแม่ รักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย”
เมื่อพบอุไรสาวไทยผู้ทันสมัยมีแนวคิดค่านิยมแบบตะวันตก
เต็มที่ประพันธ์ดูจะมีความสุขมากขึ้นและทั้งสองได้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด จนอุไรตั้งครรภ์จึงต้องแต่งงานกันโดยเร็ว เมื่อเวลาผ่านไปประพันธ์รู้เข้าว่าเขากับแม่อุไร
ไม่เหมาะสมกันและทั้งคู่ก็ได้หย่ากัน ทำ ทำให้ประพันธ์ได้คิดว่า”ผู้หญิงที่เหมาะสมกับเขานั้นไม่ใช่ผู้หญิงคร่ำครึ
อย่างแม่กิมเน้ยหรือทันสมัยอย่างแม่อุไร แต่ควรเป็นผู้หญิงที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นตะวันตก นั่นคือ ศรีสมาน
การวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพสังคมไทยที่ปรากฏใน
เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
วิถีชิวิต
1.การรับวัฒนธรรมตะวันตก
มีการส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศ เมื่อกลับมาลูกหลานจึงรับวัฒนธรรมของประเทศที่ตนได้ไปเรียนเข้ามายังประเทศไทย
2.การเขียนจดหมาย
มีการเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกัน
3.การเรียงลำดับอิสริยยศ
มีการใช้เส้นสายในการเข้ามาทำงานในกรมหรือในกระทรวงต่างๆ
4.การท่องราตรี
มีการท่องเที่ยวกลางคืน คือ ซ่อง
มีผู้หญิงสาวค้าประเวณี เรียกว่า หญิงงามและนางโลม
สภาพสังคมไทย
1.ความอิสระเสรี
ผู้หญิงเริ่มออกทำงานมาขึ้น
2.การศึกษา
จากเมื่อก่อนเรียนที่วัดต่อมาก็เรียนที่โรงเรียน
3.การทำงาน
-ที่เหมือนเดิม เดิมคือการฝากงาน รับราชการ แต่สิ่งที่ต่างคือถ้าใครขยันจะได้เลื่อนตำแหน่งและก้าวหน้า
-กองลูกเสือป่า มีอายุ18ปีขึ้นไปในสมัยรัชกาลที่8
4.การแต่งกาย
ผู้ชาย:ใส่สูท-สวมเสื้อผ้าตามฐานะ
ผู้หญิง:นุ่งผ้าซิ่น-นุ่งกระโปรง ไว้ผมยาว แต่งหน้า
ใส่เครื่องประดับ
5.การแต่งงาน
จะดูตามความเหมาะสม-รักเดียวใจเดียว ด้านการศึกษา ด้านฐานะ
ข้อคิดและสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
1.เราควรเลือกรับเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตกที่ดีงามมาปรับใช้ในสังคมไทย
2.เราควรเรียนรู้กันและกันให้มั่นใจก่อนตัดสินใจแต่งงาน
3.สตรีที่ใช้เสรีภาพในทางที่ผิดจะทำให้ตนเองและครอบครัวต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง
4.ความผิดพลาดในอดีตสามารถนำมาเป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินชีวิตได้
5.การประกอบอาชีพโดยใช้ความสามารถของตนเองย่อมก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
แนวคิดและแก่นเรื่องของเรื่องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
แนวคิด
หัวใจชายหนุ่มมีเนื้อหาแสดงให้เห็นการรับวัฒนธรรม
ตะวันตกในสังคมไทย โดยนำเสนอผ่านชีวิตของหนุ่มนักเรียนอกที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องเพื่อถ่ายทอดความคิดเห็นและสภาพสังคมไทยในขณะนั้น
แก่นเรื่อง
การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยและรู้จักเลือกวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสม
จากแนวคิดและแก่นเรื่องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในขีวิตประจำวันได้ ดังนี้
เราควรรู้จักการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงานของไทยไว้และควรรู้จักเลือการรับวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน
สมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้
1.นายณัฐชนน ชูน้อย เลขที่7
2.นายชานน ตรีไวย เลขที่16
3.นางสาวมุฑิตา กาฬจันโท เลขที่32
4.นางสาวพิชญา วิบูลกิจ เลขที่38
5.นางสาวมุขสุดา โครธาสุวรรณ เลขที่39
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/17