Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ สังเคราะห์เเละสรุปข้อมูลค้นพบ, ความทสำคัญของการการสังเคราะห์ข้อม…
วิเคราะห์ สังเคราะห์เเละสรุปข้อมูลค้นพบ
1.การวิเคราะห์ข้อมูลมีวิธีการอย่างไร
1.1ความหมาย ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมู, คือ การนำสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รับรู้ได้ศึกษาค้นคว้าเเละรวบรวม มาทำการเเยกเเยะออกเป็นส่วนย่อย เพื่อทำความเข้าใจเเต่ละส่วนให้เเจ่มเเจ้ง
1.2รูปเเบบการวิเคราะห์
1.การวิเคราะห์ชิงพรรณนา
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยหลังจากรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาแล้ว จะต้อง ตั้งคำถามหรือตั้งปัญหาที่ต้องการคำตอบ แล้วแยกแยะข้อมูลเหล่านั้นเป็นกลุ่มๆ หรือเป็น ระบบระเบียบ จากนั้นตั้งสมมติฐานเพื่อคาดเดาคำตอบ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา
2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่อาศัยค่าทางสถิติมาจัดการข้อมูล ประเภทตัวเลข เพื่อนำเสนอข้อสรุปให้เข้าใจง่าย โดยค่าทางสถิติเบื้องต้นที่นิยมนำมาวิเคราะห์ ข้อมูล มีดังนี้
2.1) ค่าร้อยละ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละ ส่วนต่อหนึ่งร้อย โดยถูกแจงนับเป็นความถี่ ซึ่งบางครั้งสรุปเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป หากจำนวนข้อมูลของทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากันจะเปรียบเทียบได้ยาก จึงต้องปรับให้เป็นร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (%)
2.2) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยวัดออกมาเป็นค่าของตัวเลข โดยตรง ซึ่งเป็นการหาตัวแทนของข้อมูลกลุ่ม โดยค่าเฉลี่ยเลขคณิตหาได้จากผลรวมของข้อมูล ทั้งหมดหารด้วยจํานวนข้อมูลทั้งหมด
1.3การสรุปผลการวิเคราะห์
เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณแล้วจะสรุปผล การวิเคราะห์ ซึ่งการสรุปผลการวิเคราะห์มี 2 ลักษณะ ดังนี้เ
1) สรุปในรูปแบบการบรรยาย เป็นการสรุปโดยการบรรยายเป็นความเรียงหรือเป็น เรื่องราวด้วยตัวอักษร เพื่อนำไปพูดอธิบายผลการวิเคราะห์นั้นๆ โดยมีหลักการ ดังนี้
1.1) อ่านผลการวิเคราะห์ให้เข้าใจ แล้วบอกประเด็นสำคัญจากผลการวิเคราะห์นั้น
1.3) เขียนสรุปจากประเด็นสำคัญอีกครั้ง โดยมีความยาว 3-5 บรรทัด
1.2) นำประเด็นสำคัญที่เข้าใจ มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของการบรรยายให้เข้าใจง่าย
2 สรุปในรูปแบบตาราง แผนภูมิ สถิติ เป็นการสรุปโดยการนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มา เขียนเป็นตาราง แผนภูมิ สถิติ เพื่อนำเสนอให้เข้าใจได้ด้วยภาพ โดยมีหลักการ ดังนี้
2.1) อ่านผลการวิเคราะห์ให้เข้าใจ แล้วบอกประเด็นสำคัญจากผลการวิเคราะห์นั้น
2.2 นำประเด็นสำคัญที่เข้าใจมาออกแบบ ในลักษณะของตาราง แผนภูมิ สถิต
ให้เข้าใจกาย มีข้อมูลที่สำคัญครบถ้วนจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้หลายลักษณะ ทั้งในรูปแบบตาราง และในรูปแผนภูมิ เพื่อให้ผลการสรุปเข้าใจง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2.การสังเคราะห์เพื่อสรุปข้อค้นพบต้องใช้วิธีใด
2.1ความสำคัญของการสังเคราะห์ข้อมูล
การสังเคราะห์ข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าและ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำองค์ประกอบมาหลอมรวมกัน แล้วสร้างสิ่งใหม่ อาจเป็นแนวคิด หรือสิ่งของ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2.2การเรียงข้อค้นพบ
เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลายแล้ว ผู้ค้นคว้าจะเกิดข้อค้นพบใหม่ ซึ่งอาจเป็น องค์ความรู้ หลักการ หรือแนวคิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่เพื่อใช้ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งอื่นๆ ในอนาคต
การเรียบเรียงข้อค้นพบมีหลักที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
1) แนวคิด หลักการ วิธีการ การค้นพบแนวคิด หลักการ หรือวิธีการจากข้อมูลที่ได้ ศึกษามา ต้องเป็นข้อค้นพบที่มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการคิดอย่างละเอียด สามารถอ้างอิงจาก ผู้รู้ที่ได้รับการยอมรับในด้านที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้ข้อค้นพบนั้นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นและได้รับ การยอมรับในอนาคต
2) ขั้นตอน กระบวนการ รูปแบบ การปฏิบัติตามขั้นตอน กระบวนการ หรือรูปแบบ เพื่อเรียบเรียงข้อค้นพบ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อค้นพบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมี กระบวนการเรียบเรียงข้อค้นพบ ดังนี้
2.แสดงวัตถุประสงค์ของการค้นหาคำตอบ
3.เขียนสรุปกระบวนการทั้งหมด เริ่มจากการศึกษาค้นคว้า วิธีการ รวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่งได้มาซึ่งข้อค้นพบ
1.กล่าวถึงปัญหาหรือคำถามที่กำหนดไว้ เพื่อค้นหา ค่าคอม
4.เขียนสรุปผลข้อค้นพบที่ได้ โดยเขียนให้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ เพื่อเน้นให้เห็นถึงการตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ได้อย่างแท้จริง
5.เขียนข้อเสนอแนะแนวทางที่ได้จากการสรุปผลและข้อค้นพบ เพื่อประโยชน์ ในการต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้กับชุมชน หรือสังคมต่อไป
3)การตั้งชื่อเรื่อง ข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าและรวบรวม จะได้รับการตั้งชื่อเรื่องตามวัตถุประสงค์ของการหาข้อสรุปหรือ ข้อค้นพบ โดยอาจอยู่ในรูปแบบของบทความ โครงงาน งานวิจัย ในการตั้งชื่อเรื่องสิ่งที่ควรคำนึงถึง มีดังนี้
2.ตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำนาม ขึ้นต้น จะทำให้ชื่อมีความไพเราะ มากกว่าการใช้คำกริยาขึ้นต้น เช่น ใช้ชื่อว่า “การศึกษาวงจรชีวิตของ หนอนผีเสื้อ” แทน “ศึกษาวงจร ตรองหนอนผีเสื้อ” เป็นต้น
3.ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับประเด็น ปัญหา / อ่านรา เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใด ได้ทันที
1.ตั้งชื่อเรื่องให้สั้น กระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สามารถ สื่อความหมายเฉพาะเรื่องได้ แต่ไม่ควรสั้นเกินไปจนขาด ความหมายทางวิชาการ
4.ตั้งชื่อเรื่องด้วยความเรียง สละสลวย และมีใจความสมบูรณ์ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างเพศและการกล้าแสดงออก ต่อหน้าสาธารณชนของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียน นครสวรรค์ ปีการศึกษา 2559
4)การเขียนส่วนนำ เนื้อหา สรุป การนำเสนอข้อมูลที่สมบูรณ์ต้องอาศัยส่วนประกอบ ที่ครบถ้วน ส่วนประกอบหลักที่สําคัญ มีดังนี้
1.ส่วนนำ ควรเขียนส่วนน้ำที่อธิบายถึงความสำคัญของปัญหา เนื่องจากส่วนสำคัญที่สุด คือ ที่มาและความสำคัญของปัญหา ซึ่งเกิดจากกระบวนการคิดวิเคราะห์ พร้อมทั้งอ้างอิง หลักการและแนวคิด เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนความสำคัญของปัญหานั้น จากนั้นควร กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น
3.สรุป การเรียนการสรุปผลให้ออกกล้องกับปัญหาที่ได้กล่าวไว้ในส่วนน้า เพื่อให้ได้สรุป ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยสามารถเขียนในรูปแบบของการพรรณนา มารยา หรือในรูปแบบตาราง แผนภูมิ สถิติ ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและนำไปใช้ประโยชน์
2.เนื้อหาควรเขียนเนื้อหาให้ comป้องกันปัญหาที่กำหนดขึ้น เพื่อทำการศึกษาและหาข้อ ค้นพบ โดยเนื้อหาต้องมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน จะนำไปสู่การสังเคราะห์ให้เกิน การบูรณาการ ห้างนาเป็นข้อค้นพบ และมีหลักฐานอ้างอิง
2.3 การตรวจสอบข้อค้นพบ
การตรวจสอบข้อค้นพบเป็นวิธีการที่สำคัญวิธีการหนึ่ง หลังจากการเรียบเรียงข้อค้นพบ เพื่อให้สามารถมั่นใจและยืนยันได้ว่า ข้อค้นพบนั้นถูกต้องจริง โดยจะต้องมีหลักฐานในการอ้างอิง ข้อค้นพบนั้น
2) ตรวจสอบข้อค้นพบกับสมมติฐาน ข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าจะต้องนำมาตรวจสอบกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยเมื่อเริ่มต้นกำหนดปัญหา จะมีการ สั่งสมมติฐานของปัญหานั้นไว้ เพื่อคาดเดาคำตอบล่วงหน้า การตรวจสอบข้อค้นพบกับสมมติฐาน ช่วยให้สามารถดำเนินการต่อหรือสรุปข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
1) ตรวจสอบข้อค้นพบกับหลักฐาน ข้อมูลอ้างอิง ข้อค้นพบที่น่าเชื่อถือจะต้องเป็น ข้อค้นพบที่มีหลักฐานประกอบ หรือมีข้อมูลอ้างอิง เพื่อสนับสนุนข้อค้นพบนั้น แม้ว่าข้อค้นพบ จะได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนตามลำดับ แล้วก็ตาม
3.การจัดการข้อค้นพบทำอย่างไร
3.1 การใช้ตามวัตถุประสงค์
การจัดการโดยการใช้ข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ คือ การนำข้อค้นพบ และองค์ความรู้ที่สรุปได้ ไปนำเสนอตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความ กะทัดรัดและชัดเจน มีความเป็นไปได้จริงในทางการปฏิบัติ แสดงถึงเป้าหมายของการค้นคว้า ไม่ใช่วิธีการที่จะค้นคว้า โดยควรอยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า สามารถมีหลายข้อได้และเรียงลำดับ ตามความสำคัญของวัตถุประสงค์นั้น ตัวอย่างการใช้ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์
3.2 การใช้ในกิจการงานอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของสังคม
การจัดการโดยการใช้ข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ในกิจการงานอื่นๆ คือ การนำข้อค้นพบและ องค์ความรู้ที่สรุปได้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการงานอื่นๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นการ แบ่งปันข้อค้นพบที่ได้ให้กับผู้อื่นและส่งผลดีต่อส่วนรวมต่อไป
ความทสำคัญของการการสังเคราะห์ข้อมูล
ช่วยให้สามารถสรา้งสรรค์สิ่งใหม่
ช่วยให้เเสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ช่วยให้เเก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยให้เข้าใจเรื่องต่างๆได้ชัดเจนเเละครบถ้วน
ช่วยพัฒนากระบวนการคิด
ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำความเข้าใจข้อมูลอย่างลึกซึ้ง
ทำให้มีความรู้เพิ่มเติมจากการค้นคว้า
ทำให้เกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้มีการวิจารณญาณ