Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการและการพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยเกี่ยวกับ การรับ…
หลักการและการพยาบาลขั้นพื้นฐาน
ในการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยเกี่ยวกับ
การรับ ส่งต่อ และจำหน่ายผู้ป่วย
การรับใหม่ Adission
ประเภทผู้ป่วย
-ไม่รุนแรง หรือการรับผู้ป่วยในปกติ
-รุ่นแรงและเร่งด่วน
พยาบาลต้องตระหนักถึงการดูแลผู้ป่วยแรกรับ
-ความเชื่อของผู้ป่วยแต่ละคนย่อมแตกต่างการ
-การสูญเสียอำนาจในการดูแล
-คำนึกถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
-วิตกกังวลจากการแยกจากสังคม
-สถานที่แปลกใหม่อาจทำให้ผู้ป่วยกลัว วิตกกังวล
การใช้กระบวนการพยาบาลรับใหม่ มี5 ขั้น
1.การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
-ข้อมูลทั้งปรนัยและอัตนัย
2.การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nersing Diagnosis)
3.ขั้นการวางแผนการพยาบาล (Nersing plan)
4.ขั้นปฏิบัตืการพยาบาล (Implementation)
5.ขั้นประเมินผลทางการพยาบาล (Evaluation)
การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล Adission
การรับผู้ป่วยใหม่ แพทย์ต้ดสินใจในรับผู้ป่วยใว้ค้างคืน เพิ่อรับการตรวจ สังเกตอาการ ดูแลอย่างไกล้ชิด
พยาบาลต้องดำเนินการให้ผู้ป่วยเข้าพักในหอผู้ป่วยและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัจโรค การพยาบาล หรือการผ่าตัด เป็นการรับทั้งผู้ป่วยเก่าและใหม่ที่มีอาการเรื้อรังหรือเฉียบพลันเข้านอนพัก รักษาในโรงพาบาล
การส่งต่อ Referals
มีวัตถุประสงค์ เพื่อการดูแลที่เหมาะสม สภาวะของผู้ป่วย ศักยภาพของบุคลากรและทรัพยากรของสถานการพยาบาล และรวมทั้งการใช้สิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วย
การย้ายจากหอ คือย้ายผู้ป่วยจากหอหนึ่งไปอีกหอหนึ่งในโรงพยาบาลเดียวกัน หรือย้ายสถานที่พักฟื้น
การย้ายภายในสถานพยาบาล เช่น การย้ายจากหอผู้ป่วยพิเศษไปหอสามัญ เนื่องจากค่ารักษาพยาบาล
ขั้นตอนการและข้อควรคำนึกถึงเมื่อย้ายผู้ป่วย
การเตรียมย้าย เตรียมอุปกรณ์ แฟ้มประวัติ บันทึกสภาพของผู้ป่วย ตรวจสอบความพร้อมของแผนกที่จะย้ายผู้ป่วยไป
ให้ความเอาใจใส่กับเอกสารทุกชนิดของผู้ป่วย ต้องบันทึกเอกสารให้เรียบร้อย ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน และสมบูรณ์ เพื่อส่งต่อให้พยาบาลในหอผู้ป่วยที่จะรับผู้ป่วยต่อไป
แจ้งให้พยาบาลของหอผู้ป่วยที่จะรับผู้ป่วยทราบถึงภาวะสุขภาพ และการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ โดยละเอียด การสื่อสารที่ดีจะช่วยให้การย้ายผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่น และทำให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ว่าผู้ป่วยได้ย้ายไปอยู่อีกหอผู้ป่วยหนึ่ง เช่น ห้องยา หน่วยโภชนาการเป็นต้น รวมทั้งแก้ไขข้อมูลให้เป็นข้อมูลปัจจุบันในคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง
การส่งต่อผู้ป่วย พยาบาลต้องตรวจสอบให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่จำเป็น เรียบร้อยแล้วก่อนย้ายผู้ป่วย เช่น การดูดเสมหะ การให้ยาที่จำเป็นต้องให้ทันทีการเปลี่ยนผ้าที่สกปรกเปื้อน เลือด หรือการเทสารคัดหลั่งที่ออกมาจากสายหรือท่อที่ต่อออกมาจากตัวผู้ป่วย เป็นต้น
เอาใจใส่ความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยระวังอุปกรณ์การแพทย์ที่อยู่ติดตัวกับผู้ป่วยมิให้เคลื่อนไป จากที่ๆ
ควรอยู่ เช่น สายน้ำเกลือ ท่อหรือสายระบายที่ออกมาจากแผล สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
การจำหน่ายผู้ป่วย Dischare
การที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลซึ่งผู้ป่วยจะกลับไปอยู่ที่บ้านหรือไปอยู่ที่สถานบริการพยาบาล หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การให้ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นหรือมีอาการหายจากความเจ็บป่วยได้ออกจากโรงพยาบาล
ประเภทของการจำหน่าย
1.การจำหน่ายกลับบ้านเมื่อผู้ป่วยมีอาการหรือปัญหาสุขภาพทุเลาลง ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ ผู้ทำการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
2.การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยไม่สมัครอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งในกรณีนี้ แพทย์และพยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลรักษาจะไม่รับผิดชอบใด ๆกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ผู้ป่วยจะต้องลงชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจอยู่ในเอกสารไม่สมัครใจรับการรักษาตามระเบียบของโรงพยาบาล
3.การจ าหน่ายเมื่อผู้ป่วยถึงแก่กรรม การวางแผนเตรียมผู้ป่วยเพื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามกรอบกระบวนการพยาบาลดังนี้
1.การประเมินปัญหา
2.การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ
3.การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge plan) โดยใช้หลัก D-METHOD โดยเริ่มตั้งแต่วันที่รับผู้ป่วยไว้ในการดูแลร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
D- Diagnosis คือ อธิบายหรือแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ เช่น สาเหตุ อาการ อาการแสดง ชื่อโรค เป็นต้น
M = Medication คือ กิจกรรมที่พยาบาลวางแผน คือ การให้ความรู้เรื่องชนิดของยา การให้ยา สรรพคุณวิธีใช้ยา มีอาการข้างเคียง และข้อจ ากัดในการใช้ยา เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อ ยาอินซูลิน เป็นต้น
E= Environment คือ กิจกรรมที่พยาบาลวางแผนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมประเมินสิ่งแวดล้อมในบ้านผู้ป่วยที่สามารถดัดแปลงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปอยู่ที่บ้านเช่น การจัดระเบียบบ้าน การกำจัดฝุ่นและขยะ เป็นต้น
T = Treatments คือ การรักษาพยาบาล กิจกรรมที่พยาบาลวางแผนโดยสาธิตให้ดูและให้ผู้ป่วยหรือญาติปฏิบัติทักษะการดูแลผู้ป่วยให้พยาบาลประเมินอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าทำได้ถูกต้อง เช่น การทำแผล การฉีดยา
O= Outpatient referral คือ การส่งต่อไปยังหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกกิจกรรมที่พยาบาลวางแผนโดยการอธิบายถึงการบริการสุขภาพในชุมชนที่ผู้ป่วยหรือญาติสามารถไปใช้บริการได้เช่น การทำกายภาพ การทำแผลขนาดใหญ่ การฉีดยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น
D = Diet คือ การให้คำแนะนำเรื่องอาหาร กิจกรรมที่พยาบาลวางแผน เป็นการอธิบายถึงอาหารที่ผู้ป่วยต้องการรับประทานที่บ้านหรือกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารเฉพาะโรคก็ควรจัดให้พบกับนักกำหนดอาหารที่สามารถพูดคุยและให้ข้อมูลที่เป็นเอกสารเพื่อให้ผู้ป่วยทราบและเข้าใจอาหารที่ต้องรับประทานที่บ้านเป็นต้น เช่น แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แนะนำเฉพาะโรค แนะนำอาหารที่ควรงดหรือรับประทานอาหารในปริมาณที่กำหนด
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผล
เอกสารที่ต้องเตรียม
1) หนังสือรับรองการตาย เพื่อแพทย์ลงความเห็น
2) ใบส่งศพ
3) ใบขอดูศพ
นายชาญชล แซ่เท้า เลขที่7 ห้อง2 65125301018