Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ซอฟต์แวร์และระบบปฎิบัติการ, แปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ…
ซอฟต์แวร์และระบบปฎิบัติการ
4.1 ความหมายของซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ หมายถึง กลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction) หรือ
โปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่..
.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ดำเนินงานพื้นฐาน
ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์แล้ว
แปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอ
ภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้ม
ข้อมูลบนหน่วยความจำ ตลอดจนทำหน้าที่ควบคุม ด้านการ
สื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามความต้องการด้านต่างๆของผู้ใช้ที่
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐาน
ข้อมูล คอมพิวเตอร์ เกม และเว็บเบราว์เซอร์ เป็นต้น
4.2 ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming (Programming Languages)
ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพัฒนา
โปรแกรม โดยผู้เขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์” เป็นผู้ที่พัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้
คอมพิวเตอร์ประมวลผล คอมพิวเตอร์รับคำสั่งการทำงานเป็นสัญญาณไฟฟ้า เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” (Machine Language)
ภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)
เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มีการใช้รหัสตัวอักษรสำหรับใช้แทน
ภาษาเครื่องแต่ก็ยังยุ่งยากในการเรียนรู้ จึงไม่สะดวกในการใช้งาน เช่น ภาษาแอ
สเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น จึงมีการศึกษาและพัฒนาภาษาเพื่อให้
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ภาษาระดับสูง (High-level Language)
เป็นภาษาที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เหมาะ
สำหรับการใช้งานในลักษณะต่างกัน มีหลายภาษาตามวัตถุประสงค์
ของการพัฒนาเพื่อใช้งาน เช่น ภาษาซี (C Language) ภาษาจาวา
(Java Language) ภาษาเบสิก (BASIC Language) ภาษาฟอร์แทรน
(FORTRAN Language) เป็นต้น
ภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (Fourth-Generation Language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่า
ภาษาในยุคก่อน ๆ ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้าง ก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดย
ไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว การเขียนโปรแกรมจะสั้นและง่าย เพราะ
เน้นที่ผลลัพธ์ของงานว่าต้องการอะไร ทำให้ได้งานเพิ่มขึ้น
ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นการเขียนโปรแกรมแบบโอ
โอพี (Object-Oriented Programming : OOP) คือ ให้มองทุกสิ่ง
เป็นวัตถุ (Object) ซึ่งวัตถุจะประกอบด้วย ข้อมูล (Data) และ
วิธีการ (Method) โดยจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติ
ของวัตถุ
แปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอ