Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดหลักการพยาบาลอนามัยชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว…
แนวคิดหลักการพยาบาลอนามัยชุมชน
และปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน
แนวคิด หลักการสาธารณสุข และการพยาบาลอนามัยชุมชน
แนวคิดหลักการสาธารณสุข
เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะแห่งการป้องกันโรค การทำให้อายุยืนยาว การส่งเสริมสุขภาพ และความมีสมรรถนะประสิทธิภาพของบุคคล
องค์ประกอบในการจัดบริการสาธารณสุข
การส่งเสริม/สร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion)
การให้ความรู้
คำแนะนำ
คำปรึกษาแก่ประชาชนด้านสุขภาพ
การป้องกันการเจ็บป่วย/การป้องกันโรค
(Illness/Disease Prevention)
การกำจัดสาเหตุของโรคโดยตรงหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การรักษาพยาบาล (Curation)
การจำกัดความพิการ
(Disability Limitation)
กระบวนการลดความพิการให้น้อยลงหรือกลับคืนสู่สภาพปกติ
ทำกายภาพบำบัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
หลักการในการจัดบริการสาธารณสุข
มีความเพียงพอ (Availibility)
เข้าถึงได้ (Accessibility)
มีบริการอย่างต่อเนื่อง (Continuity)
มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ (Acceptability)
มีประสิทธิภาพ (Efficiency)
มีความเสมอภาค (Equity)
การพยาบาลอนามัยชุมชน
การพยาบาลสาขาหนึ่งที่มุ่งเน้นการให้บริการพยาบาลนอกสถานบริการสุขภาพด้วยผสมผสานความรู้และทักษะทางการพยาบาล การสาธารณสุขและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค รวมทั้งในการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพตามปัญหาอย่างต่อเนื่องแก่บุคคล ครอบครัวกลุ่มคนและชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมและยกระดับสุขภาพสู่คุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนรวมในชุมชน
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ให้บริการ/จัดกิจกรรมที่ส่งและกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ
ด้านการป้องกันโรค
การป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ
(Primary prevention)
ระยะแรกก่อน
เกิดโรคหรือการบาดเจ็บ
โครงการชุมชนปลอดบุหรี
การป้องกันโรคระดับทุติยภูมิ
(Secondary prevention)
ระยะที่เริ่มเกิดโรคเพื่อไม่ให้โรคกระจายหรือ
แพร่ระบาดสู่ชุมชน
โครงการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
การป้องกันโรคระดับตติยภูมิ
(Tertiary prevention)
ระยะที่เกิดโรค
แล้วเพื่อไม่ให้โรคกระจายหรือแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้างหรือการป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคต่ออวัยวะอื่น ๆ
การให้บริการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นและดูแลสุขภาพต่อเนื่องในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยเฉพาะโรคทั่วไปที่พบได้บ่อยในชุมชน
โรคหวัด
ปวดท้อง
การให้บริการฟื้นฟูสุขภาพของผู้รับบริการ
หลักการสาธารณสุขมูลฐาน
องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน
มีอสม. เป็นผู้ประสานงานและดำเนินงาน
ร่วมกับประชาชน
การสุขศึกษา
การโภชนาการ
การสุขาภิบาลและการจัดหาน้ำสะอาด
การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การป้องกันและควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่น
การรักษาพยาบาล
การจัดหายาที่จำเป็นไว้ใช้ในหมู่บ้าน
การทันตสาธารณสุข
การส่งเสริมสุขภาพจิต
การป้องกันและควบคุมโรคเอดส
การป้องกันอุบัติเหตุและโรคไม่ติดต่อ
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
การป้องกันและแก้ไขมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัย
หลักการในการดําเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน
การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation หรือ
Community Involvement)
การเตรียมชุมชนให้มีความรู้
ความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพและความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา โดยมี อสม. เป็นตัวแทนประชาชนในการวางแผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การผสมผสานงานกับผู้อื่น (Intersectoral Collaboration)
ดำเนินงานผสมผสานงานร่วมไปกับงานประจำของหน่วยงานต่าง ๆ
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(Appropriate Technology)
ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ใช้เทคโนโลยีที่ง่ายต่อการดำเนินงานไม่ซับซ้อนและสอดคล้องกับสภาพของปัญหาท้องถิ่น
การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน (Reoriented Basic
Health Service)
รัฐจะเน้นการบริการสุขภาพที่นอกเหนือหรือเกินจากความสามารถในการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
่ มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มี
ประสิทธิภาพในกรณีที่ประชาชนต้องการบริการดูแลรักษาที่เกินกว่าบริการพื้นฐานของชุมชน
บริการสาธารณสุขในระดับตำบลและหมู่บ้านหรือชุมชนในเขตเมือง ที่เพิ่มเติมหรือเสริมจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจนถึงระดับที่สามารถดูแลสุขภาพตนเอง
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน
ปัจจัยภายใน
ด้านร่างกายและพันธุกรรม
พันธุกรรม
เชื้อชาติ
ติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่น
เพศ
โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่งจากความแตกต่างของเพศ
โรคบางโรคพบบ่อยในเพศหญิงเช่น
ภาวะกระดูกพรุน มะเร็งเต้านม
อายุและระดับพัฒนา
วัยเด็กเน้นการส่งเสริมพัฒนาการ
วัยเรียนการส่งเสริมพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ
วัยรุ่น ความเสี่ยงต่อสุขภาพการท้องก่อนวัยอันควร ปัญหายาเสพติด
วัยผู้ใหญ่โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
สุขภาพ โรคจากการทำงาน ภาวะวัยทอง
วัยผู้สูงอายุเป็นวัยเสื่อมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ
ด้านจิตใจ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมสุขภาพ
การจัดการกับความเครียด
ทัศนคติความเชื่อ
ลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ค่านิยม
การให้คุณค่าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ความเครียด
หากมีความเครียดในระดับต่ำหรือปานกลางจะเป็นตัวกระตุ้นในบุคคลมีความกระตือรือร้น หากมีความเครียดระดับสูงจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะต่างๆเปลี่ยนไป
พฤติกรรมสุขภาพ หรือแบบแผนการดำเนินชีวิต
(life style)
วิถีชีวิตแบบชนบทไปเป็นแบบเขตเมือง วัฒนธรรมความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น บางส่วนเกิดปัญหาในการปรับตัวนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาเช่น ปัญหาสุขภาพจิต โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง
ด้านความรู้ การเรียนรู้ และสติปัญญา
ครอบครัวเป็นผู้ให้การศึกษาของเด็กคนแรกและมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด ในขณะที่เด็กมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของพวกเขา เด็กจะพัฒนาความสนใจและสร้างอัตลักษณ์และความเข้าใจของตัวเขาเองที่มีต่อโลก
ด้านสังคม บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ
สัมพันธภาพ วิถีการดำเนินชีวิต
ด้านสังคม บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน
ของครอบครัว กลุ่มบุคคลและชุมชน
สัมพันธภาพในครอบครัวจำเป็นต้องมีหลายลักษณะ เช่น การสนทนาพูดคุยกันอยู่เสมอ การแสดงออกถึงความรักใคร่ปรองดอง ความห่วงใยซึ่งกันและกัน รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกันเมื่อมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น ส่วนครอบครัวที่มีลักษณะตรงกันข้ามทำให้เกิดปัญหาและนำไปสู่พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นได้
ด้านวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มคนและชุมชนที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว
การเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว จะทำให้สมาชิกใน
ครอบครัวและผู้ป่วยเกิดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมตามปกติ จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางร่างกาย
จิตใจ อารมณ์และสังคมของผู้ป่วย มีผลกระทบต่อครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ การดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบภายในครอบครัว คุณภาพชีวิตของครอบครัวลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
ปัจจัยภายนอก
สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การปกครอง
ปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อความสุขมีทั้งปัจจัยเชิงเศรษฐกิจและสังคมและปัจจัยตัวแปรเชิงเศรษฐกิจและสังคม 8 ตัวแปร ได้แก่ ภูมิภาค เขตการปกครอง ภาคเศรษฐกิจ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้/รายจ่ายต่อคนต่อเดือน กล่าวคือ ผู้ที่มีระดับการศึกษาที่สูงดูจะมีความสุขสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า และผู้ที่มีรายได้/รายจ่ายสูงกว่าดูจะมีความสุขสูงกว่าผู้ที่มีรายได้/รายจ่ายต่ำกว่า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยความสุขต่ำกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด
สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ
สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ สัตว์พวกหนอนพยาธิต่างๆ พวกแมลงต่างๆ ซึ่งอาจ
เป็นต้นเหตุโดยตรงของผิวหนังหรืออาจเป็นเหตุทางอ้อม โดยเป็นตัวพาหะนำ
เชื้อโรคอีกทีหนึ่ง เช่น ยุง แมลงวัน
สิ่งแวดล้อมพวกพืชต่างๆ นอกจากเชื้อรา เช่นเกสรดอกที่ปลิวกระจายไปได้ไกลๆ เป็นเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ
สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และมีผลกระทบต่อสุขภาพของคน ครอบครัว สังคม ชุมชน เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM.2.5
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาการใช้สมุนไพรรางจืด
ในเกษตรกร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ยุคที่ 1 เกิดการปฎิวัติในภาคเกษตรเรียกว่า Green Evolution
ยุคที่ 2 เกิดการปรับเปลี่ยนสู่สังคมอุตสาหกรรม ผ่าน Industrial Revolution ครั้งที่ 1 และ 2
ยุคที่ 3 เกิด Digital Revolution เป็นระลอก ๆ
ยุคที่ 4 คือ ยุคปัจจุบัน หรือเรียกว่า The Fourth Industrial Revolution เกิดการรวมตัวและแตก
ตัวของ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดำรงอยู่เราต้องค้นหา “ข้อดีในสิ่งที่ไม่ดี”
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดำเนินธุรกิจ เน้นคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าผ่าน
นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการทำงาน เราสามารถทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการเรียนรู้
โครงสร้างประชากร/ระบบสุขภาพ
โครงสร้างประชากร
ประชากรที่อยู่ในวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง
ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การที่มีแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง ขณะที่แรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น และพ่อแม่รุ่นใหม่นิยมมีลูกน้อยลงหรือไม่มีเลย จึงไม่เห็นความจำเป็นต้องออมมาก
ผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาล เกิดจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากโครงการประกันสังคมและโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนวัยทำงานไปใช้จัดสรรเป็นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ
ผลกระทบด้านแรงงาน เกิดจากสมรรถนะทางกายภาพที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และยังส่งผลกระทบ
ต่อรายได้หลังเกษียณที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
เจนเนอเรชั่นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
กลุ่มไซเลนต์เจเนอเรชัน (Silent generation) หมายถึง คนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488
เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดีและหลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องทำงานหนักในโรงงานหามรุ่งหามค่ำ คนรุ่นนี้จึงมีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อนายจ้างและประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย
กลุ่มเจเนอเรชั่นบี หรือเบบี้บลูมเมอร์ (Baby Boomer Generation) หรือ “Gen-B” ซึ่งเป็นคน
สูงอายุในปัจจุบัน เกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507
คนกลุ่มนี้เป็นผลผลิตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีความอดทนสูง สู้งาน ชอบทำงานและประสบความสำเร็จ
ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากที่เกิดในช่วงเดียวกัน ทำให้มีการแข่งขันสูง คนยุคนี้ใช้ชีวิตเรียบง่าย เป็นคนเก็บออมมากกว่าใช้
กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) หรือ “Gen-X” ซึ่งเป็นคนวัยทำงานในยุคปัจจุบัน เกิด
ในช่วง พ.ศ. 2508-2522
ผลกระทบจากการผลิตประชากรล้นจนต้องคุมกำเนิด ขณะเดียวกัน เทคโนโลยี เริ่มทันสมัยและแพร่หลายขึ้น และเริ่มมีตัวเลือกมากขึ้น ทำให้คนกลุ่มนี้เริ่มมีความอดทนน้อยลง เก็บออมและใช้เท่าที่มี เลือกทำงานที่ชอบ รักอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์ แหวกกรอบ
กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ “Gen-Y” ซึ่งเป็นคนวัยตั้งแต่มัธยมศึกษาตอน ปลายถึง
เริ่มทำงานใหม่ เกิดในช่วง พ.ศ. 2523-2540
คนกลุ่มนี้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและแพร่หลาย รวมทั้งองค์ความรู้ ทำให้มีความอดทนเริ่มน้อยลง สมาธิสั้นขึ้น ชอบ Copy-Paste และเปลี่ยนงานบ่อย มักชอบการทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกันมากกว่าฟังคำสั่งจากหัวงานหรือผู้นำอย่างเดียว
กลุ่มเจเนอเรชั่นซีหรือแซด (Generation Z) หรือ “Gen-Z” เกิดในช่วง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป
คนกลุ่มนี้เกิดมาด้วยการเลี้ยงดูที่เพียบพร้อม เทคโนโลยีทันสมัยและแพร่หลาย รวมถึงองค์ความรู้ เพียงกระดิกนิ้วก็ได้สิ่งที่ต้องการและมีตัวเลือกมาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักทำในสิ่งที่ชอบ ชอบความสะดวกสบาย ไม่ชอบพิธีการ และสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในคราวเดียวกัน
ระบบสุขภาพ
เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นระบบที่ครอบคลุมระบบย่อยต่างๆ ทั้งที่(Determinants of Health) ด้วย เช่น ระบบด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมือง วัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาสุขภาพโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งครอบคลุมไปถึง ระบบที่เกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพการศึกษา เป็นต้น ดังนั้นระบบสุขภาพจึงมีความหมายครอบคลุมตั้งแต่สุขภาพในระดับ ปัจเจกบุคคลและสุขภาพที่ดำเนินนอกตัวบุคคล รวมถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ระบบการดูแลสุขภาพในครอบครัว (Home Health Care)
เป็นการให้การบริการสุขภาพ โดยทีมสหวิชาชีพด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแลที่บ้านของผู้ป่วยโดยทีมสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการให้บริการทั้งในระยะเจ็บป่วยเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง และระยะสุดท้ายโดยครอบคลุมการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ มุ่งให้บริการแบบเบ็ดเสร็จเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งให้ผู้ป่วยและครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยการมีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี