Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
4.1 ความหมายของซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ หมายถึง กลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction) หรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
4.2 ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming (Programming Languages)
ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรม โดยผู้เขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์” เป็นผู้ที่พัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล คอมพิวเตอร์รับคำสั่งการทำงานเป็นสัญญาณไฟฟ้า เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” (Machine Language) ซึ่งมนุษย์ทำความเข้าใจยาก เนื่องจากเป็นรหัสตัวเลขแบบต่าง ๆ ไม่สะดวกต่อการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
4.3 ยุคของภาษาโปรแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาหลายยุคหลายสมัย ในยุคแรกการใช้ภาษา ยังมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ แต่มีโครงสร้างและรูปแบบที่ยากต่อความเข้าใจของมนุษย์ ต่อมาได้พัฒนารูปแบบภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์เรียกว่า ภาษาระดับสูง
4.4 ตัวแปลภาษา
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ตาม โปรแกรมนั้นจะต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อแปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาให้เป็นภาษาเครื่องจึงจะใช้งานได้เพราะคอมพิวเตอร์รับรู้เฉพาะภาษาเครื่องได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้นตัวแปลภาษามี 2 ประเภท คือ คอมไพเลอร์และอินเทอร์พรีเตอร์
4.7 หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ
การเริ่มต้นการทำงานของระบบปฏิบัติการ เริ่มจากการบูตระบบ (Booting) ถือเป็นการเริ่มต้นการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
การบูตระบบปฏิบัติการมี 2 วิธี ได้แก่ วอร์มบูต และโคลด์บูต
หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ การจัดการโปรแกรมต่าง ๆ ที่กำลังทำงานให้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่นั้น เรียกว่าโปรเซส (process) ดังนั้น การอธิบายหลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะขอกล่าวถึงวิธีจัดการทำงานโปรเซสของระบบปฏิบัติการว่ามีกระบวนการอย่างไรเมื่อระบบปฏิบัติการสร้างโปรเซสขึ้นมา ดังภาพ
1) สถานะพร้อม (Ready State)
2) สถานการณ์ทำงาน (Running State)
3) สถานะติดขัด (Blocked Sate)
4) สถานะแน่นิ่ง (Deadlocked)
4.8 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาชนิดต่าง ๆ มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป จึงใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์นั้น ๆ สามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงาน เช่น ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์แบบพกพา และระบบปฏิบัติการแบบฝัง
1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Standalone OS)
ประเภทหลายงาน (Multi-Tasking)
ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-User)
1) ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS)
2) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix)
3) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)
4) ระบบปฏิบัติการแมคโอเอส (Mac OS)
5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux)
4.5 ประเภทของซอฟต์แวร์ ้่่
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์มีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์เป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้ระบุความต้องการไว้ภายใต้ซอฟต์แวร์ หลังจากนั้นซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่สั่งการควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด
ประเภทของซอฟต์แวร์มีการแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) เป็นชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุดเพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่นิยมใช้ คือ ดอส (DOS) วินโดวส์ (Windows) ยูนิกซ์ (Unix) ลินุกซ์ (Linux)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)หรือโปรแกรมประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
4.6 ความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้สามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบหรือเข้าใจถึงกลไกการทำงานภายในของระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์เก็บข้อมูล ไปถึงอุปกรณ์ข้อมูลนำเข้าและส่งออกเพื่อแสดงผลลัพธ์หรือที่เรียกว่า แพลตฟอร์ม (Platform)