Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบข้อมูลและสารสนเทศสุขภาพชุมชน, 4V, 6310410015 นางสาวกุลิสรา ดีไร่ -…
ระบบข้อมูลและสารสนเทศสุขภาพชุมชน
Big Data
เทคโนโลยีที่สามารถรองรับการเก็บ วิเคราะห์ และใช้งานข้อมูลหลากหลายประเภทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมหาศาล
ลักษณะสำคัญ
ปริมาณ(Volume)
ปริมาณข้อมูลที่สามารถผลิตและจัดเก็บไว้ได้จะต้องขนาดที่ใหญ่มากเพียงพอ
ความหลากหลาย(Variety)
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการนำข้อมูลไป
วิเคราะห์ต่อยอดได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ รูปภาพ ไฟล์ประเภทอื่นจากหลากหลายแหล่งที่มา เป็นต้น
ความเร็ว(Velocity)
ความเร็วในการประมวลผลและผลิตข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้งาน เป็นข้อมูลที่ได้มาแบบ Real-Time และประมวลผลอยู่ตลอดเวลา
คุณภาพของข้อมูล(Veracity)
เป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบซึ่งสามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ และเป็นข้อมูลที่มาจาก
หลากหลายแหล่ง
Scalability
ขนาดของข้อมูลทั้งหมดที่มีที่ต้องสามารถขยายขนาดได้อย่างรวดเร็ว
Relational
ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันอยู่จะสามารถทำให้
การประมวลผลสามารถทำได้ดีมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญในทางสาธารณสุข
นำมาใช้ในเก็บข้อมูลในหน่วยงานทางสาธารณสุข
ข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลโรค
ประวัติการรักษาพยาบาล
ประวัติการใช้ยาและเวชภัณฑ์
ข้อมูลห้องLAB, X-Ray
ระบบ Back Office
ข้อมูลในการวางแผน ป้องกัน
นำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนในภาพรวมของประเทศได้เป็นอย่างดี
สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของสุขภาพและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่การป้องกันไปจนถึงการฟื้นฟูหลังการรักษา
รองรับทิศทางการขยายตัวและการบริการของโรงพยาบาล
ประหยัดงบประมาณในการลงทุนของแต่ละสถานบริการได้
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. Descriptive analytics
บอกว่าเกิดอะไรขึ้น จำนวนเท่าไหร่ ถี่แค่ไหน เกิดเหตุการณ์สำคัญๆตอนไหน ตรงไหนบ้าง
Standard report : “เกิดอะไรขึ้น”
Ad hoc report : “จำนวนเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน ที่ไหน”
Query : “อะไรคือปัญหาที่แท้จริง”
Alerts : “ต้องเกิด action อะไร”
2. Predictive analytics
ประเมินว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป มีการให้ข้อมูล
ตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าแนวโน้มยังเป็นอย่างนี้ต่อไป
Statistical analysis : “ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้”
Randomized testing : “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราทดลองทำวิธีการนี้”
Predictive modeling : “จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป”
Optimization : “อะไรคือสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น”
3. Prescriptive analytics
สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและเสนอทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการคาดการณ์บนฐานของข้อมูล
ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพและสาธารณสุข
นำมาใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพในระดับมหภาค
ป้องกันโรคที่มีตัวบ่งชี้เป็นข้อมูลที่ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น สายรัดข้อมือ (wearable) ที่มีเซนเซอร์ตรวจวัดและรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อส่งต่อให้บุคลากร
ทางการแพทย์เพื่อใช้ประกอบการการวินิจฉัยเบื้องต้นได้
ใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลของสภาวะสุขภาพของประชาชนทั่วไปได้ สามารถนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลประชากรคนอื่นๆและวิเคราะห์หารูปแบบออกมาได้ ช่วยให้สามารถนำมาพัฒนาโมเดลในการป้องกันโรคที่ซับซ้อนขึ้นได้
เข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรวดเร็วและแม่นยำช่วยให้
การให้บริการทางการแพทย์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข หรือสารสนเทศสาธารณสุข (Health Information)
ประโยชน์
ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข
ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับการดำเนินงานแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสุขภาพ และการพัฒนา มาตรฐานข้อมูลสุขภาพ ถือเป็นรากฐานของการบูรณาการและการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศประเภทต่างๆ
ช่วยให้ความรู้ (Knowledge) และช่วยในการตัดสินใจ (Decision Making)
ความหมาย
ข้อมูล
ข่าวสารทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่แสดงถึงปัญหาและสภาวะทางด้านสุขภาพอนามัยของบุคคล
ชุมชนตลอดจนศักยภาพในการบริหาร บริการ และการดำเนินงานทางด้านสุขภาพอนามัยขององค์การ
ประเภท
1. ด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลประชากร
รายละเอียดของบุคคลแต่ละคน เช่น อายุ เพศ
ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ ศาสนา เชื้อชาติ สถานที่อยู่อาศัย
การเปลี่ยนแปลง
ประชากร เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) รายได้
ประชาชาติเฉลี่ยต่อคน
ข้อมูลด้านสังคม
ด้านการศึกษา เช่น จำนวนโรงเรียนในแต่ละระดับ อัตราส่วนนักเรียนต่อครู
ด้านสังคม เช่น อัตราการว่างงาน ความเชื่อของประชาชนต่อสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ
ด้านการเมือง เช่น อัตราการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง อัตราการมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานสาธารณประโยชน์ชุมชน อัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งในแต่ละระดับ
ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลลักษณะของบ้าน วัสดุที่สร้าง ความ
สะอาดบริเวณบ้านการใช้ส้วม การกำจัดขยะ เพื่อทราบสถานภาพ และวางแผน
แก้ปัญหาสุขภาพได้ตรงจุด
2. ด้านสุขภาพ
ข้อมูลสถิติชีพ (vital statistics) ได้แก่ ข้อมูลการเกิด การเจ็บป่วย และการตาย
3. ด้านทรัพยากรสาธารณสุข
ด้านทรัพยากรบุคคล
บุคคลทุกประเภทที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุข เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาลผดุงครรภ์ นักวิชาการสาธารณสุข พนักงานอนามัย หรือเอกชนในรูปอาสาสมัครสังคมสงเคราะห์
ผู้บันทึกข้อมูลด้านทรัพยากร คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติของหน่วยงาน
ด้านการเงิน
งบประมาณในการทำงานซึ่งอาจได้มาจากหลายแหล่ง เช่น
จากรัฐบาล เอกชน องค์กรในหรือต่างประเทศ
ผู้บันทึกข้อมูล เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการต่างประเทศ หรือฝ่าย
วิจัย แล้วแต่แหล่งวัตถุประสงค์ของเงินงบประมาณนั้น
ด้านวัสดุ และครุภัณฑ์
ที่ดิน สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการสาธารณสุข ได้แก่ ยา เครื่องเวชภัณฑ์ สารเคมีต่างๆ วัสดุสำนักงาน ยานยนต์
ผู้บันทึกข้อมูล
ได้แก่ เจ้าหน้าที่วัสดุภัณฑ์ของสำนักงาน
4. ด้านกิจกรรมสาธารณสุข
งานบริการสาธารณสุขและการ
ปฏิบัติงานบริการสาธารณสุข
ข้อมูลด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค
การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพให้แก่ประชาชน
5. ด้านการบริหารจัดการ
ใช้ในการวางแผน ควบคุมกำกังงาน วิเคราะห์
สถานการณ์ และการประเมินผล
ข้อมูลด้านนโยบาย
ข้อมูลประกอบการบริหารจัดการ เช่น ดัชนีภาวะสุขภาพ คุณภาพของการให้บริการสาธารณสุข
ความสำคัญ
มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน
ประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์
ระเบียนและรายงาน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources)
การจดทะเบียน เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย การย้ายที่อยู่
การแจงนับหรือการสำรวจโดยตรง เช่น การสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน
แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Sources)
แหล่งที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล แต่ไม่ได้ทำการเก็บ
รวบรวมในขั้นแรกนั้นด้วยตนเอง หรือสถานที่ที่ยินยอมให้ข้อมูลแต่ผู้ต้องการใช้ (ทุ่นค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก)
ข้อมูล(Data)
ความหมาย
ข้อความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบอกสภาพการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วมีความหมาย และสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องหนึ่งๆ ได้
โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS : Java Health Center Information System)
วัตถุประสงค์
บันทึกจัดเก็บ รวมรวมข้อมูลสำหรับงานบริการสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน สะดวกรวดเร็ว
นำข้อมูลไปประมวลผลสารสนเทศและใช้
ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยแท้จริงทั้งในระดับหน่วยบริการขั้นปฐมภูมิ และหน่วยงานบริหารที่สูงกว่าทั้งในส่วนภูมิภาค
4V
6310410015 นางสาวกุลิสรา ดีไร่