Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร, 2.ด.ญ…
องค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร
4. บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware)
หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลระบบให้ทำงานได้ตลอดเวลาในระบบสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
4.1 ผู้บริหารระบบ System Manager
ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4.2 นักวิเคราะห์ระบบ System Analyst
ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กร ความคุ้มค่า หาแนวทางการปรับปรุงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด วางแผนและออกแบบระบบ ออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศขึ้นใหม่ ตลอดจนคู่มือการใช้งาน
4.3 โปรแกรมเมอร์ Programmer
ทำหน้าที่เขียนและสร้างโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
4.4 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง Computer Operator
ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้บริการด้านการใช้งาน ควบคุมการทำงาน และบำรุงรักษา
4.5 พนักงานข้อมูล Data Entry Operator
ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ตามที่โปรแกรมกำหนด หรือเป็นผู้ใช้โปรแกรมก็ได้
3.ข้อมูล ( Data )
เป็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือรายละเอียดอื่นๆที่สัมผัสได้ เช่น ภาพ เสียง ภาพยนต์ วีดิทัศน์
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
คือ ข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการจดบันทึก จากการสำรวจ จากการสอบถาม จากการอ่านรหัสแท่งของเครื่องเก็บเงิน จากการประสบพบเห็นด้วยตัวเอง การทดสอบ การวัด
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
คือข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้ก่อนหน้าแล้ว เช่น สถิติจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลารวบรวม อาจเป็นข้อมูลจากการถามผู้อื่น หรือข้อมูลจากเอกสาร
1. ฮาร์ดแวร์
คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบต่าง ๆ
ซึ่งแบ่งการทำงานเป็นหน่วยต่าง ๆ ได้แก่ หน่วยรับเข้า
หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำ และหน่วยส่งออก (แสดงผล)
1.1 Input Unit หน่วยรับข้อมูล
3. Scanner สแกนเนอร์
คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
2. Mouse เมาส์
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ
5. Auto – input devices
อุปกรณ์รับเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียง ทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์ไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน
Keyboard แป้นพิมพ์
ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และคำสั่งต่างๆ
4. Image capturing devices
อุปกรณ์จับภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิทัล
1.3 Memory Unit หน่วยความจำ
1.3.1 Main storage หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง
1.3.2 Secondary storage หน่วยความจำรอง
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ
1.4 Output Unit
ทำหน้าท่ีแสดงผลข้อมูล
- จอภาพ
แสดงผลลัพธ์แบบชั่วคราว ที่ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความ และภาพกราฟิก
- ลำโพง
เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปของเสียง คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะมีลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์ด้วย
- เครื่องพิมพ์
ทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ
- โปรเจคเตอร์
ทำหน้าที่ในการ รับข้อมูลจากเครื่องเล่น Blu-Ray หรือ คอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผล และสร้างภาพขึ้นมา (Generated) เพื่อฉาย (Projection) ไปยัง จอ, กำแพง หรือพื้นผิวอื่นๆ ที่ต้องการ
1.2 CPU
หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่ประมวลผล ข้อมูลตามชุดคำสั่งที่ ซอฟต์แวร์ส่งมา
เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ทำหน้าที่ควบคุมการทางานของระบบ
คำนวณตามกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ เปรียบเทียบ
2. ซอฟแวร์
คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือทำงานด้านต่างๆตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟแวร์ระบบ ( System Software )
เป็นซอร์ฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ มีชื่อเรียกว่า ระบบรับส่งข้อมูลพื้นฐาน หรือไบออส ซอร์ฟแวร์นี้บันทึกในชิปชนิดซีมอส เรียกว่า เฟิร์มแวร์ ใช้สำหรับตั้งค่าการทำงานของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ยังคงใช้กันจนปัจจุบัน
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating system)
เป็นโปรแกรมที่จัดการให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ที่ติดตั้งไว้ในระบบเมื่อเปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์จะอ่านโปรแกรมไบออส เรียกว่า การบูต เสร็จแล้วส่งการทำงานมาอ่านโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ MAC OS
ของบริษัทแอปเปิล ใช้กับเครื่องของแอปเปิลเท่านั้น ซึ่งเป็นหนึ่งข้อเสียที่จำกัดการใช้งานเฉพาะผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลเท่านั้น ข้อดีคือ มีความเสี่ยงเรื่องมัลแวร์ต่ำ
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ใช้กับแท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน ข้อดีก็คือในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงสมาร์ตโฟนนั้นส่วนมากจะไม่มีค่าใช้จ่าย
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ใช้กับเครื่องพีซี (ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องบริการ) ซึ่งข้อดีของระบบนี้ก็คือไม่เสียค่าใช้จ่ายและค่อนข้างมีเสถียรภาพดี เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความต้องการด้านระบบสูง ข้อเสียคือมีความเสี่ยงเรื่องมัลแวร์มากกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ของบริษัทไมโครซอฟต์ใช้กับเครื่องพีซี ซึ่งระบบนี่จะมีข้อเสียที่มีค่าใช้จ่าย มีความเสี่ยงเรื่องมัลแวร์มากกว่าระบบอื่นๆ และค่อนข้างไม่เสถียร แต่ใช้งานได้ง่าย เนื่องจากใช้การติดต่อกับผู้ใช้งานด้วยภาพและสัญลักษณ์
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility program)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง
โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ
เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์
1.1 โปรแกรมจัดการไฟล์
1.2 โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม
1.3 โปรแกรมสแกนดิสก์
1.4 โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
ของฮาร์ดดิสก์
1.5 โปรแกรมรักษาหน้าจอ
โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิการ
2.1 โปรแกรมบีบอัดไฟล์
2.2 โปรแกรมไฟร์วอลล์
2.3 โปรแกรมป้องกันไวรัส
ซอฟแวร์ประยุกต์ ( Application Software )
เป็นซอร์ฟแวร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานเฉพาะทาง
โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้กันทั่วไป (general purpose software)
โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่มักเป็นโปรแกรมสำนักงาน ซึ่งก็คือโปรแกรมจัดการกับเอกสารและการคำนวณในงานสำนักงาน
1 โปรแกรมประมวลผลคำ
2 โปรแกรมตารางคำนวณ
3 โปรแกรมฐานข้อมูล
4 โปรแกรมนำเสนอ
5 โปรแกรมประชุมออนไลน์
6 โปรแกรมค้นดูเว็บ
ซอร์ฟแวร์สำเร็จ (Package software)
เป็นซอร์ฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน มีลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนา เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมออกแบบชิ้นงาน โปรแกรมสร้างภาพ โปรแกรมบันทึกเวลา ทำงานและคิดค่าจ้างในเครื่องวงเวลาต่างๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เครื่องสแกนใบหน้า
6.เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน จะต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อถึงกัน เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน สามารถใช้บริการวายฟาย บริเวณที่มีสัญญาณวายฟายเรียกว่าฮอตสปอร์ต ซึ่งนอกจากสัญญาณวายฟายแล้วยังสามารถเชื่อมต่อผ่านระบบสายนำสัญญาณเรียกว่า สายแลน สมาร์ตโฟนที่ใช้บริการ 3G 4G 5G และ 6G สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้สัญญาณวายฟาย
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
เรียกว่า ไอเอสพี ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบางบริษัทให้บริการโทรศัพท์ความเร็วสูงด้วย
สายนำสัญญาณอินเตอร์เน็ต
เป็นสายนำสัญญาณความเร็วสูง ปัจจุบันนิยมใช้ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณแต่ละครั้งจะไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ สามารถส่งสัญญาณได้ไกล มีความปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูลเพราะส่งผ่านข้อมูลภายในเครือข่ายโดยใช่แสงเป็นตัวนำ จึงยากที่จะดักจับข้อมูลระหว่างทาง สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นทำมาจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า จึงไม่มีการนำกระแสไฟฟ้าและไม่เกิดการลัดวงจร อีกทั้งสายไฟเบอร์ออฟติกยังทำมาจากวัสดุที่ไม่ลามไฟ
เราท์เทอร์
เป็นอุปกรณ์จัดเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่เร็วที่สุด เป็นตัวแจกไอพีแอดเดรสไปยังผู้ใช้แต่ละเครื่อง
ฮับ
เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณไปยังเครื่องอื่นๆ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพียงติดตั้งสัญญาณจากช่องต่อของเราท์เตอร์เข้าที่ช่องทางออกของฮับ จะทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องที่ต่อสายสัญญาณเข้ามา
สายนำสัญญาณ
สายที่ใช้เชื่อมต่อในระบบแลนเป็นสายที่มีสี่คู่ บิดกันเป็นเกลียว เรียกว่า สายคู่บิดเกลียว มีสองชนิดคือ UTP และ STP
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
เป็นภาคปฏิบัติของระบบสารสนเทศซึ่งเริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเก็บรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลมาผ่านกระบวนการประมวลผลและจัดเก็บเพื่อใช้งานต่อไป
5.2 ประมวลผล
เป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมไว้มาตรวจสอบความถูกต้อง
5.3 สารสนเทศ
เป็นการนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาสรุปเป็นผลลัพธ์
ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้เกิดสารสนเทศขึ้นมา ดังนี้
คำนวณ (Calculate)
จัดทำรายงาน (Report)
จัดเรียงข้อมูล (Sorting)
จัดเก็บ
เข้ารหัสข้อมูล (Coding)
ทำสำเนา
ตรวจสอบ (Check)
รวบรวมข้อมูล (Data collection)
แจกจ่ายและสื่อสารข้อมูล
5.1 รวบรวมข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่
2.ด.ญ.มาริ สมบูรณ์บูรณะ ม.2/522 เลขที่ 33
1.ด.ญ.พรรวินท์ จิตมโนวรรณ ม.2/522 เลขที่ 24