Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้แสงสว่างของอดีตและปัจจุบัน - Coggle Diagram
การใช้แสงสว่างของอดีตและปัจจุบัน
ในอดีตมนุษย์ใช้แสงสว่างจากตะเกียงและเทียนไขเพื่อเพิ่มความสว่างในยามค่ำคืน
ตะเกียง เป็นเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่ยังคงมีใช้มาจนปัจจุบัน สันนิษฐานว่าพัฒนามาจากตะคันในสมัยโบราณ มีรูปร่างหน้าตาและวัสดุการผลิตหลากหลายแบบตามลักษณะสภาพแวดล้อมการใช้งาน
ตะเกียงที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบในประเทศไทย คาดว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 พบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทำจากสำริด สูง 27 ซม. รูปร่างคล้ายกานำ มีกระเปาะใส่น้ำมัน มีส่วนยื่นออกมาทรงถ้วยสำหรับใส่ไส้ตะเกียง ด้ามงอนเป็นลายใบปาล์มและโลมาสองตัว อาจผลิตขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ คาดว่าผู้ที่นำเข้ามาน่าจะเป็นพ่อค้าอินเดียในสมัยนั้น
ตะเกียงที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ ทั้งวัสดุและความประสิทธิภาพในการให้แสงสว่าง สำหรับประเทศไทยนั้น ในสมัย 40-50 ปีก่อน ตามชนบท มีตะเกียงชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเพราะทำจากวัสดุและให้แสงสว่างได้เหมาะสมกับราคา เรียกว่า “ตะเกียงน้ำมันก๊าด”
ตะเกียงน้ำมันก๊าด หรือ ตะเกียงกระป๋อง ทำจากวัสดุง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันคือขวดหรือกระป๋องนมโลหะ โดยใช้สังกะสีม้วนเป็นหลอดสำหรับใส่ไส้ที่ทำจากด้ายดิบหรือเศษผ้าที่สอดลงไปในกระป๋องที่มีน้ำมันก๊าดอยู่ ตัวไส้จะดูดน้ำมันก๊าดขึ้นมาจนชุ่ม เมื่อจุดไฟที่ไส้ก็จะมีเปลวไฟให้แสงสว่างที่ยาวนานจนกว่าน้ำมันก๊าดจะหมด
วิธีการทำตะเกียงน้ำมันก๊าด มีดังนี้
เปิดปากกระป๋องและล้างทำความสะอาดกระป๋องให้เรียบร้อย โดยกระป๋องก็คือตัวตะเกียง
ตัดสังกะสีแผ่นเรียบให้เป็นวงกลมให้พอดีกับตัวตะเกียงแล้วเจาะรูตรงกลาง
นำไปเชื่อมกับตัวตะเกียงอีกที
ส่วนฝากระป๋องที่เปิดออกจะเอาไปทำเป็นคอตะเกียง โดยนำไปล้างทำความสะอาดเสียก่อน แล้วจึงนำมาตัดเป็นแผ่นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้ว
นำแผ่นวงกลมมาขึ้นรูปเป็นทรงกระบอก แล้วนำไปเชื่อมติดกับตัวตะเกียงที่มีรูตรงกลาง ส่วนหัวตะเกียงจะใช้สังกะสีปักและพับเพื่อใส่ไส้ตะเกียง เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1 more item...
วิวัฒนาการของหลอดไฟ LED
ยุคที่ 1 ยุคค้นพบครั้งแรก ปี ค.ศ. 1907 หรือ กว่า 107 ปี มาแล้ว กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มค้นพบ ไฟ LED เป็นครั้งแรกของโลก ในรูปของสารกึ่งตัวนำ ไดโอด แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้งาน ในเชิงพาณิชย์ได้
ยุคที่ 2 ยุคแห่งการพัฒนา ปี ค.ศ.1962 หรือ กว่า 52 ปี มาแล้ว กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ของ Mr.Nick Holonyak ได้พัฒนา ไฟ LED ต่อ จนสามารถ แยกแสงสีแดง สเปกตัม ออกมาได้ การค้นพบครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญ ของวงการ ไฟ LED จึงทำให้ Mr.Nick ได้รับฉายา " Farther of Light Emitting-Diode.
หลังจากการค้นพบ LED สีแดง ของ Mr.Nick นั้น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆ มา ก็พยายามพัฒนาต่อ และด้วยความพยายามอย่างหนัก ในที่สุด ก็สามารถ ค้นพบ LED สีเหลือง ได้เป็นสีต่อมา ซึ่งตอนนี้ ขาดอีกเพียงสีเดียว นั่นก็คือ สีน้ำเงิน เพราะถ้าหาก สามารถสร้าง ไฟ LED ครบ 3 สี เมื่อไหร่ คือ แดง เขียว น้ำเงิน RGB ก็จะทำให้สามารถสร้าง ไฟ LED แสงสีขาว ได้
ยุคที่ 3 ยุคแห่งการเริ่มต้นใช้งาน ในเชิงพาณิชย์ ค.ศ. 1996 หรือกว่า 18 ปี มาแล้ว ในที่สุดความพยายาม ที่ยาวนาว ก็ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ ชาวญี่ปุ่น สามารถ สร้าง ไฟ LED แสงสีน้ำเงินได้ และ เริ่มทำการ นำ ไฟ LED ทั้ง สามสี มา ผสม สี กัน จนในที่สุด สามารถสร้าง ไฟ LED แสงสีขาว ได้เป็นผลสำเร็จ และ นี่คือ การเปลี่ยนแปลง ครั้งยิ่งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ของโลก
ยุคที่ 4 ยุคแห่งการ ปฎิวัติ วงการหลอดไฟ ของโลก ค.ศ. 2004 ถึงปัจจุบัน หรือกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน วงการ หลอดไฟ LED ได้มีการพัฒนาประสิทธิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมท้ั้งราคาของหลอดไฟ LED ก็ได้มีการ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทำให้ในปัจจุบัน หลอดไฟ LED มีความคุ้มค่าในการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้า ที่ลดลง โดยในขณะนี้ หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน ได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และ อาคารสำนักงาน ซึ่งมีการใช้หลอดไฟ จำนวนมาก
คุณสมบัติ ของหลอดไฟ ระบบใหม่ : หลอดไฟ LED
1.กินไฟน้อย เพราะใช้ W ต่ำ แต่มีประสิทธิภาพ การให้แสงสว่างสูงมาก 100-140 lumen ต่อ W
2.อายุการใช้งานยาวนาน อายุการใช้งานเฉลี่ย 3 ปี 5 ปี 10 ปี / Lifetime 30,000 / 50,000 / 100,000 ชม
3.ควบคุมทิศทางการให้แสงสว่างได้ เวลาติดตั้ง ไม่มีความจำเป็นต้องเลือกใช้ร่วมกับ โคมไฟ ที่มีแผ่นสะท้อนแสงอย่างดี ทำให้ประหยัดต้นทุน และลดค่าโคมไฟ ไป 2-4 เท่า ( ในกรณีการติดตั้งใหม่ และ ถ้าเป็นกรณีการติดตั้งทดแทนหลอดไฟดั้งเดิม ก็สามารถใช้โคมไฟเดิมได้เลย โดยไม่ต้องซื้อโคมไฟใหม่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดไฟ)
4.แสงสว่างที่แผ่ออกมา ไม่มีความร้อน และ ไม่มี แสง UV ปะปนออกมา ทำให้อุณหภูมิห้องปกติ ประหยัดค่าแอร์ และจากการที่ หลอดไฟ LED ไม่มีแสง UV ทำให้แมลงมองไม่ค่อยเห็นแสงไฟ (หมายเหตุ แมลงส่วนใหญ่มองเห็นแสงไฟ ในช่วงคลื่นแสง UV ) ดังนั้นโรงงาน หรือ ออฟฟิศ และบ้าน ที่ใช้ หลอดไฟ LED ก็จะไม่ค่อยถูกแมลงรบกวน