Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเผชิญความเจ็บปวด ในระยะที่1ของการคลอด - Coggle Diagram
การเผชิญความเจ็บปวด
ในระยะที่1ของการคลอด
ทฤษฎีที่อธิบายองค์ประกอบส่งเสริมให้เกิดการเจ็บครรภ์
placental aging theory
การที่รกมีการเจริญพัฒนาหลังอายุครรภ์ 40 สัปดาห์การไหลเวียนเลือดบริเวณรกลดลงทำให้รกเสื่อม และผลิต progesterone ลดลง
pressure theory
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำทารกไปกดที่บริเวณส่วนล่างของมดลูกทำให้มีการหลั่ง oxytocin ส่งผลให้มดลูกมีการหดรัดตัว
uterine stretch theory
ที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายออกมากจนเต็มที่แล้วในระยะท้ายของการตั้งครรภ์แล้วทำให้เกิดการหดรัดตัวตามมาซึ่งทฤษฎีนี้ใช้อธิบายการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงที่ตั้งครรภ์แฝดด้วย
ทฤษฎีอธิบายตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
prostaglandin synthesis theory
ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่าจากการท่ี progesterone ท่ีลดลงส่งผลและระดับ estrogen ที่เพิ่มขึ้นกระตุ้นใหม่การสร้าง prostaglandin ซึ่ง prostaglandin มีผลต่อปากมดลูกและทำให้มดลูกหดรัดตัว
fetal cortisol theory
เชื่อว่า cortisol ท่ีสร้างจากต่อมหมวกไตของทารกเป็นตัวเริ่มต้นขอกระบวนการเจ็บครรภ์โดยทารกจะมีการสร้าง cortisol มากขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
oxytocin stimulation theory
ที่เชื่อว่าการเจ็บครรภ์เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมดลูกมีความไวต่อ oxytocin ในระยะท้ายของการต้ังครรภ์ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและเจ็บครรภ์คลอด
progesterone deprivation theory
เชื่อว่าก่อนการเจ็บครรภ์จะมีการลดลงของ progesterone
และทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
ความเจ็บปวดกับผลกระทบในระยะคลอด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความเจ็บปวดที่รุนแรงมากจะกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกมีผลต่อ กล้ามเน้ือมดลูกและเลือดท่ีมาเลี้ยงมดลูกและรกส่งผลต่อการนำออกซิเจนจากรกไปสู่ทารกผลคือทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์ได้
ผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์
เครียด วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ รู้สึกไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัยจากการคลอด ไม่สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้
ผู้คลอดที่มีความเจ็บปวดรุนแรงมากจะส่งผลให้เกิดความท้อแท้ไม่ต้องการเชิญความเจ็บปวดมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคลอดและอาจเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและกลัวการคลอดคร้ังต่อไป
ผลกระทบด้านร่างกายผู้คลอด
การคลอดผิดปกติ
การคลอดยาก
ใช้เวลาคลอดที่ยาวนาน
อัตราการผ่าคลอดสูงขึ้น
การคลอดที่ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการ
ความเจ็บปวดจะกระตุ้นให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากขึ้นส่งผล ให้ประสิทธิภาพในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลงนอกจากนี้ผู้คลอดจะมีอัตราการหายใจท่ีเร็วขึ้นจนเกิดภาวะ Hyperventilation ร่วมกับภาวะหายใจเป็นด่าง เกิดการอ่อนเพลียเหนื่อยล้า และอาจทำให้ความดันโลหิตสูงข้ึนมีผลต่อการทำงานของหัวใจหากผู้คลอดมีภาวะแทรกซ้อน ท่ีเก่ียวกับโรคหัวใจอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
บทบาทพยาบาล
การเป็นผู้ช่วยลดความเจ็บปวดในระหว่างรอคลอด ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนวด การประคบร้อน เย็น การสะกดจิต การลูบสัมผัส
การนวดโดยใช้อุปกรณ์จากภูมิปัญญาไทยเพื่อ ลดความปวดจากการคลอดที่มีการใช้อุปกรณ์นวดจากภูมิปัญญาไทยเปรียบเทียบกับ การนวดด้วยมือในระยะรอคลอด
ผู้สนับสนุนและเสริมสร้างความมั่นใจ ในระหว่างคลอด เช่น
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้คลอดการอยู่เป็นเพื่อน
การให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ในระยะต่างๆของการคลอด
การฝึกการหายใจเพื่อเตรียมคลอด การฝึกกล้ามเนื้อ