Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดง 4 ภาค - Coggle Diagram
การแสดง 4 ภาค
ภาคกลาง
วัฒนธรรม
เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ พระพุทธศาสนาและพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในการด าเนินชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สาคัญของวัฒนธรรมไทย
เอกลักษณ์
เอกลักษณ์การแสดงของภาคกลาง จะมีความปราณีต ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป จังหวะเเละทำนอง มีการกระชับแต่ยังคงอ่อนหวาน
วิถึชีวิต
มีวิธีชีวิตที่เกี่ยวกับเกษตรกรการปลูกข้าว เชื่อและให้ความสำคัญในเรื่องพระแม่โพสพ และจะมีความปราณีตในการบรรจงปรุงอาหาร
-
-
-
-
-
บุคคลสำคัญ
ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ(3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - )เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก้ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว
-
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วัฒนธรรม
ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วย การ แสดงหมอลำ การร้องกันตรึม เป็นต้น
วิถึชีวิต
วิถีชีวิตของคนอีสานมีวัฒนธรรม ประเพณีเฉพาะตน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่ทำการเกษตรแบบยังชีพ จะเน้นที่การทำนาใช้แรงงานคนและสัตว์ การปลูกบ้านจะยกพื้นสูงรองรับการเลี้ยงสัตว์และเก็บอุปกรณ์การเกษตร
เอกลักษณ์
ทั้งนี้ในเรื่องของภาษาที่ใช้ในภาคอีสานนั้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาอีสาน ซึ่งถือว่า เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง แต่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ มักนิยมใช้ภาษากลาง ขณะที่บริเวณอีสานใต้นิยมใช้ภาษาเขมร และยังมีภาษาถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษาผูไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราชเนื่องภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำ
ภูมิประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่ราบสูงโคราช มีลักษณะเป็นแอ่งกะทะหงายขนาดใหญ่บริเวณขอบของที่ราบสูงทาง ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกยกขึ้นเห็นชัดเจน และมีทิวเขา ภูพานวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณขอบที่ยกตัวสูง
-
การแสดง
เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผูไท) เป็นต้น
-
การฟ้อนรำตามแบบฉบับของชาวอีสานนั้น ผู้ฟ้อนมิได้เป็นช่างฟ้อนหรือช่างขับลำ แต่เป็นชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้าน การฟ้อนรำอาจจัดให้มีขึ้น เพื่อการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือฟ้อนรำเพื่อการทรงเจ้าเข้าผี เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เครื่องแต่งกายก็เป็นไปตามท้องถิ่น ข้อสำคัญต้องมีดนตรี มีจังหวะชัดและทำนองง่ายๆ ประกอบเพื่อให้การฟ้อนรำพร้อมเพรียงกัน
-
-
-
บุคคลสำคัญ
-
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เป็นผู้รอบรู้ในศิลปวิทยาการด้านนาฏศิลป์ เสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมไทย ผู้เชี่ยวชาญในตำราฟ้อนรำ สืบมาแต่สมัยโบราณ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการคิดค้นประดิษฐ์ลีลาท่ารำ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย และดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผน อันมีมาแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท้าวพญามหากษัตริย์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญ ตลอดจนท่าทางของสัตว์ต่างๆ โดยสามารถคิดลีลาท่ารำได้อย่างงดงาม และเหมาะสมกับบทบาท นอกจากนี้ยังมีผลงาน การประพันธ์บทสำหรับแสดง ทั้ง
ภาคใต้
วัฒนธรรม
โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายครึ่งกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเองจึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้
เอกลักษณ์
ภาคใต้มีภาษาพูดประจําถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วน กลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวีหรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋(ทำอะไร) หวังเหวิด (เป็นห่วง) ทำพรือ (ทำยังไง) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวีเพราะนับถือศาสนาอิสลาม
วิถีชีวิต
ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์
-
ภูมิประเทศ
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมหรือแผ่นดินยื่นลงไปในทะเล มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งสองด้านรวมกันมากกว่า 2,400 กิโลเมตร ตอนกลางของภาค มีเทือกเขาสูง 3 แนวทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดพื้นที่ลาดเอียงจากตอนกลางลงสู่ชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ส่วนพื้นที่ถัดขึ้นไปถึงตอนกลางของภาคซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขาที่ลาดเอียงสู่ชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน และ เทือกเขาแต่ละแนวจะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร กำเนิดแม่น้ำและลำน้ำสาขาที่สำคัญหลายสายไหลผ่านกระจัดกระจายทั่วไปลงสู่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน
-
-
-
บุคคลสำคัญ
.
-
ยก ชูบัวหรือโนรายก ชูบัว เป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในภาคใต้ เกิดเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ที่บ้านทะเลน้อยตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดาชื่อเลิศ เป็นชาวบ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีอาชีพทํานา มารดาชื่อเลี่ยม เป็นชาวบ้านนาพรุ ตําบลเขาชัยสน อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีอาชีพทํานา
มรณกรรมเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๓๐ น. โนรายก ชูบัว ก็ได้ถึงแก่กรรม ณ บ้านเลขที่ ๓๔๓ หมู่ที่ ๔ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๑๐ เดือน
เกียรติคุณที่ได้รับ
- พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับผ้ามนโนราสีสวยสด จาก พ.ต.อ. ขุนพันธรักษ์ราชเดช
- พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับขันเงินจากพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ในการฉลองพระไตรปิฎกวัดหาดใหญ่ใน อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- พ.ศ. ๒๕๐๓ รำต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพ ฯ เป็นต้น
ภาคเหนือ
วัฒนธรรม
นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น ดังนั้นนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆอีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)
เอกลักษณ์
เอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงขอภาคเหนือจะมีความนุ่มนวล งดงามมีท่วงทำนองของดนตรีที่ช้า เนิบนาบ อ่อนโยน มีความไพเราะ
วิถีชีวิต
ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อน ในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
-
ภูมิประเทศ
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย
-
-
-
แนวทางการอนุรักษ์
การฝึกอบรม
ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และชุมชน ให้มีการฝึกอบรมให้แก่วัยรุ่น ได้เข้ามาการถ่ายทอดการแสดงพื้นบ้านจากผู้ที่มีความรู้ทางด้านศิลปะการแสดงเป็นอย่างดีจากในชุมชนนั้นๆ โดยให้มีการจัดกิจกรรมให้วัยรุ่นได้ลองปฏิบัติ พูดถึงข้อดีและเสน่ห์ของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเกิดความสนใจ
จัดทำสื่อ
มีการจัดทำสื่อต่างๆ ในการสอนศิลปะการแสดง เพื่อเผยแพร่การแสดงพื้นบ้านสู่สาธารณะในรูปแบบที่น่าสนใจและสร้างความบันเทิง เป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดกับศิลปะการแสดงพื้นเมืองได้อีกทางหนึ่ง เช่น เว็บไซต์ โฆษณา สื่อโซเชียลต่างๆ เป็นต้น
จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
ขอความร่วมมือกับสถานศึกษาให้มีการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความเป็นไทย มีความรักและหวงแหนในเอกลักษณ์ของการแสดงพื้นบ้าน มีการสอนศิลปะการแสดงพื้นบ้านของไทยให้กับเด็กๆ เพื่อให้ในอนาคตได้นำไปประยุกต์และร่วมกันอนุรักษ์
จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์
ในแต่ละหมู่บ้านควรจะมีกลุ่มอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี เพื่อให้การดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะพื้นบ้านให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
-
-
-
บุคคลสำคัญ
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ (5 มกราคม พ.ศ. 2456 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2546) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ประจำปีพุทธศักราช 2541
-