Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Fetal distress, นางสาวปนัดดา โพนเงิน เลขที่4 ชั้นปีที่4, อ้างอิง:สุนันทา…
Fetal distress
อาการและอาการแสดง
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติแสดงถึงการขาดออกซิเจน (late deceleration และ variable deceleration) มีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 110 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 160 ครั้ง/นาที
มีภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำในระดับเล็กน้อยมีสีเขียวปนเหลืองจางๆ (thin meconium หรือ mild meconium stained) หรือมีขี้เทาปนสีเขียวข้น (thick meconium stained) ลักษณะดังกล่าวแสดงให้ทราบว่าทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจน
-
-
การตรวจวินิจฉัย
-
-
ตรวจพบรูปแบบการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ จากการใช้เครื่องตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจทารกทางหน้าท้องพบภาวะที่บ่งชี้ว่าทารกไม่ปลอดภัย (เช่น late deceleration หรือ variable deceleration) บ่งชี้ว่าทารกในครรภ์มีภาวะอันตรายจากการขาดออกซิเจน
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น ตรวจเลือดจากศีรษะทารก พบเลือดเป็นกรดการตรวจด้วยเครื่องทางหน้าท้องแบบไม่กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก (non stress test) พบ non-reactive เป็นต้น
-
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะที่สายสะดือถูกกดขณะมดลูกมีการหดรัดตัว ทําให้ทารกขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดโดยมักพบในรายที่น้ำคร่ำน้อย หรือสายสะดือพลัดต่ำ
-
กําหนดมดลูกหดรัดตัวรุนแรง สตรีมีภาวะตกเลือด มีภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ หรือรกเสื่อมสภาพจากการตั้งครรภ์เกินกําหนด
พยาธิสภาพ
จากการที่สายสะดือถูกกดทับหรือเลือดไปเลี้ยงรกน้อยลงจากสาเหตุใดก็ตามทําให้เลือด ไหลเวียนสู่ทารกน้อยลง โดยเฉพาะไปที่เซลล์สมองและหัวใจลดลง ร่างกายทารกจะมีการตอบสนองในช่วงแรกโดยมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เมื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจนนานๆ ทารกจะมีการเผาผลาญอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนทําให้เกิดภาวะกรดคั่งในร่างกาย หัวใจจะถูกกระตุ้นให้เต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดส่วนปลายมีการหดรัดตัว แรงดันเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขหรือแก้ไขล่าช้า หัวใจทารกจะเต้นช้าลง ภาวะขาดออกซิเจนทําให้หูรูดทวารหนักของทารกในครรภ์คลายตัวจึงตรวจพบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ เมื่อยังมีภาวะขาดออกซิเจนดําเนินอยู่อีกจะทําให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด
-
อ้างอิง:สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ,วรางคณา,สุรีย์พร กฤษเจริญและศศิกานต์ กาละ.(2562).การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์2(ชื่อเอกสารประกอบการสอน)[เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานคริินทร์.