Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่, นางสาวเก็จมณี กิ่งมณี…
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
จังหวัดเชียงใหม่
เป้าหมาย
เด็กและวัยรุ่นมีสุขภาพจิตที่ดี
การพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นดีขึ้น
องค์กรมีความก้าวหน้า
บุคลากรมีความสุข
ค่านิยม
รู้รับผิดชอบ ส่งมอบนวัตกรรม นำเด็กเป็นศูนย์กลาง สร้างงานคุณภาพ
เป็นองค์กรชั้นนำด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นระดับประเทศ และมีความเป็นเลิศด้านเด็กพัฒนาการล่าช้าในระดับสากล
" เราช่วยเหลือเด็ก ครอบครัวและชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ "
OPD แผนกผู้ป่วยนอก
จุดคัดกรอง
คัดกรองผู้ป่วยเก่า ใหม่ มาตามนัด และผิดนัด
พบแพทย์ รับยา มาฝึกแผนกต่างๆ(ฝึกพัฒนาการ ฝึกพูด ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นต้น) และอื่นๆ
วัดอุณหภูมิผู้ปกครอง และเด็ก
คัดกรองการติดเชื้อของเด็กที่เข้ามารับการรักษา เช่น ตาแดง อีสุกอีใส มือเท้าปาก ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และอื่นๆ
คัดกรองวัณโรค มีอาการเป็นมาแล้วกี่วัน ไอติดต่อกันนานแค่ไหน มีไข้ติดต่อกันเกิน 7 วันหรือไม่ เคยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคหรือไม่
คัดแยกผู้ป่วย
ทั่วไป
สัญญาณชีพปกติ ไม่พฤติกรรมที่ทำลายตนเอง ผู้อื่น และทำลายทรัพย์สิน ไม่มีอาการอยู่ไม่นิ่ง ควบคุมอาการชักได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทานยา
กึ่งเร่งด่วน
สัญญาณชีพคงที่ สามารถควบคุมได้ หงุดหงิด ดื้อ ต่อต้าน ทำลายสิ่งของเล็กน้อย มีอาการบางครั้ง อยู่ไม่นิ่ง แต่สามารถควบคุมตนเองได้หรือผู้ปกครองตักเตือน มีความคิดเรื่องตาย แต่ไม่มีอาการทำร้ายตนเองหรือคิดฆ่าตัวตาย มีอาการข้างเคียงจากการทานยา แต่ไม่ส่งผลต่อการรักษา มีอาการชักภายใน 24 ชั่วโมง
วิกฤต/ฉุกเฉิน
สัญญาณชีพผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำร้ายตนเอง มีบาดแผล รอยช้ำ ถืออาวุธ ทำร้ายผู้อื่นรุนแรงจนเกิดอาการบาดเจ็บ ทำสิ่งของแตกหักเป็นอันตราย ขาดสมาธิรุนแรง ไม่สามารถควบคุมตนเอง ผู้ปกครองตักเตือนไม่ได้ พยายามที่จะฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง เช่น กินยาเกินขนาดมากๆ วิ่งให้รถชน กระโดดตึก ถืออาวุธ มีอาการข้างเคียงจากการทานยารุนแรง มีอาการชักนานกว่า 30 วินาที หรือชักมากกว่า 2 ครั้งภายใน 1 ชั่วโมง
เร่งด่วน
สัญญาณชีพผิดปกติ แต่สามารถควบคุมได้ ทำร้ายตนเอง แต่ไม่รุนแรงมาก ดื้อมาก ข่มขู่ พกอาวุธ ทำร้ายผู้อื่น แต่ไม่เกิดอาการบาดเจ็บ ขว้างปาสิ่งของ มีความคิดฆ่าตัวตายชัดเจน มีการเตรียมพร้อม พยายามทำร้ายตนเอง เช่น กรีดข้อมือ สะสมยา มีอาการข้าวเคียงจากการทานยา ซึม พูดไม่ชัด มีอาการชักภายใน 1 ชั่วโมง
จุดวัดสัญญาณชีพ
จุดนี้จะวัดสัญญาณชีพทั่วไป เช่น ชีพจร ความดัน น้ำหนักส่วนสูง เป็นต้น เพื่อนำไปประเมินการจ่ายยา เพื่อประเมินอาการกินผิดปกติ (ED) และอื่นๆ
จุดเวชระเบียน
ทำหน้าที่เช็คสิทธิการรักษาและออกใบตรวจการรักษา
ผู้ป่วยที่ใช้ "สิทธิการรักษาเบิกจ่ายตรง" สามารถเปิดใบตรวจการรักษาได้ที่ตู้ KIOS ไม่ต้องรอคิวที่จุดเวชระเบียน
ผู้ป่วยรายใหม่
รับเอกสารจากจุดประชาสัมพันธ์ เพื่อกรอกข้อมูลผู้ป่วย แล้วยื่นที่จุดเวชระเบียนเพื่อออกใบตรวจการรักษา
ผู้ป่วยรายเก่า
สามารถยื่นใบนัด และแบบบันทึกการคัดกรองที่จุดเวชระเบียน เพื่อเช็คสิทธิการรักษา และออกใบตรวจรักษา
จุดซักประวัติ
ทำหน้าที่ซักประวัติทั่วไป cc pi ph ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการพัฒนาการ พยาบาลจะติดต่อคลินิก เพื่อฝึกพัฒนาการผู้ป่วย
จุดเรียกพบแพทย์
ทำหน้าที่จัดเรียงลำดับคิวการเข้าพบแพทย์
พบแพทย์
จุดหลังพบแพทย์
ทำหน้าที่ให้คำแนะนำตามแผนการรักษา อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจแผนการรักษามากขึ้น
จุดนัดกลาง
ทำหน้าที่รับเอกสาร ทำเอกสารใบนัดพบแพทย์ครั้งต่อไป
ห้องจ่ายยา
ทำหน้าที่จ่ายยา และชำระเงินตามสิทธิการรักษา
มีการจัดแบ่งสีคัดกรองผู้ป่วย
สีแดง
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงภายใน 3 วัน ในระดับเร่งด่วน และวิกฤต/รุนแรง
สีเหลือง
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงภายในก่อน 7 วัน ในระดับทั่วไป และกึ่งเร่งด่วน
IPD อุ่นใจ
แผนกผู้ป่วยใน
เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย
การบุเบาะติดขอบมุมเสา เพื่อป้องกันอันตราย และป้องกันผู้ป่วยทำร้ายตนเอง
ภายในห้องน้ำ ไม่มีสายต่างๆที่จะให้ผู้ป่วยนำไปทำร้ายตนเอง
การนำฝาชักโครกออก เนื่องจากผู้ป่วยชอบเล่น อาจทำให้เกิดการแตกหัก แล้วทำให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บ
การติดรูปภาพขั้นตอนการใช้ห้องน้ำเป็นรูปภาพที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจวิธีการใช้ห้องน้ำ สำหรับผู้ป่วยออทิสติก และอื่นๆ
เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
วาดรูป อ่านหนังสือ พับกระดาษ และอื่นๆ
กิจกรรมออกกำลังกาย
เสริมสร้างให้ผู้ป่วยเป็นผู้นำในการออกกำลังกาย
เสริมสร้างความจำ เรื่องการจดจำท่าการออกกำลังกาย
ออกกำลังกล้ามเนื้อ
ห้องโถง หรือห้องใช้ส่วนรวม
ผู้ป่วยทุกคนจะมีโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา เป็นของตนเอง จัดเป็นจุดอยู่ตามมุมต่างๆของห้อง
เป็นห้องที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ผู้ป่วยจะกำหนดเป้าหมายของตนเอง เพื่อลดพฤติกรรม เช่น พูดไม่มีคำหยาบ พูดค่ะ/ครับลงท้าย ไม่ติดเกม ออกกำลังกาย หมั่นทำความสะอาดร่างกาย เป็นต้น
เขียนลงใส่กระดาษ และติดบริเวณโต๊ะของตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้มองเห็นเป้าหมายของตนเองอยู่ตลอด
ผู้ป่วยชาย และหญิงอยู่ร่วมกัน
ดูแลผู้ป่วยทั้งทางกาย และทางจิตเวช อายุต่ำกว่า 18 ปี โดยจะเน้นทางจิตเวช เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจะมีอาการทางจิตเวชเป็นส่วนมาก การดูแลจึงเป็นการเสริมสร้างพัฒนการเรียนรู้ สติปัญญา จิตวิทยา กายภาพบำบัดโครงร่าง/กล้ามเนื้อ ศิลปะ และอื่นๆ โดยมีพยาบาลค่อยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการรักษา การทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ
ป้องกันผู้ป่วยหลบหนี
การจัดทำประตูเข้าออกจำนวนมาก และทุกประตูมีระบบแสกนบัตรเข้าออกของพยาบาลตลอด และอาจจะมีประตูบางบานที่ใช้กุญแจในการล็อก
เครื่องสแกนทางเข้าออก จะนำสิ่งของไปปิด เพื่อป้องกันผู้ป่วยทำลายสิ่งของ และรู้วิธีการหลบหนีออกจากหอผู้ป่วย
อาการที่รับเข้าหอผู้ป่วย
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
ติดเกมรุนแรง
ดื้อ ต่อต้าน ไม่ไปโรงเรียน
โดนกระทำรุนแรง
ส่งเสริมการดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเอง
ภายในหอผู้ป่วยจะมีการกำหนดเวลาการทำกิจกกรรมต่างๆอย่างชัดเจน
IPD พัฒนาการ
แผนกผู้ป่วยใน
ดูแลผู้ป่วยด้านพัฒนาการ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการดีขึ้น
ต้องมีผู้ปกครองดูแลตลอดการรับการรักษา
รักษาแบบผู้ปกครองสามารถเดินทางไป-กลับ
และรักษาต่อเนื่อง โดยมีที่พักให้ผู้ปกครองและเด็กอาศัยตลอดการรักษาสำหรับครอบครัวที่เดินทางไกล
งานการพยาบาลประเมิน
ประเมินอาการผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมิน คัดกรอง กระตุ้น
มีห้องสมุดของเล่น มีอุปกรณ์ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการของผู้ป่วยตามอาการของโรคที่ผู้ป่วยเป็น โดยมีพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และสอนวิธีการเล่น การรักษา
ประเมินอาการของผู้ป่วย เป็นต้น ของเล่นสามารถให้ผู้ปกครองยืมกลับบ้านได้ เพื่อให้ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการของผู้ป่วยอยู่ตลอด สามารถนำมาคืนเมื่อมีนัดพบแพทย์ครั้งต่อไปได้ หรือจนจบการรักษา
นางสาวเก็จมณี กิ่งมณี เลขที่ 67 ปี 3 ห้อง 2 รหัส 64125301136