Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบภายในร่างกาย - Coggle Diagram
ระบบภายในร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร
-
กลไกการทำงาน
เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก
ระบบหายใจ
องค์ประกอบระบบหายใจ
รูจมูก (Nostrils หรือ Nares) เป็นรูเปิดด้านนอกของทางเดินอากาศเข้าสู่โพรงจมูก ในม้ารูจมูกสามารถปรับขนาดได้ ในขณะที่ในสุกรจะแข็งไม่สามารถปรับขนาดได้ การที่รูจมูกสามารถขยายได้ในม้าเป็นข้อดีเนื่องจากทำให้ได้รับอากาศมากในเวลาที่ต้องออกกำลัง รูจมูกม้าสามารถปรับขยายได้มาก
โพรงจมูก (Nasal cavities) รูจมูกนำอากาศเข้ามาสู่โพรงจมูกซึ่งแยกเป็น 2 ข้างด้วย nasal septum และแยกจากช่องปากโดย soft และ hard palate ในโพรงจมูกจะมี nasal conchae (turbinate bones) แบ่งโพรงจมูกเป็นช่องๆ mucosa ของ nasal conchae มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากเพื่อคอยอุ่นอากาศและให้ความชื้นแก่อากาศที่หายใจเข้าก่อนผ่านไปสู่ทางเดินอากาศที่ลึกเข้าไปในร่างกาย ในขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านเข้ามาอุ่นอากาศก็จะมีอุณหภูมิลดลงก่อนที่จะผ่านไปสู่สมอง ดังนั้นในทางกลับกันก็คืออากาศจะช่วยทำให้เลือดเย็นลง เลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายประมาณ 20- 30 oC ดังนั้นระบบการทำให้เลือดมีอุณหภูมิลดลงก่อนไปเลี้ยงสมองจะเป็นประโยชน์เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ sensitive ต่อความร้อน นอกจากการอุ่นอากาศด้วยเส้นเลือดที่ผ่านมาเลี้ยง conchae แล้ว การหายใจด้วยปากก็เป็นกลไกตอบสนองอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันในกรณีที่อากาศที่หายใจเข้าไปเย็นมาก โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยการลดปริมาณอากาศเย็นที่จะผ่านไปที่ conchae
หลอดคอ (Pharynx) อยู่ต่อจากส่วนท้ายของ nasal cavities เป็นทางรวมก่อนที่จะแยกเป็นทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ สิ่งที่เปิดเข้าสู่บริเวณ pharynx ได้แก่ posterior nares 1 คู่, eustachian tube 1 คู่, ช่องปาก, glottis และ esophagus ทางออกจากหลอดคอเข้าสู่ทางเดินหายใจ คือ glottis และมีส่วนต่อด้วย larynx เป็นอวัยวะที่สร้างเสียง เกิดจากการควบคุมทางเดินอากาศ ซึ่งอากาศที่ผ่านเข้าจะทำให้มีการสั่นของเส้นเสียงใน larynx สำหรับในนกจะมี syrinx เป็นอวัยวะสร้างเสียง โดย syrinx จะอยู่ในตำแหน่งที่ trachea แยกออกเป็น bronchi
หลอดลม (Trachea) เป็นทางเดินอากาศส่วนต้นที่จะนำพาอากาศไปสู่ปอด trachea ต่อมาจาก larynx และแยกออกเป็น bronchi 2 ข้าง ผนังของ trachea เป็นกระดูกอ่อนวงแหวน (cartilaginous ring) ทั้งนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ท่อทางเดินอากาศยุบแบน (รูปที่ 3) trachial ring นี้ ส่วน dorsal จะไม่ต่อกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ trachea ปรับขนาดของ diameter ได้ โดยมีกล้ามเนื้อเรียบควบคุม ซึ่งเป็นประโยชน์ คือ trachea สามารถขยายได้ในภาวะที่ต้องการอากาศมาก bronchi ข้างขวาและซ้ายจะต่อไปสู่ bronchioles, terminal bronchioles, respiratory bronchioles, alveolar duct, alveolar sac และ alveoli
ถุงลมปอด (Pulmonary alveoli) เป็นตำแหน่งที่มีการแลกเปลี่ยน gas ระหว่างอากาศกับเลือด โดยมีเนื้อเยื่อ (alveolarcapillary membrane) ที่กั้นกลาง ประกอบด้วย alveolar epithelium และ capillary endothelium ที่ตำแหน่งนี้เลือดดำจาก pulmonary artery จะนำ CO2 มาปล่อยเข้าถุงลม และรับ O2 จากถุงลมเข้ามา ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปสู่หัวใจทาง pulmonary vein
ปอด (Lung) เป็นโครงสร้างหลักของระบบหายใจ อยู่ในส่วนของช่องอก เมื่อช่องอกขยายปอดก็ขยายตาม เปิดโอกาสให้อากาศไหลเข้ามาสู่ปอด เมื่อช่องอกหดแฟบลงปอดก็ถูกบีบ ขับอากาศออกไปสู่ภายนอก ปอดสามารถเคลื่อนไหวได้โดยแทบจะไม่มีแรงเสียดทาน (friction-free movement) ภายในช่องอก ทั้งนี้เพราะมีเนื้อเยื่อหุ้มปอด (pleura) ซึ่งเป็น smooth serous membrane ที่ห่อหุ้มปอด แบ่งออกเป็นส่วนที่เชื่อมติดกับปอดเรียกว่า visceral pleura และส่วนที่เชื่อมติดกับผนังช่องอกเรียกว่า parietal pleura
กลไกการทำงาน
การหายใจเข้าและหายใจออกเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามยึดกระดูกซี่โครง การหายใจเข้า กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงให้ยกตัวขึ้น ปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความดัน ในช่องอกลดลง ส่งผลให้อากาศจากภายนอกเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด
ระบบไหลเวียน
-
กลไกการทำงาน
การไหลเวียนเลือดเกิดขึ้นได้จากแรงที่หัวใจบีบตัวส่งเลือด ตามหลอดเลือดไปยังปอด เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วกลับมาเข้าหัวใจเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย สุดท้ายจะไหลเวียนมาเข้าหัวใจอีก เช่นนี้เรื่อยไป หน้าที่ของระบบไหลเวียนเลือด
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
องค์ประกอบระบบขับถ่าย
4) กระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder )
เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ภายในเป็นโพรง สำหรับพักปัสสาวะก่อนขับออกภายนอกร่างกาย ในพระเพาะปัสสาวะจะเป็นทางเปิด 3 ช่อง คือ ทางเปิดชองท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจำนวน 2 ช่อง และทางเปิดออกสู่ท่อปัสสาวะจำนวน 1 ช่อง หน้าที่สำคัญของกระเพาะปัสสาวะคือรับน้ำปัสสาวะที่กรองมาจากไต และเป็นที่พักชั่วคราวของปัสสาวะทั้งนี้เพื่อป้องกันการไหลของปัสสาวะที่จะ ออกทางท่อปัสสาวะตลอดเวลา และเมื่อกระเพาะปัสสาวะรวบรวมปัสสาวะมากเท่าที่สามารถบรรจุได้ ก็จะมีการขับถ่ายออกเป็นครั้งคราว โดยมีระบบประสาทควบคุมอัตโนมัติและระบบประสาทส่วนกลางเป็นตัวควบคุมการขับ ถ่าย ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะออกมา
5) ท่อปัสสาวะ ( Urethra ) การทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเริ่มขึ้นเมื่อเลือดหรือพลาสม่าไหลผ่านไต และหน่วยไต ซึ่งในบริเวณนี้จะมีการกรองและดูดซึมสารที่มีประโยชน์ และน้ำบางส่วนกลับเข้าไปใช้ใหม่ในร่างกาย ในขณะที่สารที่ร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์และน้ำบางส่วนจะถูกผลิตออกมาจากไตใน รูปของปัสสาวะ และถูกขับออกมาจากไตไปเก็บยังกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อไต และเมื่อปริมาณของน้ำปัสสาวะมากพอระบบประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะจะ กระตุ้นให้ร่างกายมีการขับน้ำปัสสาวะออกมาทางท่อปัสสาวะต่อไป( Urethra )
3) ท่อไต ( Ureters )
มีจำนวน 2 ท่อ เป็นท่อที่นำปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะมีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว
2) ไต (Kidney)
มีจำนวน 1 คู่ โดยจะอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง ( Thoracic spine ) อันที่ 12 และตอนเอว กระดูกสันหลัง ( Lubber spine ) 3 อันแรกรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง โค้งออกด้านข้างและด้านในเว้า โดยไตแต่ละข้างจะประกอบด้วยหน่วยไตหรือเนฟรอนประมาณ 1-2 ล้านหน่วย หน้าที่สำคัญของไตมีมากมายได้แก่
-
1.2) ขับของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ได้แก่ ยูเรีย ครีอาตินิน แอมโมเนีย กรดยูริก และสารพิษที่ร่างกายไม่สามารทำลายได้
1.3) กักเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อนำมาใช้ใหม่ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน ฮอร์โมน และวิตามิมต่างๆ เป็นต้น
-
-
-
1) ลำไส้ใหญ่ (large intestine) มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
-
การกำจัดของเสียทางปอด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
-
กลไกการทำงาน
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร