Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ท้องถิ่น 4 ภาค, หลวงปู่ทวด, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, สุทธิชัย, ด.ญ.ปาลิตา…
ท้องถิ่น 4 ภาค
ภาคเหนือ
ภูมิศาสตร์
มีลักษณะทางภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและทิวเขาสูง ที่วางตัวเป็นแนวยาว ต่อเนื่องกันไปแนวเหนือ-ใต้สลับกับแอ่งที่ราบ มีอากาศหนาวเย็น เกือบตลอดทั้งปีเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติทุ่ดมสมบูรณ์
-
วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เดิมวัฒนธรรมล้านนา มีศูนย์กลางที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่แบ่งการปกครองแบบนครรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งและเกิดจากการผสมผสานวิถีการดำเนินชีวิต และความเชื่อทางพุทธศาสนา การนับถือผี ส่งผลทำให้ประเพณีภาคเหนือนั้นเป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปตามฤดูกาล โดยภาคหนือนั้นจะมีงานประเพณีในทุก ๆ เดือน โดยประเพณีภาคเหนือส่วนใหญ่มีดังนี้ราย เช่น
-ประเพณีแฮกนา (แรกนา)
-ประเพณีเข้าอินทขีล
-
การแต่งกาย
วัฒนธรรมทางการแต่งกาย วัฒนธรรมภาคเหนือมีการแต่งกายพื้นเมืองที่แตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชน เนื่องจากผู้คนในภาคเหนือมีเชื้อชาติที่หลากหลาย ซึ่งการแต่งกายจะแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น
- ผู้ชายจะนิยมนุ่งกางเกงขายาว 3 ส่วน ที่ชาวบ้านจะเรียกว่า "เตี่ยว", "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" จะทำจากผ้าฝ้าย โดยจะย้อมเป็นสีน้ำเงิน หรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแบบแขนสั้น และแบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงิน หรือสีดำ ที่เรียกกันว่า เสื้อม่อฮ่อม โดยชุดนี้จะใส่เวลาออกไปทำงาน นอกจากนี้ยังใส่เสื้อคอจีนแบบแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศรีษะ และมีเครื่องประดับเงิน หรือทอง ซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือ และประพณีภาคเหนือ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์แต่กต่างจากภาคอื่น ๆ ของไทย
- ผู้หญิงภาคเหนือ จะนุ่งผ้าถุง หรือผ้าซิ่น มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งหญิงสาว และคนแก่ โดยผ้าถุงจะมีความประณีต มีลวดลายที่งดงาม ส่วนเสื้อคอกลมจะมีสีสัน ลวดลายสวยงาม โดยปกติอาจมีการห่งสไปทับ และเกล้าผม
-
วิถีชีวิต
ที่อยู่อาศัย สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คนบ้านเรือนในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่เรือนที่ค่อนข้างมีขนาด ใหญ่และประณีตมากขึ้น
-
ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ผู้คนอาศัยในดินแดนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คนเมืองกับชาวเขาคนเมือง ใช้เรียกคนที่อาศัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูนแพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอนจากสภาพภูมิศาสตร์อันอุดมสมบูรณ์ คนเมืองในภาคเหนือมีอาชีพทางการเกษตรเป็นหลักมีวัฒนธรรมประเพณีหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการเกษตร และขนบธรรมเนียมเก่าแก่ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย เช่น การนับถือผี เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆตามความเชื่อทางศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ งานปอย ทานขันข้าว ตักบาตรเทโวชาวเขา เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาและกระจายตัวอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สูงของภาคเหนือ ชนกลุ่มน้อยมีอยู่หลายเผ่า เช่น ม้ง ลาหู่ อาข่า ลีซูหรือลีซอ เป็นต้นชนเผ่าต่าง ๆ มีความผูกพันกับป่าเขา ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกบนที่สูงและการเลี้ยงสัตว์มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง ทั้งภาษา เครื่องแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรมและความเป็นอยู่
การแสดงที่นิยม
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
-
-
-
-
ภาคกลาง
ภูมิศาสตร์
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบตะกอนน้ำพาที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ
-
-
การเเต่งกาย
-
-
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า “ราชประแตน” ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม
วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ลักษณะวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีโดยรวมมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมเกี่ยวกับคามเชื่อในการดำเนินชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย
-
-
-
วิถีชีวิต
ภาคกลางมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่อุดมสมบูรณ์ เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรกรรมเศรษฐกิจและการคมนาคม จึงเป็นชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น มีหลายเชื้อชาติ เช่น คนไทยเชื้อสายมอญ
-
ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนในภาคกลางแต่เดิมมีลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างชัดเจนสำหรับที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย มีลักษณะหลังคาทรงจั่วเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและทําให้ฝนที่ตกลงมาไหลได้อย่างรวดเร็ว มีใต้ถุนสูงเพื่อกันนํ้าท่วมเเละเก็บเครื่องมือทางการเกษตร
-
-
การแสดงที่นิยม
-
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกันและพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ และออกมาในรูปแบบของ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด กลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น บางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดง ของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่น โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ลิเก หุ่น หนังใหญ่ เป็นต้น
-
-
-
บุคคลสำคัญ
รัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย - ละคร) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงส่ง และแสดงนำได้หลายหลากมากบทตั้งแต่กระบวนรำบทนางกษัตริย์ บทเทวดานางฟ้า จนถึงบทนางทุกประเภทละคร
-
-
-
ภาคใต้
การแต่งกาย
การแต่งกายชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็น ผ้ายก ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่ชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปแบบเดิมนิยม นุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติก
-
1.กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
2.กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
3.กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี กลับหน้า
วัฒนธรรมและประเพณี
ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษาวัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆกลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับหากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติหากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในกาดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยและชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
-
ภูมิศาสตร์
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
-
วิถีชีวิต
กลุ่มชนโบราณที่เคยอาศัยและตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ คือ "ชนชาวถ้ำ" และ "ชนชาวน้ำ"ชนชาวถ้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ป่าเขา โดยเข้าป่าล่าสัตว์ตามแบบดั้งเดิม ชนกลุ่มนี้คือบรรพบุรุษของพวกเซมัง หรือ ซาไก หรือเงาะป่า
ชนชาวน้ำ อาศัยอยู่ในแนวชายฝั่งทะเลตามอ่าวหรือถ้ำบนเกาะ คือ พวกโอรังลาโอด หรือโปรโต-มาเลย์ หรือชาวเลที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้เป็นคาบสมุทร ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินทางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ จึงมีชนต่างชาติเข้ามาพำนักอาศัยและเกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติ ได้แก่ชาวอินเดีย ชาวจีน และชาวตะวันออกกลาง
-
การแสดง
ภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-