Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา เรื่อง Acute Asthmatic Attack - Coggle Diagram
กรณีศึกษา เรื่อง Acute Asthmatic Attack
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยเด็กไทย
อายุ 7 ปี 7 เดือน
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย
อาการสําคัญนําส่ง (Chief Complainant: C.C.)
หายใจเหนื่อยหอบ 12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present illness: P.I.)
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ไอ มีน้ํามูก
12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หายใจเหนื่อย ไอ ไม่มีไข้ ไม่มีน้ำมูกและเสมหะ พ่นยา 1 ครั้ง อาการไม่ดีขึ้น
ประวัติสุขภาพในอดีต
เป็นโรคหอบหืด ไม่ขาดยา แต่ผู้ป่วยไม่ได้มาตามแพทย์นัด
สภาพผู้ป่วยปัจจุบัน
(14/06/66) ผู้ป่วยเด็กไทย อายุ 7 ปี รู้สึกตัวดี มีการเหนื่อย On Mack with bag 5 LPM แขนขวา On NSS lock No sign phlebitis น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ พัฒนาการสมวัย
(15/06/66) ผู้ป่วยเด็กไทย อายุ 7 ปี รู้สึกตัวดี มีการเหนื่อย On Nasal Cannula 3 LPM มือขวา On NSS lock No sign phlebitis ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง wheezing น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ พัฒนาการสมวัย
(16/06/66) ผู้ป่วยเด็กไทย อายุ 7 ปี รู้สึกตัวดี มีการเหนื่อย หายใจ Room Air มือขวา On NSS lock No sign phlebitis ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง wheezing น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ พัฒนาการสมวัย
พยาธิสภาพและพยาธิสรีระ
1.กล้ามเนื้อของหลอดลมหนาขึ้น กล้ามเนื้อที่หนาขึ้นจะพบทั้งในหลอดลมขนาดใหญ่และ ขนาดเล็ก เป็นสาเหตุให้หลอดลมแคบลงกว่าคนปกติเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวในขนาดเท่ากัน
ต่อมมูก (mucous glands ) เพิ่มขึ้น ต่อมสร้างมูกในชั้นเยื่อบุหลอดลม (epithelial goblet cells) มีปริมาณเพิ่มขึ้น หลั่งมูกออกมาอยู่ในหลอดลมจำนวนมากขึ้น อาจจะอุดตันหลอดลมได้เป็น จำนวนมาก
Reticular besement membrane หนาขึ้น และเส้นเลือดใต้ต่อผนังหลอดลมระดับนี้ จะมี ปริมาณเพิ่มขึ้นขยายใหญ่ขึ้น และอาจจะมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ผนังหลอดลม หนาขึ้น พยาธิสภาพดังกล่าวจะทำให้หลอดลมทั้งเล็กและใหญ่แคบลง บางแห่งจะอุดตันเกิด ความผิดปกติในการระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซ ก่อให้เกิดความผิดปกติในการตรวจสมรรถภาพ
4.กล้ามเนื้อหายใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการหายใจลำบากหรือเหนื่อย
อาการ
หายใจเหนื่อย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลม
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า “ยังมีอาการเหนื่อย”
O: มีอาการหอบเหนื่อย
ไอมีเสมหะ
ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง wheezing
มีอาการหอบเหนื่อย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการโรคหืดกำเริบเฉียบพลันโดยใช้Asthma score ทุก 4 ชั่วโมง
2.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ และระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน ทุก 2-4 ชั่วโมง
3.ดูแลให้ O2 Mack whit bag 5 LPM ตามแผนการรักษา
4.ดูแลพ่นยา Ventolin 2 ml + NSS up to 4 ml ทุก 4 hr.ดูแลพ่นยา berodual 1NB + NSS up to 4 ml NB ทุก 6 hr.
5.ประเมินสภาพปอดโดยการใช้หูฟัง ฟังเสียงลมผ่านปอดก่อนและหลังการพ่นยาขยายหลอดลม
6.ดูแลให้ได้รับยา Hydrocortisone 130 mg IV ทุก 6 hr.ตามแผนการรักษาของแพทย์และสังเกตอาการข้างเคียง
7.แนะนำการไออย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการไอที่ถูกต้อง
8.แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยออกแรงหรือพูดโดยไม่จำเป็น ช่วยเหลือกิจกรรมในการรับประทาน อาหาร ดื่มน้ำ ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมทุกอย่างที่เตียงโดยพยายามทำในเวลาเดียวกัน
9.ดูแลให้ 50 % MgSO4 1.3 g + NSS 30 ml IV drip ทุก 12 hr. ตามแผนการรักษา สังเกตอาการข้างเคียง และmonitor V/S RR, HR, BP ติดตาม ทุก 30 นาที
10.จัดท่า Semi fowler position
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 18 - 24 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ความเร็ว ความลึกและจังหวะใน การหาย ใจปกติ
ไม่มีภาวะร่างกายขาดออกซิเจน (cyanosis) คือ ริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้าเขียว ค่า ออกซิเจนในร่างกาย≥ 95% ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงวี้ดลดลง
บิดามารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
S: บิดาสอบถามอาการของบุตรเป็นระยะ
O: บิดามีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์
บิดามารดามีความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การะประเมิน
บิดามารดาไม่มีความวิตกกังวล
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพโดยการเข้าไปแนะนำตัวกับครอบครัวและเด็ก พูดคุยด้วยสีหน้า ท่าทางที่เป็นมิตร เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
2.อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจเกี่ยวโรค แผนการรักษา และกิจกรรมการพยาบาลด้วยคำพูดที่เข้าใจง่ายและตรงงกับความเป็นจริง
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัย
4.ก่อนให้การรักษาการพยาบาลหรือการรักษาแต่ละครั้ง อธิบายหรือบอกให้ทราบก่อน
5.เปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของผู้ป่วย
วางแผนการให้ข้อมูลเพื่อปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านตามหลัก D-METHOD
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ดูแลสามารถ ตอบคำถามเกี่ยวกับการ ปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้
กิจกรรมการพยาบาล
D: Disease ให้ความรู้เรื่องโรค Acute Asthmatic Attack คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลันในทางที่เลวลงของอาการหืด โดยจะเกิดการหดเกร็งของหลอดลม หลอดเลือดขยายตัว มีการรั่วซึมของของเหลวจากหลอดเลือดเข้าท่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุหลอดลม มีการสร้างสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น และเพิ่มความไวเกินของหลอดลม ผลที่ตามมาคือมีการเพิ่มแรงต้านทานของทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน ทำให้มีการผันผวนของลมทั่วทั้งปอด และมีลมค้างในปอด ทำให้ต้องใช้แรงในการหายใจเพิ่มขึ้น
M: Medication พ่นยาอย่างต่อเนื่องตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง เมื่ออาการดีขึ้นอาจทำให้โรคกำเริบได้ แนะนำขั้นตอนการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง ดังนี้
E: Environment Economic ให้คำแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อมให้
อากาศถ่ายเทสะดวกห้องนอนหรือที่พักผ่อนสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก
T: Treatment แนะนำให้สังเกตอาการ ไข้ ไอ หอบเหนื่อยมากขึ้น พ่นยาแล้วไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์ทันที
H: Health การหลีกเลี่ยงควันบุหรี่เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการรุนแรง ขึ้น และแนะในให้ฉีดวัคซีนเสริม คือ วัคซีนภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)
O: Outpatient referral ต้องมาตามนัดแบบต่อเนื่องและอธิบาย ถึงความสำคัญของการมาพบแพทย์ตามนัด
D : Diet การให้คำแนะนำเรื่องการรับประทาน
อาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกทอด
อ้างอิง
กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์.(2560). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำ เริบเฉียบพลัน.บทความวิชาการ.วารสาร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.(28)1
พรศิริ พันธสี. (2565). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก.(พิมพ์ครั้งที่27).กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร
อมรรัชช์ งามสวย.(2563). การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 1).คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.บริษัท สมาร์ทโคตรติ้งแอนด์เซอร์วิส กำกัด.
ละเอียด แจ่มจันทร์.(2549). สาระทบทวนการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. (พิมท์ครั้งที่3).กรุงเทพฯ:บริษัท จุด ทองจำกัด