Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ - Coggle Diagram
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่าน แก้ไข บันทึกข้อมูลและรับคำสั่ง เพื่อแก้ไขปัญหา หรือทำการคำนวณเปรียบเทียบความซับซ้อน แสดงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ คอมพิวเตอร์สามารถนำ มาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ ในทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงาน เกี่ยวกับธุรกิจ งานภายในสำนักงาน งานทางวิทยาศาสตร์ งาน ติดต่อสื่อสาร งานด้านการทหาร งานด้านการศึกษา รวมไปถึงงาน ที่่เกี่ยวข้องกับความบันเทิง
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1) ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการประมวลผล ข้อมูลสูงมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปสร้างขึ้นเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ ประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการ อวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศเป็นต้น มักใช้ในองค์์กรขนาดใหญ่ ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
2) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก ๆ พร้อมกัน เช่น ธนาคาร สายการบิน ปัจจุบันถูกทดแทนด้วยระบบเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากหรือ Server Farm และระบบ Cloud computing รองรับผู้ใช้ได้จำนวนมาก
3) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์รองลงมาจากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นิยมใช้
ในโรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น
4) ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับบุคคล ปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและเครื่องคอมพิวเตอร์์แบบโน้ตบุ๊ก ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ คือ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ของบริษัทไมโครซอฟต์และระบบ ปฏิบัติการแมค (Mac Os) ของบริษัทแอปเปิ้ล (Apple)
องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เเก่
Hardware (ฮาร์ดแวร์)
ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง peripheral (เพอริพีรีว) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิส , เครื่องพิมพ์, ซีพียู, เมนบอร์ด, แรม, การ์ดจอ, ไดร์ฟ ดีวีดี, เคส, จอภาพ, คีบอร์ด, เมาส์ เป็นต้น
Software (ซอฟต์แวร์)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใด ๆ เนื่องจากต้องมี Software (ซอฟต์แวร์) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ Programming Language (โปรแกรมิงแลงเกท) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ Programmer (โปรแกรมเมอร์) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ - ซอฟต์แวร์ระบบ System Software (ชิสเต็ม ซอฟแวร์) หรือ ระบบปฏิบัติการ Operating System โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software (แอพพลิเคชัน ชอฟแวร์) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่น Microsoft Word, Google Chrome, NetBeans
บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์)
ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขายใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด
โครงสร้างของคอมพิวเตอร์
1.อินพุต-เอาท์พุต (Input-Output)
เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับดลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตอบรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานขอเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุตหรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสังหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว (Execute) การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรันหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้วหน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยได้ 2 ส่วนดังนี้ -หน่วยควบคุม (control unit) มีหน้าในการาควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบทั้งหมดให้มีการทำน้าที่ให้ถูกต้อง -หน่วยคำนวณ (arithmetic logic unit) มีหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และงานทางด้านตรรกะศาสตร์ เช่น AND OR
3.หน่วยความจำ (Memory)
-หน่วยความจำปฐมภูมิ เป็นหน่วยความจำที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรงมี 2 ชนิดคือ แบบที่ข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สูญหายแม้ไม่มีไฟฟ้าป้อน เป็นหน่วยความจำที่เรียกกันทั่วไปว่า รอม (Read Only Memory : ROM) ข้อมูลที่เก็บไว้ภายในถูกสร้างขึ้นในขณะที่สร้างหน่วยความจำจากโรงงาน ผู้ผลิต และไม่สามารถแก้ไข้ได้
หน่วยความจำทุติยภูมิ หน่วยความจำประเภทนี้ เราจะไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลแต่เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุตมากกว่า ตังอย่างของหน่วยความจำ ประภทนี้ได้แก่ ดิกส์ เทป เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาระบบปฏิบัติการ การจดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์อาจแตกต่างจากที่เคยพบมา เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้
2.ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์รอบข้าง เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกัน แต่ลดความยุงยาก เพื่อให้ดูเข้าใจมากขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์อินพุตจะรับข้อมูลหรือรับคำสั่งแล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมุลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการทำงานของซีพียูบางครั้งอาจส่งข้อมูลไปเก็บ
1.ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วยซีพียุ และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์