Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด, IMG_3298, IMG_3300, IMG_3296, ลักษณ์พร ซินเม…
การพยาบาลทารกแรกเกิด
6.4 การประเมินและการดูแลทารกแรก เกิดที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
Club foot
เท้าปุก
ความหมายโรคเท้าปุกเป็นความผิดปกติของเท้าที่เป็นตั้งแต่กําเนิดประเภทหนึ่ง โดยมีลักษณะความผิดรูปแบบข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น ส้นเท้าไม่ถึงพื้น ทําให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
สาเหตุของโรคเท้าปุกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด( Idiopathic clubfoot) แต่เชื่อว่ามีองค์ประกอบของสาเหตุหลาย ๆ อย่างรวมกัน อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาซึ่งมีผลต่อท่าของเท้าในขณะที่อยู่ในมดลูก , กรรมพันธุ์, กระดูกเท้าถูกสร้างมาผิดรูป, กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเท้าไม่สมดุลกัน
ชนิดและภาวะเท้าปุก เท้าปุกแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1) เท้าปุกแท้ (Congenital Clubfoot) แบบที่เท้าของเด็กมีลักษณะแข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้มีความผิดปกติของโครงสร้างเท้า เท้าแข็งรักษายากกว่าเท้าปุกเทียม
2) เท้าปุกเทียม (Postural Clubfoot)ไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างเท้าเกิดจากการขดตัวอยู่ในครรภ์มารดาโดยเท้าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานานพบได้บ่อย
เท้าปุกที่เกิดจากการขดตัวของทารกในครรภ์โดยที่เท้าบิดเข้าใน หลังจากคลอดแล้วรูปเท้าปุกจะหายได้เองภายใน 2 ถึง 3 เดือนหลังคลอด ภาวะนี้เรียกว่า Positional clubfoot
การตรวจแยกระหว่าง เท้าปุกแท้ (Congenital Clubfoot) และ เท้าปุกเทียม (Postural Clubfoot)
เท้าปุกแท้ (Congenital Clubfoot)
รูปร่างเท้า ด้านข้างเท้าจะมีลักษณะโค้งมากชัดเจน อาจมีร่องเนื้อด้านในเท้า และร่องเนื้อด้านหลังเท้า
การดัดเบาๆ คือการค่อยๆดัดเท้าให้อยู่ในรูปกระดกเท้าขึ้น เท้าปุกแข็งดัดให้ข้อเท้ากระดกขึ้นได้ไม่สุด แข็ง และถ้าฝืน เด็กจะเจ็บและร้องไห้ได้
เท้าปุกเทียม (Postural Clubfoot)
รูปร่างเท้า เท้าปุกแบบเทียมจะไม่มีเส้นโค้งด้านข้างที่ชัดเจน ร่องเนื้อด้านในเท้าและด้านหลังก็ไม่มี
การดัดเบาๆ คือการค่อยๆดัดเท้าให้อยู่ในรูปกระดกเท้าขึ้น โดยในเท้าปุกแบบเทียมจะสามารถดัดเท้าขึ้นได้โดยง่าย และได้สุด และเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง
การรักษาโรคเท้าปุก โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดี
การรักษาในเด็กแรกคลอด คือ การดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทําการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติแล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์ การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับ การเข้าเฝือกนี้ถ้าทําตั้งแต่เด็กคลอดใหม่จะได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ (โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ
กลุ่มที่มีเท้าอ่อน/ เท้าปุกเทียม (Postural Clubfoot)
สามารถดัดให้เข้ารูปได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรสอนวิธีการดัดเท้าให้มารดากลับไปทําให้ลูกบ่อยๆ และนัดกลับมาดูเป็น
ระยะๆ เท้าจะค่อยๆ กลับเข้ามาสู่รูปร่างปกติได้ แต่ถ้ามารดาไม่สามารถดัดเท้าให้ลูกได้ หรือดัดแล้วไม่ถูกวิธี แพทย์อาจทําการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขา ประมาณ 2 - 3 ครั้งจนเท้าอยู่ในรูปร่างปกติ และมักจะหายภายในสามเดือน หรือหายได้ง่ายด้วยการดัดหรือใส่เฝือกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
กลุ่มที่มีเท้าแข็ง/เท้าปุกแท้ (Congenital Clubfoot) แพทย์จะทําการดัดเท้า และใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึง ต้นขาตั้งแต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก และเปลี่ยนเฝือกทุก 1-2 สัปดาห์จนครบ 6 ครั้ง รูปร่างของเท้าจะค่อยๆ ดีขึ้นจนเกือบปกติ แต่ข้อเท้ามักจะยังกระดกขึ้นได้ไม่สุดเหมือนปกติ แพทย์จะทําการตัดเอ็นร้อยหวายและใส่เฝือกยาวต่ออีก 3 สัปดาห์จะ ได้ผลดีในรายที่รักษาช่วงก่อน 6 เดือน และแข็งไม่มากนัก ยิ่งดัดและเข้าเฝือกได้เร็วเท่าไรโอกาสได้ผลดีจะมากขึ้นเท่านั้น
Tongue-tie
ลิ้นติด(ankyloglossiaortonguetie)เป็นภาวะผิดปกติแต่กําเนิดในช่องปากของเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะใต้ลิ้นกับพื้น
ล่างของช่องปาก(lingual frenulum) สั้นและหนาตัว หรืออาจเกาะออกไปตามพื้นล่างของลิ้นตรงกลาง บางรายเกาะไปถึง ปลายล้ินดึงปลายลิ้นเป็นรูปตัวVหรือเป็นรูปหัวใจทําให้ปลายลิ้นเคลื่อนไหวได้น้อยลง
ข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีลิ้นติดที่ควรได้รับการแก้ไข
เจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำหรือเป็นแผล
หัวนมผิดรูปไปหลังจากให้นมลูกแล้ว
มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว
ลูกมักดูดไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุด เลยทําให้ดูดได้แต่ลม
ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนมแม่
น้ําหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า
อาการแสดง
ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้
เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป
ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ
การประเมิน ควรตรวจภายในช่องปากอย่างถี่ถ้วน ประเมินทั้งหน้าที่และกายวิภาค การตรวจควรครอบคลุมการคลํา เพดานอ่อนและเพดานแข็ง เหงือก และบริเวณใต้ลิ้น รวมทั้งตรวจการเคลื่อนไหวของลิ้น ความยาว ความยืดหยุ่น และจุดใต้ ลิ้นที่ sublingual frenulum ไปเกาะ
การให้คะแนนความรุนแรงของภาวะลิ้นติด
Tongue ดูตําแหน่งสั้นสุดของพังผืดมาเกาะด้านใต้ลิ้นโดยสังเกตขณะเด็กร้องหรือใช้ไม้พันสําลีเขี่ยใต้ลิ้นกระดกขึ้น
1.1-ถ้าปลายพังผืดเกาะตั้งแต่ fimbriated fold ขึ้นมาทางปลายลิ้นให้ 1 คะแนน=severe
1.2-แบ่งพื้นที่ใต้ลิ้นต่ำกว่าfimbriatedfold
1.2.1 ถ้าปลายพังผืดเกาะที่ครึ่งบนค่อนไปทางปลายลิ้นแต่ไม่ถึง fimbriated fold ให้ 2 คะแนน=moderate
1.2.2 ถ้าปลายพังผืดเกาะที่ครึ่งล่างค่อนมาทางโคนลิ้น ให้ 3 คะแนน=mild
การให้คะแนน STT score ประกอบด้วย
Tongue ดูตําแหน่งสิ้นสุดของพังผืดที่มาเกาะด้านใต้ลิ้น โดยสังเกตขณะเด็กร้อง หรือใช้ไม้พันสําลีเขี่ยใต้ลิ้นให้ลิ้นกระดกขึ้น
1.1ถ้าปลายพังผืดเกาะตั้งแต่ fimbriated fold ขึ้นมาทางปลายลิ้น ได้ 1 คะแนน
1.2 แบ่งพื้นที่ใต้ลิ้นที่ต่ำกว่า fimbriated fold ออกเป็น 2 ส่วน
1.2.1 ถ้าปลายพังผืดเกาะที่ครึ่งบน ค่อนไปทางปลายลิ้น แต่ไม่ถึง fimbriated fold ได้ 2คะแนน
1.2.2 ถ้าปลายพังผืดเกาะที่ครึ่งล่างค่อนมาทางโคนลิ้น ได้ 3 คะแนน
Nipple character (after stimulation) ประเมินหลังจากให้ทารกดูดนมไปแล้วสักครู่ เนื่องจากการดูดของทารกอาจทําให้หัวนมยื่นยาวออกมาได้อีกเล็กน้อย ถ้าหัวนมสองข้างไม่เหมือนกัน ให้ คะแนนตามข้างที่ผิดปกติมากกว่า
Nipple sensation เริ่มถามหลังจากให้คําแนะนําเบื้องต้นและช่วยจัดท่าให้ตามที่เคยปฏิบัติอยู่ เป็นประจํา และรอให้ทารกดูดนมไปได้สักครู่หนึ่งก่อน เพื่อรอให้ form teat สมบูรณ์แล้ว
3.1 ขณะที่ลูกดูดนมรู้สึกว่าลิ้นอยู่ที่หัวนม ได้ 2 คะแนน
3.2 ขณะที่ลูกดูดนมรู้สึกว่าลิ้นอยู่ที่หัวนมและอยู่ที่ลานหัวนมได้ 4 คะแนน
3.3 ขณะที่ลูกดูดนมรู้สึกว่าไม่มีลิ้นมาโดนเลยเป็นเหงือกแข็งทุกครั้งได้ 0 คะแนน
การนํา STT score มาประเมินความรุนแรงของพังผืดใต้ลิ้น ลักษณะของหัวนมมารดา และตําแหน่งของปลายลิ้นของทารก เมื่อเทียบกับหัวนมและลานหัวนมขณะดูด แล้วคิดออกมาเป็นคะแนนเพื่อใช้ทํานายว่าทารกรายใดจะมีปัญหาในการดูดนม มารดา ทารกที่มี STT score ต่ำกว่า 8 คะแนนnร่วมกับมีภาวะลิ้นติด ควรได้รับการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้น
วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด (Frenotomy )
Meconium impact
ภาวะขี้เทาอุดตันลําไส้ภาวะอุจจาระอัดแน่น(Fecalimpaction)เป็นภาวะที่มีอุจจาระสะสมอัดแน่นอยู่ในrectum หรือ sigmoid ซึ่งเป็นผลจากไม่ได้รับการแก้ไขภาวะท้องผูกจากการขาดน้ํา หรือได้รับการสวน barium เพื่อ X – ray ลําไส้ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก ปวดบริเวณลําไส้ตรง (rectum) ในบางรายมีอุจจาระอัดแน่นจนมีอุจจาระ เหลวเป็นน้ําไหลออกมา
อาการ ทารก ท้องอืด โป่ง ไม่ดูดนม อาเจียน
การรักษาเบื้องต้น
การสวนระบายอุจจาระ (rectal irrigation)
ในรายที่มีภาวะ enterocolitis การสวนระบายเป็นการรักษาเบื้องต้นร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะตลอดจนพักลําไส้โดย ให้อาหารทางหลอดเลือดดํา
การผ่าตัดเปิด colostomy
แม้ในปัจจุบันจะมีรายงานการรักษาโรค Hirschsprung โดยทําผ่าตัดขั้นเบ็ดเสร็จแต่แรก
(primary pull-through) มากขึ้น แต่การรักษาที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ยังเป็นการผ่าตัด 2 หรือ 3 ขนั้ ตอน กล่าวคือเปิด colostomy ในคราวแรก ทํา pull-through ในครั้งที่สอง และปิด colostomy ในขั้นสุดท้าย หรือรวม
สองครั้งหลังเป็นขั้นตอนเดียว
Lactose intolerance
แพ้น้ำตาลแลคโตส หรือ Lactose Intolerance เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ําตาลแลคโตสในนมได้ ทําให้ จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารนําน้ําตาลนี้ไปใช้ เกิดการสร้างกรดและแก๊ส มีการดึงน้ําเข้ามาในลําไส้และมีการเคลื่อนตัวของลําไส้
เร็วขึ้น จึงเกิดอาการท้องเดิน ส่วนแก๊สที่เกิดขึ้นจะทําให้มีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง เสียดท้อง อาการเหล่านี้ทําให้บางคน โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ปฏิเสธการดื่มนม
สาเหตุของการแพ้น้ําตาลแลคโตส
ภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส (Primary lactase Intolerance) เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่หรือเด็ก โต เกิดจากการที่ผนังลําไส้เล็กผลิตเอนไซม์แลคเตสและเบต้า-กาแลคโตสิเดสได้น้อยลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ การลดลงของเอนไซม์จะมากหรือน้อยยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ
ภาวะขาดเอนไซม์ตั้งแต่เกิด (Congenital lactase deficiency) กลุ่มนี้พบได้น้อยและอาการเป็นตั้งแต่เด็ก เป็น ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่ได้รับยีนส์ผิดปกติจากพ่อและแม่
ภาวะขาดเอนไซม์จากการเจ็บป่วย (Secondary lactose intolerance) เกิดจากผนังลําไส้เล็กถูกทําลายทําให้ ผลิตเอนไซม์แลคเตสและเบต้า-กาแลคโตสิเดสได้น้อยลง เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวในลําไส้ โรคซิลิแอก (Celiac disease) ที่เป็นการอักเสบของลําไส้ที่เกี่ยวข้องกับการแพ้กลูเตน โรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s disease)
อาการ
• แน่นท้อง ท้องอืด • ปวดท้อง
• ท้องเสีย ถ่ายเหลว • ผายลมบ่อย
• คลื่นไส้ อาเจียน
การดําเนินโรค
หากเป็นภาวะพร่องแล็กเทสที่เกิดหลังจากเป็นโรคอุจจาระร่วงจากการตดิ เชื้อ อาการมักจะเป็นเพียงชั่วคราวและหายได้เอง ภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนในรายที่เป็นแบบเรื้อรังก็ควรดูแลตนเองอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาและดําเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้
การดูแล
สําหรับทารกแรกเกิดควรงดนมมารดาและนมวัว ควรให้ดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมมารดาและนมวัว
สําหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ ควรดื่มนมครั้งละน้อย (น้อยกว่า 200 มล. หรือสังเกตว่าดื่มปริมาณเท่าใดจึงจะไม่เกิดอาการ) หรือ ดื่มพร้อมกับอาหารมื้อหลัก หรือกินโยเกิร์ต (ซึ่งผ่านการย่อยโดยแบคทีเรียมาระดับหนึ่งแล้ว) ก็อาจไม่ทําให้เกิดอาการ หรือ ลดอาการให้น้อยลงได้ ถ้าไม่ได้ผลควรดื่มนมถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ําเต้าหู แทน
ถ้าจําเป็นต้องงดดื่มนมโดยเด็ดขาด ควรกินโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ (ที่มีอยู่ในนม) จากแหล่งอาหารอื่น เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ งา ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง ผักใบเขียว หากไม่แน่ใจว่าจะได้รับปริมาณแคลเซียมพอ ก็ ควรขอคําแนะนําจากแพทย์หรือเภสัชกรในการกินยาเม็ดแคลเซียม เสริม
ถ้าต้องการดื่มนมและกินผลิตภัณฑ์นมต่อไป (ทั้งๆ ที่ทําให้มีอาการไม่สบายท้อง) ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในการกิน เอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) ควบคู่ไปด้วย ซึ่งอาจช่วยให้ไม่เกิดอาการได้
การรักษา
ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นภาวะพร่องเอนไซม์แล็กเทส แพทย์จะแนะนําให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังกล่าว โดยไม่ต้องให้ยารักษา
การป้องกัน
ควรงดนมและผลิตภัณฑ์จากนม หรือดื่มในปริมาณที่ไม่ทําให้เกิดอาการ (ควรทดลองและสังเกตด้วยตนเองหลายๆ ครั้ง)
Down syndrome
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ Down’s Syndrome เกิดจากความผิดปกติของการลด จํานวนของโครโมโซม (หรือเรียกว่า แท่งพันธุกรรม) ในช่วงการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โครโมโซมเป็นแท่งนําสารพันธุกรรม
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจสอบว่าลูกของท่านเป็นกลุ่มอาการดาวน์จริง ก็โดยการตรวจวิเคราะห์โครโมโซม ซึ่งทําได้ที่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ และโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง
การรักษา
เนื่องจากกลุ่มอาการดาวน์มีภาวะปัญญาอ่อนเป็นปัญหาสําคัญ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา กลุ่มอาการดาวน์ยังไม่มีการ รักษาโดยตรง แต่หากบิดามารดาได้รับคําปรึกษาแนะนําจากแพทย์สาขาพันธุศาสตร์หรือสูติแพทย์ ที่ได้รับการอบรมมาแล้ว ก็ มักจะแนะนําให้ดูแลเด็กต่อไป โดยให้ความรู้ในการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ เช่น การดูแลสุขภาพทางกาย ได้แก่ โรคหัวใจ พิการแต่กําเนิด ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง การกระตุ้นพัฒนาการต้ังแต่อายุ 2 เดือนเป็นต้นไป โดยผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก การตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะ การฉีดวัคซีนตามปกติ การตรวจไทรอยด์ประจําปี การตรวจสายตาและการได้ยินในขวบปีแรก การฝึกพูดตั้งแต่อายุ 1 ปี 6 เดือนจนถึง 3 ปี การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ การประคับประคองจิตใจพ่อแม่ การส่งเสริมให้เข้ากลุ่มชมรมผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อพ่อแม่จะได้มีความรู้ในการพัฒนาลูกของเขาอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การพยาบาล
เด็กมีสติปัญญาด้อยกว่าปกติร่วมกับความผิดปกติของการเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสังคมและวุฒิภาวะการดูแลจึงมุ่งเน้นที่ครอบครัวให้สามารถดูแลเด็กได้โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
การยอมรับความจริงของครอบครัวต่อสภาพของเด็กเผชิญกับการไม่ยอมรับของสังคมโดยเริ่มจากการยอมรับ ของครอบครัวอย่างเหนียวแน่น ไม่แสดงปมด้อย ไม่โกรธแค้น
ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเด็กแก่ครอบครัวได้แก่เด็กมีลักษณะ
2.1 ขี้เล่น ร่าเริง ชอบสนุก ชอบยอ ชอบดนตรี
2.2 ขี้ลืม มีความสนใจน้อย ต้องอาศัยการสอนซ้ำ
2.3 ชอบเอาอย่าง จึงถูกชักจูงง่าย ครอบครัวต้องช่วยเหลือหาแบบอย่างที่ดี
2.4 ความต้องการความรัก ความอบอุ่นอย่างมาก
การอบรมเด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามขั้นตอนของสติปัญญาของแต่ละบุคคล
การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กควรได้รับการฟื้นฟูให้เร็วที่สุดโดยการกระตุ้นพัฒนาการทุกด้าน
การคุมกําเนิดแบบถาวร
แนะนําแหล่งขอความช่วยเหลือ
ป้องกันการเกิดซ้ำในครอบครัว
การส่งเสริมพัฒนาการ
ที่สำคัญที่สุดและมีประโยชน์มากก็คือการกระตุ้นการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อายุ1-2เดือนหลังคลอดเพื่อให้เด็ก เหล่านี้สามารถยืนได้ เดินได้ ช่วยตนเองได้มากที่สุด และเป็นภาระน้อยที่สุดจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าการกระตุ้น พัฒนาการ จะช่วยเพมิ่ พูนศักยภาพ ได้อย่างชัดเจนและจะได้ผลดีที่สุด หากทําในระยะ 2 เดือน ถึง 2 ปีแรกของชีวิต นอกจากนั้นก็ควรมีการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน
การป้องกัน
กลุ่มอาการดาวน์น้ีสามารถป้องกันได้โดยการวินิจฉัยก่อนคลอด ปัจจุบันมักทํากันในหญิงต้ังครรภ์ที่อัตราเสี่ยงสูง เช่น อายุมากกว่า 35 ปีข้ึนไป โดยแพทย์สามารถเจาะน้ําคร่ำมาตรวจดูโครโมโซมของเด็กในครรภ์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากพบความ ผิดปกติคู่สามีภรรยาอาจเลือกยุติการต้ังครรภ์ได้ ก่อนพิจารณาทําการวินิจฉัยก่อนคลอดควรปรึกษาแพทย์เสมอ
การให้คําปรึกษาแนะนําทางพันธุศาสตร์
เป็นสิ่งจําเป็นแก่พ่อแม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาการดาวน์เพราะพบได้บ่อยที่สุดโดยมีอุบัติการณ์ ของโรคประมาณ 1 ต่อ 1,000 เป็นการให้ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคที่ลูกของท่านเป็น ตลอดจนการดูแลรักษาและ ความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่บุตรของท่านควรได้รับ เพื่อเขาจะได้พัฒนาและมีศักยภาพที่ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้
Neonatal teeth
Pre-Deciduous Teeth หรือ Neonatal Teeth มีสีขาวประกอบด้วยเคราตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับโยกออก
ได้ง่ายทารกบางคนเกิดมาพร้อมกับมีฟันซี่เล็ก ๆ 1 หรือ 2 ซี่ ส่วนใหญ่มักพบตรงกลางสันเหงือก ด้านหน้าของกระดูก ขากรรไกรล่าง ฟันที่ขึ้นในช่วงแรกเกิดนี้ จะแตกต่างจากฟันน้ํานมปกติ คือมีแต่ตัวฟัน ไม่มีรากฟัน
การดูแล
วิธีแก้อาจทําได้โดยใช้ผ้ากอซหุ้มรอบๆ หัวนม ในขณะให้นมลูก เด็กหลายรายฟันน้ํานมถูกถอนออกก่อนกําหนด และ มีผลให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่เร็ว ฟันที่ขึ้นเมื่อแรกเกิดนี้ถอนออกง่าย ทารกจะไม่เจ็บมาก
หากสังเกตว่าฟันเด็กขึ้นช้ากว่ากําหนดมากอาจต้องให้แพทย์ตรวจว่าเด็กมีความผดิปกติอื่นๆเช่นเนื้อเยื่อของ เหงือก มีความหนาแน่นมาก (Fibromatosis Gingivae) ซึ่งก็กีดขวาง เป็นอุปสรรคให้ฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกยาก หรืออาจ เกิดจาก การขาดวิตามินดีที่เรียกว่า ริกเก็ต (Rickets) ซึ่งพบในเด็ก ที่ถูกเลี้ยงอยู่แต่ในท้อง ไม่ได้ถูกแสงแดด
ตัวเหลือง
ภาวะตัวเหลืองเกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ในทารกปกติ จะมีสารบิลิรูบินนี้จะ
มีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสารบิลิรูบินในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะอยู่ทั้งใน กระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่างๆทําให้เรามองเห็นว่าทารกมีผิวสีเหลืองขึ้น
อุบัติการณ์
อาการตัวเหลืองพบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและมีความสําคัญรองลงมาจากปัญหาทางระบบหายใจ ประมาณร้อยละ 25-50 ของทารกแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลืองให้เห็นในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด เด็กเกิดครบกําหนดปกติจะมีระดับ bilirubin สูงสุดเมื่ออายุประมาณ 3-4 วัน และระดับสูงสุดมักไม่เกิน 12 มก./ดล. ส่วน ในเด็กเกิดก่อนกําหนดปกติจะมีระดับสูงสุดไม่เกิน15มก./ดล.ประมาณวันที่4-5
สาเหตุที่ทําให้เด็กตัวเหลือง
สีผิวในเด็กที่เหลืองขึ้นเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทําให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ใน กระแสเลือด ไปทีตับ อาศัยเอนไซน์ในตับช่วยเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ก่อนทจี่ ะลงไปในลําไส้และขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ และปัสสาวะ ดังนั้นหากมีภาวะที่มีผลในขั้นตอนใดๆของการกําจัดบิลิรูบินก็ทําให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกติ สาเหตุอาจ เกิดจาก
1.ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิด
2.มีการทําลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
3.การทํางานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ
4.ความผิดปกติที่ลําไส้เช่นภาวะลําไส้อุดตัน ทําให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง
Neonatal Jaundice เป็นภาวะตัวเหลืองที่พบได้ในทารกแรกเกิดถึงร้อยละ 25-50 แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.ภาวะตัวเหลืองทางสรีรภาพ (Physiological Jaundice)
2.ภาวะตัวเหลืองจากพยาธิสภาพ(Pathological Jaundice)
สิ่งตรวจพบทางคลินิก
ประวัติการตั้งครรภ์และตัวเหลืองในบุตรคนก่อน ๆ ช่วยบ่งถึงสาเหตุจากเลือดมารดาและบุตรไม่เข้ากัน (hemolytic disease of the newborn) โรคทางกรรมพันธุ์ที่มีความผิดปกติของเอ็นไซม์ หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดงหรือโรคติดเชื้อ ในครรภ์
ประวัติการใช้ยาบางอย่างในมารดาขณะใกล้คลอดเช่น ยาพวก Sulfonamide ซึ่งสามารถขัดขวาง conjugation ของ bilirubin ในเด็กทําให้เด็กตัวเหลืองได้
อาการและอาการแสดง
1.
อาการตัวเหลือง มักเห็นที่บริเวณใบหน้า ถ้ากดลูบบริเวณดั้งจมูกจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ทารกเกิดก่อนกําหนดมีผิว บางทําใหดูเหลืองมากกว่าเด็กโตที่มีระดับบิลิรูบินเท่ากัน
2.อาการซีดหรือบวม พบในรายที่มีการทําลายของเม็ดเลือดแดงอย่างมาก มักเป็นอาการที่พบได้เฉพาะในรายท่ี เป็น hydrops fetalis จาก Rh incompatibility หรือซิฟิลิสแต่กําเนิด ซึ่งมักเป็นเด็กตายคลอด ฯลฯ
3.ตับหรือม้ามโต ใน hemolytic disease of the newborn หรือโรคติดเชื้อในครรภ์ คลําตับและม้ามได้ เนื่องจากมีการสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างมาก เพื่อชดเชยส่วนท่ีถูกทําลายไป ยกเว้นพวก ABO incompatibility มักจะคลําม้ามไม่ได้ อาจคลําตับได้ขนาดปกติ เด็กท่ีเป็น Galactosemia มักจะมีตับโตมาก
4.ซึม ถ้าระดับ bilirubin สูงมาก ๆ มักจะทําให้เด็กซึม เด็กท่ีมีการติดเชื้อหรือพวก galactosemia ก็อาจซึมได้
5.จ้ำเลือดตามตัวอาจพบpetechiaหรือpurpuricspotsตามผิวหนังในเด็กที่ตัวเหลืองจากโรคติดเชื้อในครรภ์
การรักษา
ใช้แสงบําบัด หรือการรักษาโดยการส่องไฟ(phototherapy)
ถ่ายเปลี่ยนเลือด (exchange transfusion) เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยลดระดับของbilirubin ได้เร็วที่สุด
Sub temperature
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ หมายถึงอุณหภูมิที่วัดทางทวารหนักหรือรักแร้ ต่ำกว่า 36.5องศาเซลเซียส หรือที่วัดจาก ผิวหนังของลําตัวต่ำกว่า 36องศาเซลเซียส
เกิดขึ้นตลอดเวลาทางผิวหนังภายหลังคลอด โดยกลไก 4 อย่างคือ
2.1 การนําความร้อน (conduction) เป็นการนําส่งความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปยังวัตถุหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อผิวกายทารก สัมผัสโดยตรงกับวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เช่น มือที่เย็นสัมผัสทารก หรือวางทารกไว้ที่นอนที่เย็นกว่า
2.2 การพาความร้อน (convection) เป็นการสูญเสียความร้อนจากผิวกายไปสู่อากาศรอบๆตัว เกิดขึ้นเมื่อวางทารก ในที่ที่มีลมพัดผ่าน พยาบาลสามารถป้องกันได้โดยการ ปิดพัดลม และห่อตัวทารก
2.3 การระเหยของน้ํา (evaporation) เป็นการสูญเสียความร้อนจากน้ําที่ระเหยปางผิวหนัง ทารกจะสูญเสียความ รอ้ นด้วยวิธีนี้เมอื่ ตัวเปียก แฉะหรือมีความชื้นสูง ดังนั้นพยาบาลจึงต้องเช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีเมื่อทารกคลอดออกมา
2.4 การแผ่รังสี (radiation) เป็นการสูญเสียความร้อนโดยการแผ่กระจายความร้อนจากทารกไปสู่วัตถุรอบๆด้านที่ เย็นกว่า โดยที่วัตถุนั้นไม่ได้สัมผัสผิวกายทารก เช่น การวางทารกไว้ใกล้กับวัตถุที่เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องที่เย็น พยาบาล สามารถป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการแผ่รังสีโดยการห่อตัวและวางทารกให้ห่างจากผนังที่เยน็กว่า
อันตราย
ทารกที่มีอุณหภูมิกายต่ำรุนแรงและเป็นอยู่นาน อัตราตายพบประมาณร้อยละ 25-50 จากเลือดออกในปอดหรือสมอง
นวัตกรรมถุงอุ่นใจคลายหนาว (HAPPY WARMING BAG )
อ้างอิง
https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext
ปัจจุบันแนวทางการรักษาภาวะอุณหภูมิกายต่ำมี 2 วิธี
การเพิ่มอุณหภูมิกายอย่างช้า (slow rewarming)
2.การเพิ่มอุณหภูมิกายอย่างเร็ว (rapid rewarming)
น้ำตาไหล
โดยธรรมชาติน้ําตาจากเบ้าตาจะมีช่องทางตรงหัวตาเป็นท่อให้น้ําตา ไหลลงสู่โพรงจมูกได้ ทารกแรกเกิดอาจมีอาการ ตีบของท่อนี้ทําให้น้ําตาเอ่อเบ้า ไหลออกนอกตามากได้ เด็กทารกหลังคลอดท่อน้ําตาที่เปิดลงจมูกอาจตันได้ แต่ควรจะเปิดเป็น ปกติภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด หากยังไม่เปิดอาจนํามาสู่ภาวะที่เรียกว่าท่อน้ําตาอุดตัน ท่อน้ําตาอุดตันในเด็กพบได้ประมาณ 1.75-6% ของเด็กคลอดครบกําหนด เกิดจากส่วนปลายของท่อทางเดินน้ําตาในโพรงจมูกตีบตัน
วิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การใส่เครื่องมือเพื่อไปขยายบริเวณที่ตีบตัน มักพิจารณาในกรณีที่
-มีการติดเชื้อเป็นๆหายๆตลอด
-มีการขยี้ตามากจนเป็นแผลบริเวณขอบตา
-ผู้ปกครองกังวลใจมาก
ซึ่งการใส่เครื่องมือเพื่อไปถ่างขยายอาจทําได้ทันทีตามกรณีข้างต้น หากไม่มีปัญหาดังกล่าวอาจรอจนเด็กอายุ 1 ปีแล้ว
จึงค่อยพิจารณาทํา เนื่องจากการถ่างขยายมักจะต้องดมยาสลบ
เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นท่อทางเดินน้ําตาอุดตัน การรักษาเริ่มแรกแพทย์มักแนะนําให้นวดบริเวณท่อน้ําตาก่อน ซึ่งวิธีการนวดที่ถูกต้องมีความสําคัญต่อการหายของอาการดังกล่าวได้ การนวดจะทําให้ปลายท่อน้ําตาที่อุดตันเปิดออกได้ และ เป็นการช่วยระบายน้ําที่ขังอยู่ในท่อน้ําตา ซึ่งถ้าขงั อยู่นานจะทําให้เกิดการติดเชื้อได้ การนวดควรทําทุกวันและนวดวันละ
หลายๆ ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที ถ้ามีขี้ตาแพทย์มักให้ยาปฏิชีวนะหยอดเป็นครั้งคราว โดยทั่วไปพบว่า 88% ของท่อน้ําตาอุด ตันมักจะหายได้เองในอายุ 6-8 เดือน ถ้านวดอย่างถูกวิธี และในช่วงขวบปีแรกอัตราการหายสูงถึง 94%
Sucking defect
พยาธิสรีรวิทยาการดูดในเด็กปกติ
ทารกจะมีการดูดเป็นเมื่ออายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ แต่การดูดกลืนจะเริ่มที่ 33 สัปดาห์ และจะสามารถดูดกลืนได้เต็มที่เมื่ออายุ 36 สัปดาห์ โดยจะดูดหัวนมด้วยอัตรา 2 ครั้งต่อวินาที เพื่อที่จะให้มี esophageal peristalsis ได้ และในกรณีที่มีโรคของ สมอง การดูดกลืนนี้จะเสียไป
ปริมาณสารเหลวที่กลืนได้ในแต่ละอายุก็ต่างกัน คือ ในทารกคลอดก่อนกําหนดจะดูดได้ 0.5 มล.ต่อครั้ง เด็กโตจะกลืนได้ 0.33 มล./กก./ครั้ง หรือเด็กอายุ 1-3 ปี จะกลืนได้ 4.6 มล.ต่อครั้ง
ปัญหาการดูดกลืนของทารกมักพบปัจจัยต่างๆ
ปัจจัยภายใน
-เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาอวัยวะเกี่ยวข้องกับการดูดกลืนผิดปกติ
-เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจหรือปอด
-พัฒนาการที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า ช่องปาก และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืน
รีเฟล็กซ์ ของการดูดและกลืนมีน้อย
Cardiac sphincter ไม่ดี ปิดไม่สนิททารกเกิดการสํารอกอาเจียนได้ง่าย
น้ําย่อยในกระเพาะอาหารมีน้อย ตับสร้างน้ําดีได้น้อย การย่อยอาหารโดยเฉพาะพวก ไขมันทําได้ไม่ดีจึงท้องอืดได้ง่าย
ปัจจัยภายนอก
• วิธีการให้นม การให้ลูกดูดนมแม่
• ปริมาณนม เป็นไปได้ที่คณุ เกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องกินของลูก
• การใช้จุกนมที่ผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย ก็มีส่วนทําให้ปริมาณนมที่ลูกได้รับมากเกิน
ข้อป้องกันให้ถูกวิธี 4 ข้อ
ควรให้ลูกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกที่สําคัญ
ของเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือของเล่นที่สามารถแตกหักออกได้ง่ายไม่ควรนํามาให้ลูกเล่น เช่น กระพรวน กระดิ่ง เหรียญ ลูกปัด
เลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับวัย
จับลูกเรอทุกครั้งหลังที่กินนมเสร็จ
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
• สําลักนม จับเด็กนอนตะแดง ให้ศีรษะเด็กต่ำลง
• วิธีตบหลัง โดยจับเด็กนอนคว่ให้ศีรษะต่ำลงบนแขน แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณกระดูก ติดต่อกัน 5 ครั้ง และสังเกต สิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก
• วิธีกระแทกหน้าอก โดยจับเด็กพลิกหงายขึ้นบนตัก ในท่าศีรษะต่ำใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกระแทกแรงๆ ลงบนกระดูกหน้าอก เหนือ ลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ตบหลังและกระแทกหน้าอกครบทั้ง 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะเห็นสิ่ง แปลกปลอม
Undescended testes
อัณฑะไม่ลงถุง
อัณฑะไม่ลงถุงเป็นปัญหาทางกุมารศัลยศาสตร์ที่พบบ่อยมากปัญหาหนึ่งแพทย์ทั่วไปจึงควรมีความเข้าใจถึงอันตราย หรือสิ่งที่ตามมาเนื่องจากการไม่มีอัณฑะในถุงอัณฑะ เพื่อสามารถให้การรักษาที่มีผลดีที่สุดอีกทั้งเป็นการลดความกังวล
สาเหตุของ undescended testes อาจเป็นจาก
1)ความผิดปกติทางกายวิภาคของผนังหน้าท้องส่วนล่าง ซึ่งได้แก่ bladder extrophy, cloacal extrophy, Prune-belly syndrome
2) primary endocrine disorder เช่น Kallmann’s syndrome, pituitary deficiency หรือ primary testicular defects
3) idiopathic (ไม่สามารถหาสาเหตุได้) การศึกษาในปัจจุบันนี้มีอย่างน้อยร้อยละ 6 ของ undescended testes ที่สัมพันธ์ กับ primary endocrine disorder
ประเภทของการไม่พบอัณฑะในถุง
1.retractile testes ได้แก่อัณฑะซึ่งเดิมอยู่ในตําแหน่งปกติในถุงอัณฑะ แล้วมีการหดขึ้นไปข้างบน
2.ectopic testes คืออัณฑะที่เคลื่อนลงมาจาก retroperitoneum ผ่าน external ring ไปยังที่อื่นซึ่งไม่ใช่แนวที่ไปยังถุงอัณฑะ
3.monorchia หรือ anorchia (absence of testes) พบได้ร้อยละ 3.3-5.2 ของ undescended testis ร้อยละ 80 เป็นข้างใดข้างหนึ่ง
ประเภทของการรักษา
การรักษา undescended testis มีจุดประสงค์เพื่อให้อัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะ ประเภทของการรักษา undescended testis มี 2 ประเภท คือการรักษาด้วยฮอร์โมนและการผ่าตัด
การผ่าตัด
การผ่าตัด standard orchiopexy วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดคือ cure of undescended testis โดยให้ position ของ อัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะ โดยไม่ให้มี tension, ไม่มี injury ต่อ blood supply และ vas deferens การผ่าตัด standard orchiopexy ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี สามารถทําแบบผู้ป่วยนอก
6.2 การพยาบาลทารกแรกเกิดประจําวัน
2.การให้ความอบอุ่น ควรควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกให้อยู่ระหว่าง 36.5–37 องศา
การวัดอุณหภูมิทางรักแร้จะให้ผลดีเช่นเดียวกับการวัดทางAnus เมื่อวันแรกเกิด ครั้งแรก เพื่อวัดอุณหภูมิและตรวจว่ามีImperforated Anus หรือไม่
การสอดเทอร์โมมิเตอร์แก้วเข้าไปในทวารหนักต้องใช้ความ ระมัดระวังอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อเยื่อบุทวารหนักได้
3.ดูแลให้ทารกได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ
ปริมาณนมที่ทารกควรได้รับต่อวัน
ทารกดูดนมแม่ ทุก2-4 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่าน้ันตามที่ทารกต้องการ
ปริมาณสารอาหารที่ทารก AGA (appropriate for gestational age) ต้องการต่อวัน คือ 120 Kcal /Kg/ day
นมผสมสําหรับทารกแรกเกิดครบกําหนด/นมแม่ให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ต่อออนซ์
สังเกตอาการสำรอกนมเพราะทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดีเมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเขาไปทำให้สำรอกหลังให้นม
4.การชั่งน้ำหนักทารกแรกเกิด
ชั่งน้ำหนักทารกตั้งแต่แรกเกิด และชั่งทุกวันอยู่โรงพยาบาลเพื่อเปรียบเทียบดูการเจริญเติบโตและความผิดปกติ
โดยทั่วไปทารกภายหลังเกิด 2 – 3 วันแรกน้ําหนัก อาจลดลงได้แต่ไม่ควรเกินร้อยละ10ของน้ําหนัก แรกคลอด(Physiologicweightloss)และจะมีน้ําหนักเท่ากับแรกคลอดในวันที่ 7 – 10 หลังคลอด
5.การอาบน้ำและการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ของทารก
6.การเช็ดสะดือ
หลังคลอดสายสะดือจะเหี่ยวแห้งและหลุดไปภายใน 1 -3 สัปดาห์หลังคลอด เมื่อสายสะดือหลุดรอยแผลบริเวณโคนสะดือจะแห้งและหายสนิทภายใน2-3สัปดาห์ สะดือท่ีปกติ โคนสะดือจะแห้งไม่มีกลิ่นเหม็น
วิธีการเช็ดสะดือ
เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกวนั หลังอาบน้ำ จนกว่าสะดือจะหลุด และโคนสะดือแห้งห้ามใช้แป้งหรือยาผงโรย สะดือเด็ก
7.การเช็ดตา
ใช้น้ำต้มสุกที่ทิ้งให้เย็นแล้ว เช็กจากหัวตาไปหางตา
1.การตรวจดูลักษณะทั่วไปของทารก (General appearance)ต้ังแต่ศีรษะจรดเท้า อย่างคร่าวๆ
8.การขับถ่ายและการทำความสะอาดหลังขับถ่าย
9.สังเกตอาการอื่นๆเช่น
การสะดุ้งผวา:ปกติพบได้จนถึง6เดือน
การบิดตัว:ทารกคลอดก่อนกำหนดมีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่ บิดขี้เกียจ
ผิวหนังถลอก
ลิ้นขาว: ให้มารดาใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก พันนิ้วก้อยให้แน่น เช็ดลิ้นทารกวันละครั้ง
ผื่นผ้าอ้อม:การรักษาดูแลให้ผิวหนังแห้ง
6.1 การประเมินสภาพทารกแรกเกิด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระของทารกแรกเกิด
ทันทีหลังคลอดทารกจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถมีชีวิตตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนอกครรภ์ มารดา โดยทารกจะมีการปรับตัว (adaptation) ของระบบต่างๆ ที่สําคัญดังนี้
โลหิตแดงจากมารดาจะเข้าสู่ทารกทาง umbilical vein ซึ่งเข้าสู่ตับและต่อเข้าสู่ inferior vena cava (IVC) ผ่านทาง ductus venosus, จาก IVC โลหิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลหิตแดงจะเข้าสู่ right atrium และ เข้าสู่ left atrium ผ่านทาง foramen ovale (เนื่องจากแรงดันใน right atrium สูงกว่า) และเข้าสู่ left ventricle จากนั้นโลหิตจะถูกสูบฉีดออกสู่ aorta โดยส่วนใหญ่ไปเลี้ยงสมอง ส่วนที่เหลือจะผ่านมา ทาง descending aorta ผสมกับโลหิตดําซึ่งมาจาก left pulmonary artery (โลหิตดําจาก superior vena cava เข้าสู่ right ventricle ไปยัง left pulmonary artery) ผ่านมาทาง ductus arteriosus และไปเลี้ยง ส่วนที่เหลือของร่างกาย และผ่าน internal iliac arteries เข้าสู่ placenta ของมารดา
หลังตัดสายสะดือ right atrial pressure ลดลงเนื่องจาก umbilical blood flow ลดลง ใน ขณะเดียวกัน pulmonary vascular resistance (PVR) ลดลงเนื่องจากการหายใจ และการเปิด pulmonary vascular bed ทําให้ pulmonary blood flow เพิ่มขึ้นและส่งผลให้ left atrial pressure สูงขึ้น จนกระทั่ง ความแตกต่างของแรงดันใน right และ left atrium ลดลง เป็นผลให้เกิด functional closure ของ foramen ovale ขณะเดียวกันจะมีการเพิ่มของ PaO2 และ pH ร่วมกับการลดลง ของ PaCO2 ซึ่งทําให้ PVR ลดลงไปอีก ductus arteriosus จะปิดโดยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อบนผนัง
หลอดเลือดทันทีหลังคลอดภายใต้การกระตุ้นของ ระดับ PaO2 ที่สูงขึ้นโดยผ่านทาง prostaglandin การปิด ทางสรีรวิทยาจะสนิทภายใน 10-15 ชั่วโมงแต่การปิดทางกายวิภาคจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะเกิด fibrosis ซึ่ง กินเวลา 2-3 สัปดาห์ และในช่วงเวลานั้นถ้ามีการกระตุ้นด้วยสภาวะบางอย่างเช่น hypoxia, acidosis, hypoglycemia, hypocalcemia, pulmonary hypertension,และ prostaglandin E1 และ E2 จะทำให้ ductus ยังเปิดคงคิาง ส่งผลทําให้เกิด shunt ระหว่าง pulmonary circulation และ systemic circulation ซึ่งทิศทางการไหลของเลือดผ่าน shunt ขึ้นอยู่กับผลต่างระหว่าง pulmonary และ systemic resistance
left to right shunt ทําให้เกิดการเพิ่ม pulmonary blood flow ซึ่งมีผลทําให้เกิด pulmonary congestion and edema, right to left shunt ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่ม pulmonary vascular resistance เช่น ในกรณีของ hypoxia จาก hyaline membrane disease จะทําให้ PaO2 ลดลง ภาวะ ดังกล่าวหยุดยั้งการปิดของ PDA ขณะเดียวกันก็เพิ่ม PVR ให้สูงขึ้นอีกคล้ายเป็นวงจรทรามซึ่งทําให้ภาวะ hypoxia รุนแรงขึ้น การรักษากระทําโดยใช้ยาเพื่อลด PVR และเพิ่ม ductal tone เมื่อไม่ได้ผลจึง ผ่าตัดผูก PDA ในทางกลับกัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะ pulmonary atresia coarctation of aorta มีความจําเป็น ที่จะต้องเปิด ductus arteriosus ให้คงค้างไว้เพื่อให้เกิด right to left shunt เป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในกรณีน้ีอาจจําเป็นต้องให้ prostaglandin E1 หรือ E2 เพื่อป้องกันการปิดของ PDA
อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วง 100 – 150 /นาที Pulse เฉลี่ย 140 ครั้ง/นาที (140±20) อาจพบสูงถึง 180 ครั้ง/นาที ใน 4 ชั่วโมง หลังคลอดหลังจากน้ันปกติ
การตรวจร่างกายตามระบบ
การประเมินคะแนน APGAR
คือ คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด เพื่อประเมินภาวะการหายใจในทารก แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
Appearance (ลักษณะสีผิว)
ถ้าผิวสีเขียวคล้ำทั่วร่างกาย ให้ 0 คะแนน
ถ้าเขียวปลายมือปลายเท้า ให้ 1 คะแนน
ถ้าผิวสีชมพูทั้งตัว ให้ 2 คะแนน
Pulse (อัตราการเต้นของหัวใจ)
ถ้าไม่มีชีพจร ให้ 0 คะแนน
ถ้ามีน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน
ถ้ามีมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน
Grimace (สีหน้าจากการกระตุ้น)
ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ 0 คะแนน
แสยะปาก ร้องไห้เบาๆ ให้ 1 คะแนน
มีไอจาม หรือร้องไห้เสียงดัง ให้ 2 คะแนน
Activity (การเคลื่อนไหวของทารก)
ถ้าอ่อนปวกเปียก ให้ 0 คะแนน
ถ้าแขนขางอเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
ถ้าแข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดี ให้ 2 คะแนน
Respiration (ความพยายามในการหายใจ)
ไม่หายใจ ให้ 0 คะแนน
หายใจช้า/ไม่สม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน
หายใจดี ร้องเสียงดัง ให้ 2 คะแนน
การประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด มีคะแนนเต็มทั้งหมด 10 คะแนน
7 คะแนนขึ้นไป ทารกจัดอยู่ในภาวะปกติ ไม่ขาดออกซิเจน หลังทำการประเมินเสร็จ จะดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกด้วยลูกสูบยางแดง พร้อมกับเช็ดตัวและห่อตัวทารกให้อบอุ่น จากนั้นทารกก็สามารถออกมากินนมแม่ได้
ต่ำกว่า 7 คะแนน ทารกกลุ่มนี้จะสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจน (Birth Asphyxia) มีความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความผิดปกติและความพิการของสมอง ดังนั้นทารกในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพด้วย CPR
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดเพื่อ ประเมินอายุครรภ์(Ballard’s Score)
การตรวจโดยวิธี Ballard Maturational Score ประกอบไปด้วยการประเมิน 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 การประเมินความสมบูรณ์ด้านกายภาพ (physical maturity)
ควรทําการประเมินใน 1 ถึง 2 ชั่วโมงหลังเกิด เป็นการประเมินความแตกต่างของลักษณะทาง กายภาพของทารกท่ีอายุครรภ์ต่างๆกัน 6รายการคือลักษณะผิวหนังlanugo(ขนอ่อนบนร่างกายของทารก) เส้นลายฝาาเท้า (plantar creases) ความชัดและความนูนของ areola และขนาดของเนื้อเยื่อนม (breast bud) การปิดของเปลือกตา และลักษณะใบหู (eye/ear) และความสมบูรณ์ของอวัยวะเพศ การให้คะแนนใน แต่ละรายการ เริ่มน้อยที่สุด เท่ากับ -1 หรือ -2 เป็นคะแนนสําหรับการมีกายภาพไม่สมบูรณ์อย่างมาก (extremely immature) และคะแนนสูงสุด คือ 4 หรือ 5 เป็นคะแนนสําหรับลักษณะของทารกแรกเกิดที่มี ภาวะเกินกําหนด (postmaturity)
ส่วนที่ 2 การประเมินความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อและประสาท (Neuromuscular maturity)
ควรประเมินภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิด ยกเว้นทารกท่ีมี Asphyxia หรือมารดาได้รับยาระงับปวด ที่อาจทําให้มีคะแนนต่ำกว่าความเป็นจริง จึงควรประเมินซ้ำหลังเกิดในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงโดยประเมินทารกในท่านอนหงาย มีท้ังหมด 6 รายการคือ
ท่านอน การงอข้อศอก ข้อตะโพก ข้อเข่า (posture)
มุมท่ีฝ่ามือทํากับส่วนปลายของแขน (forearm) เมื่องอข้อมือ (square window)
การงอกลับของแขน( arm recoil) หลังจับข้อศอกงอเต็มที่นาน 5 วินาทีแล้ว ใช้มือจับฝ่ามือทารกเพื่อเหยียดข้อศอกออกเต็มท่ี และปล่อยมือท่ีจับทารก
ระยะไกลสุดท่ีข้อศอกของทารกสามารถข้ามผ่านกึ่งกลางหน้าอก (scarf sign) เมื่อจับมือของทารกดึงไปทางหัวไหล่ด้านตรงข้าม
การเหยียดขาพับเพื่อให้เท้าใกล้ใบหู (heel to ear) โดยยึด sacrum ทารกให้แนบกับท่ีนอน ต้นขาชิดข้างท้อง และผู้ตรวจจับเท้าทารกดึงมาใกล้ใบหูให้มากท่ีสุดโดยไม่ใช้แรง
มุมขาที่พับ (popliteal angle) เมื่อจับข้อเข่าเหยียดตรง โดยยึด sacrum ทารกให้แนบกับที่นอน และต้นขาทารกวางบนท้องผู้ตรวจใช้นิ้วชี้เก่ียวข้อเท้าหรือจับเท้าทารกเพื่อเหยียดเข่าไปทางศีรษะเต็มที่
การให้คะแนน Ballard Maturational Score
การให้คะแนนในแต่ละรายการ เริ่มน้อยที่สุดเท่ากับ -1 สําหรับการมีกล้ามเนื้อและประสาทไม่สมบูรณ์อย่างมาก และคะแนนสูงที่สุดคือ 4 หรือ 5 สําหรับลักษณะเกินกําหนด นําคะแนนทั้ง 2 ส่วนมา รวมกัน เทียบคะแนนกับตารางที่แสดงความสัมพันธ์ของคะแนนรวมกับระดับความสมบูรณ์ของการเจริญ (maturity rating) เพื่อคะเนอายุครรภ์ คะแนนน้อยมากหมายถึง ทารกมีความสมบูรณ์ของการเจริญน้อย (อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์) คะแนนมากขึ้น แสดงว่าทารกมีความสมบูรณ์ของการเจริญเพิ่มข้ึน ทารกที่มี คะแนนรวมเกิน 45 แสดงว่ามีอายุครรภ์เกินกําหนด (>42 สัปดาห์) หากคะแนนรวมอยู่ระหว่างคะแนนที่อยู่ใน ตารางให้เทียบบัญญัติไตรยางศ์
6.3 การให้ภูมิคุ้มกันวัคซีนสําหรับทารกแรกเกิดและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
วัคซีนที่ต้องให้กับเด็กทุกคน
BCG
วัคซีนป้องกันวัณโรคให้เมื่อแรกเกิด
– 0.1 ml ฉีดเข้าชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้ายไม่ควรฉีดท่ีสะโพกถ้าไม่มีแผลเป็น และไม่มีหลักฐานว่าเคยรับมาก่อน ให้ฉีดทันที
ถ้าเคยได้รับมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้จะไม่มีแผลเป็น
บริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มหนอง ไม่ควรบ่งไม่จำเป็นต้องใส่ยา
HBV:วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
–0.5 ml ฉีด เข้ากล้ามเนื้อที่ไหล่หรือต้นขา
ให้ 3ครั้ง แรกเกิด 2 เดือน และ6เดือน
ถ้ามารดามีHBsAg เป็นบวกให้HBIG 0.5 ml ใน 12ชั่วโมงหลังคลอดและเริ่ม HBVเข็มแรกพร้อมกันแต่ฉีดคนละตำแหน่ง
กระทรวงสาธารณสุขใช้วัคซีนรวม DTP-HB ที่อายุ 2,4, และ 6 เดือน HBsAg เป็นบวก และทํารกไม่ได้ HBIG ให้ HBV เพิ่ม ตอน 1 เดือน(รวมได้ 5 เข็ม )
หลังได้วัคซีนอาจมีไข้ และเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
DTwP : วัคซีนป้องกันคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก
เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดเต็มเซลล์
ให้ 0.5 ml ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่อายุ 2,4,6เดือน
กระทรวงสาธารณสุขใช้วัคซีนรวมDTP-HB
ฉีดDTwPกระตุ้นเข็มที่ 1 เมื่ออายุ 18เดือน เข็มที่ 2 อายุ 4-6ปี
dTให้เมื่ออายุ11-12ปี และทุก10ปี
หลังฉีดอาจมีไข้สูง บางรายอาจมีปวด บวม แดง ร้อน บริเวณท่ีฉีด 1
OPV:วัคซีนป้องกันโปลิโอ ชนิดกิน
เป็นเชื้อที่ยังมีชีวิต
หยอด 5ครั้งที่อายุ 2,4,6เดือน ร่วมกับฉีดIPV 1ครั้ง ที่อายุ 4 เดือนและกระตุ้นครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 18 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6ปี
สามารถใช้ชนิดฉีดแทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
MMR:Measles, Mumps, and Rubella
วัคซีนป้องกันหัดคางทูมและหัดเยอรมัน
วัคซีนมีชีวิต
ฉีดครั้งละ 0.5มล.ที่ชั้นใต้ผิวหนัง
ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9_12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6ปี
หลังฉีดอาจมีไข้ ผื่นขึ้นตามตัวปวด บวม บริเวณที่ฉีดหรืออาจมีอาการคล้ายแพ้ยา หายใจลำบาก
JE: วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี
ให้ 0.5 ml.ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ที่เป็นเชื้อตาย(inactivated vaccine)ฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่อ 6เดือนขึ้นไป เข็มต่อมาอีก 4 week และ 1ปี
ที่เป็นเชื้อมีชีวิต(live JE) เข็มแรก เริ่มที่ 9-12 เดือน เข็ม2 ห่างกัน 12-18 เดือน
หลังฉีดอาจมีไข้ต่ำๆปวด บวม คัน บริเวณที่ฉีด
Influenza: วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่
ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
6-35เดือนให้0.25ml,3-8ปี ให้ 0.5ml,9ปีขึ้นไปให้ 0.5ml
สามารถฉีดให้เด็กอายุตั้งแต่ 6เดือนขึ้นไป
ในเด็กอายุน้อยกว่า 9ปี ควรฉีด 2เข็มห่างกัน 1เดือน สำหรับการฉีดครั้งแรก
หลังฉีดอาจมีไข้
HPV: วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
ป้องกันการติอเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma
Virus)
ฉีดให้เด็กหญิงป.5ให้2เข็ม ห่างกัน 6-12เดือน
ลักษณ์พร ซินเม 65019537เลขที่ 13