Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 สื่อบันทึกข้อมูล - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3 สื่อบันทึกข้อมูล
3.2 หน่วยวัดความจุข้อมูลในคอมพิวเตอร์
หน่วยวัดขนาดความจุของข้อมูล นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัวคอมพิวเตอร์ใช้งานส่วนใหญ่ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มากเพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีก
ตารางเปรียบเทียบหน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
8 บิต (Bit)เท่ากับ1 ไบต์ (Byte)เท่ากับ1 ตัวอักษร
1,024ไบต์(Byte)เท่ากับ1 กิโลไบต์(Kilo Byte : KB)เท่ากับ1,024 ตัวอักษร
1,024กิโลไบต์(Kilo Byte : KB)เท่ากับ1 เมกะไบต์(Mega Byte : MB)เท่ากับ1,048,576 ตัวอักษร
1,024 เมกะไบต์(Mega Byte : MB)เท่ากับ1 กิกะไบต์(Giga Byte : GB)เท่ากับ1,073,741,824 ตัวอักษร
1,024 เมกะไบต์(Mega Byte : MB)เท่ากับ1 เทระไบต์(Tera Byte : TB)เท่ากับ1,099,511,627 ตัวอักษร
1,024 เทระไบต์(Tera Byte : TB)เท่ากับ1 เพตะไบต์(Peta Byte : PB)เท่ากับ1,125,899,906,048
3.1 ความหมายของสื่อบันทึกข้อมูล
สื่อบันทึกข้อมูล หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลโดยบันทึกข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้นับว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นการเก็บข้อมูลหรือเอกสารประเภทดิจิทัล อุปกรณ์อาจอยู่ในรูปของสื่อประเภทแม่เหล็ก ประเภทสื่อแสง ตัวอย่างเช่น จานแม่เหล็ก จานแสง ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน สื่อบันทึกข้อมูลมีทั้งที่สามารถพกติดตัวได้เช่น ซีดี ดีวีดี แฮนดีไดรฟ์เมมโมรีสติก เมมโมรีเป็นต้น สื่อบันทึกข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
3.3 ชนิดของสื่อบันทึกข้อมูล
สื่อ (media) หมายถึง วัสดุที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและเก็บชุดคำสั่ง การเลือกซื้อต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานควรพิจารณาตามความเหมาะสม หากเป็นการบันทึกเพื่อสำรองข้อมูลและใช้ถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลหรือไฟล์โปรแกรมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การบันทึกไฟล์อาจใช้สื่อบันทึกขนาดเล็กที่เป็นอุปกรณ์บันทึกภายนอก เช่น ซีดี (CD) หรือแฟลชไดรฟ์เป็นต้น แต่หากต้องการติดตั้งโปรแกรมลงในคอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เก็บข้อมูลได้มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยกลไกการทำงานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุดในอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหวแต่จริง ๆ แล้ว การอธิบายหลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าไม่ยาก ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่า มาจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกัน เรียกว่า สปินเดิล (Spindle)ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกันไป
ซีดีและดีวีดี คือ สื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ฉาบด้วยโลหะเมทัลลิก หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่นทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลใช้แสงเลเซอร์ฉายไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูล
แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive) คือ สื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมมาก สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ พกพาได้สะดวก มีขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์แต่มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่าเช่น8 GB, 16GB, 32 GBหรือมากกว่านั้น พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้ คือ พอร์ตยูเอสบีทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว
สรุป
สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเรียกใช้ หรือแก้ไขในภายหลังได้ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม แฟลชไดร์ฟ เป็นต้นฮาร์ดดิสก์ คือ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะไม่สูญหาย ดังนั้นฮาร์ดดิสก์จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด ทำให้เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันพัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์จึงควรคำนึงถึงประสิทธิภาพที่จะได้รับจากฮาร์ดดิสก์
1) ซีดี (CD)เป็นสื่อบันทึกข้อมูล โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ฉาบด้วยโลหะเมทัลลิก-ซีดี-อาร์ (CD-R) เป็นแผ่นซีดีที่ผู้ใช้งานสามารถบันทึกได้หลายครั้งจนกว่าพื้นที่ในแผ่นจะเต็ม แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือบันทึกข้อมูลเดิมซ้ำได้-ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-RW) เป็นแผ่นซีดีที่ผู้ใช้งานสามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งเพื่อบันทึกใหม่ได้
2) ดีวีดี (DVD) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นพลาสติก ฉาบด้วยโลหะเมทัลลิก ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 4.7 GB-DVD+R สามารถบันทึกเพิ่มได้จนกว่าจะเต็มแผ่น แต่ไม่สามารถลบได้-DVD-R สามารถบันทึกได้ครั้งเดียว ไม่สามารถบันทึกเพิ่มได้
3) ดีวีดีอาร์ดับบลิว (Digital Versatile Disk) มี 2 ประเภท คือ-ดีวีดี+อาร์ดับบลิว (Digital Versatile Disk+Rewritable: DVD+RW) เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกได้หลายครั้งจนกว่าจะเต็มแผ่นและลบเพื่อบันทึกใหม่ได้-ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (Digital Versatile Disk-Rewritable: DVD-RW) เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกได้ครั้งเดียว ไม่สามารถบันทึกเพิ่มได้ แต่ลบเพื่อบันทึกใหม่ได้
4) ดีวีดี+อาร์ ดีแอล (Digital Versatile Disc+Recordable Double Layer : DVD+R DL) เป็นแผ่นที่บันทึกข้อมูลแบบหน้าเดียว บันทึกข้อมูลต่อเพิ่มได้จนเต็มแผ่น หากบนแผ่นเขียน RW แสดงว่าสามารถลบและบันทึกใหม่ได้ แผ่นชนิดนี้สามารถบันทึกได้ 2 ชั้น (Dual Layer) ทำให้เพิ่มความจุเป็น 2 เท่า นั่นคือ 8.5 GB
5) แผ่นบลูเลย์ (Blu-ray Disc : BD) มีรูปแบบที่แตกต่างจากดีวีดี หรือเอชดีดีวีดีมาก ดิสก์รูปแบบนี้เรียกสั้น ๆ ว่า บีดี (BD) ซึ่งมีความจุสูงมาก
6) แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลโดยเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบี สามารถเก็บ ข้อมูลเหมือนฮาร์ดดิสก์ใช้ถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์